มนุษยสัมพันธ์

Human Relations

        1.  เข้าใจทฤษฎีและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
        2.  เข้าใจและสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้
        3.  เข้าใจสถานะและการปฏิบัติงาน โดยใช้มนุษยสัมพันธ์ของผู้นำ
        4.  เข้าใจมนุษยสัมพันธ์ ตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทย  และแนวคิดของพุทธศาสนา
        5.  นำหลักและวิธีการในวิชามนุษยสัมพันธ์  ไปใช้ในการทำงาน การครองเรือนและใน
             ชีวิตประจำวัน
        6.  เห็นคุณค่า และความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
เพื่อสร้างเสริมลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม  และสติปัญญา  เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์  และยอมรับความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น  สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง และวัฒนธรรม       
 
ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์  ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์  มนุษยสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน  มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน  มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้นำ  การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์    มนุษยสัมพันธ์ตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทยและสากล  การฝึกอบรมเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์       
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา  เข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่น นำความรู้ทางมนุษยสัมพันธ์  ไปใช้แก้ปัญหาของตนเองและ นำความรู้มนุษยสัมพันธ์  ไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมดังนี้
1.1.1.  [·]  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
         1.1.2.  [O] มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
         1.1.3   [·] มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
               1.1.4  [· ] เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                1.2.1  บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
                1.2.2.  ทำรายงานเกี่ยวกับการปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง
                1.2.3   ให้ดูสารคดีจากรายการคนค้นคน  และกบนอกกะลา เพื่อคิด  วิเคราะห์ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 
                1.2.4   ให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการทำบุญตามประเพณีท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ
1.3.1   เข้าเรียนตรงเวลา
                    1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
                    1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
การให้ผู้เรียนได้รับ ประกอบด้วยความหมาย  ความสำคัญ  ประวัติ  จุดมุ่งหมาย  ปรัชญาพื้นฐาน  ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์  ธรรมชาติของมนุษย์ตามทัศนะของนักจิตวิทยา  นักสังคมวิทยาและนักบริหาร  บุคลิกภาพตามกลุ่มเลือด  บุคลิกภาพตามแนวพุทธ  รวมทั้งความต้องการของมนุษย์ตามทฤษฎีของบีช  เมอร์เรย์  และตามแนวพุทธ  ทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์  การพัฒนาตนเอง  การสร้างมิตร  ความหมายของแรงจูงใจ  ประเภทของแรงจูงใจ  การติดต่อสื่อสาร  ภาวะผู้นำกับมนุษยสัมพันธ์   หลักธรรมของศาสนาพุทธ  ศาสนาคริสต์  และศาสนาอิสลาม พื้นฐานวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์    การฝึกอบรมเพื่อมนุษยสัมพันธ์  โดยมี              
                    2.1.1 [·] มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้หาที่ศึกษาเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่น
                     2.1.2 [·] สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชามนุษยสัมพันธ์ได้
                   2.1.3. [·] สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ทางมนุษยสัมพันธ์ไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง นำไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมและประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ            
                    บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติโดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์  อย่างน้อย 1 เล่ม  และดูสารคดีจากรายการคนค้นคน  กบนอกกระลา  จุดเปลี่ยน   แล้วนำมาวิเคราะห์  อภิปรายแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ดูโดยสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
.3.1 ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
                    2.3.2  รูปเล่มรายงาน
                    2.3.3  การนำเสนอในชั้นเรียน
                    2.3.4  การแสดงบทบาทสมมติในชั้นเรียน
3.1.1  [·] มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
                  3.1.2 [·] มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างป็นระบบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์  ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจพฤติกรรมตนเองและพฤติกรรมคนอื่น สามารถแก้ไขปัญหาส่วนตัว การเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความคิดในเชิงบวก สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้และมีสุขภาพจิตดี ต้องมีทักษะดังนี้
        1.ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
        2.วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความคิดรวบยอดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
        3.ประยุกต์ทักษะความเข้าใจในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์
3.2.1  ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูปPower point
                3.2.2  แสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
               3.2.3   มอบหมายงานให้นักศึกษาปรับพฤติกรรมที่ไม่ต้องการของตัวเอง  ทำเป็นรายงานส่ง
                3.2.4  บรรยายประกอบเอกสารประกอบการสอน
3.3.1  สังเกตจากการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
                  3.3.2 รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน
                  3.3.3  สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
                  3.3.4  สอบย่อยแต่ละหน่วยเรียน
               4.1.1  [·] มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
                4.1.2  [·] มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม
                4.4.3  [·] สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
                 4.1.4  [·] สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1  การสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
           4.2.2  กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
           4.2.3  ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วนโดยใช้Power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม
4.3.1 ให้เพื่อนนักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
           4.3.2   ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
           4.3.3   สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน
           4.3.4  แบบฝึกหัด
5.1.1 [·] เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  พัฒนาทักษะการใช้Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจากข่าวเกี่ยวกับปัญหาสังคม การทำร้ายตนเอง ปัญหาต่างๆที่เกิดกับเยาวชนที่ได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์และหนังสือพิมพ์อิเลคทรอนิกส์
                    5.1.2  [O] สืบค้น  ศึกษา  วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
                    5.1.3  [O]  ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1 ให้นักศึกษาเขียนเว็บบอร์ดเสนอแนวคิดให้สังคมตอบในช่องของเว็บบอร์ดแบบไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
                   5.2.2  การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้Computer และ Power point
                    5.3.1  ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
                    5.3.2  ข้อมูลที่นักศึกษาตอบในเว็บไซค์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6
1 13062002 มนุษยสัมพันธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,18 30 % 30%
2 5 งานมอบหมายปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่ต้องการของตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 2,3,4 สอบย่อยรายบทเรียนและแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1,4 การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
นันทา  เติมสมบัติถาวร.  มนุษยสัมพันธ์.  น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน,  2555 .
ชูเกียรติ  เต็งไตรสรณ์ .  มนุษยสัมพันธ์.  น่าน : มารวยการพิมพ์ , 2549 .
ทิศนา  แขมณี .  กลุ่มสัมพันธ์ : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ เล่ม 1 .  กรุงเทพฯ : บูรพาศิลป์การพิมพ์ , 2522 .
รัตติกรณ์  จงวิศาล .  มนุษยสัมพันธ์ .  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550 .
วิภาพร  มาพบสุข .  มนุษยสัมพันธ์.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั้น, 2543 .
สมพร  สุทัศนีย์, ม.ร.ว.  มนุษยสัมพันธ์.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ : จุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัย,  2546 .
จินตนา  สังข์อยุทธ์.  มนุษยสัมพันธ์.  พิมพ์ครั้งที่ 2 .  กรุงเทพฯ : จตุพรดีไซน์, 2545 .
วิมล  เหมือนคิด .  มนุษยสัมพันธ์ .  พิมพ์ครั้งที่ 4 .  กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
          พระนครเหนือ , 2543 .
อารี  เพชรผุด .  มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน .  กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์ , 2530 .
ประสิทธิ  ทองอุ่น และ คณะ .  พฤติกรรมของมนุษย์กับการพัฒนาตน .  กรุงเทพฯ :  เธิร์ด เอ็ดยูเคชั่น, 2542 .
ถวิล  ธาราโภชน์ และ ศรัณย์  ดำริสุข .  พฤติกรรมของมนุษย์กับการพัฒนาตน .  พิมพ์ครั้งที่ 4 .    
           กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธ์ , 2546 .
ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์ .  จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล .  กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี , 2535 .
วิจิตร  อาวะกุล .  เทคนิคมนุษยสัมพันธ์ .  พิมพ์ครั้งที่ 8 .  กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์ , 2542 . 
เนตร์พัณณา  ยาวิราช .  ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ .  พิมพ์ครั้งที่ 3 .  กรุงเทพฯ : เซ็นทรัล เอ็กซ์เพรส, 2547 .
เฌอมาลย์  ราชภัณฑารักษ์ .  มนุษย์กับสังคม . พิมพ์ครั้งที่ 4 .  กรุงเทพ :  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , 2545. 
สุพัตรา  สุภาพ .  จับใจคน  จับใจงาน เล่มที่ 2 .  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช , 2541 .
วิจิตร  อาวะกุล .  การฝึกอบรม .  กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2537 .
            -  หนังสือพิมพ์  วารสาร         
    -  VCD , DVD  รายการคนค้นคน  รายการกบนอกกะลา,  รายการจุดเปลี่ยน
   ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1.1  ให้การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2  นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
1.3  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
3.1  ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
  3.2  กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
   3.3  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
   3.4  การวิจัยในชั้นเรียน
4.1   ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
   4.2  ให้กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
   4.3  เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
   4.4  จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ