คอมพิวเตอร์กราฟิกส์

Computer Graphics

1.1  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์
1.2  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ
เพื่อให้เนื้อหามีความเป็นลำดับที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งปรับแต่งความละเอียดเข้มข้นของเนื้อหาในแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกับความยากง่ายของเนื้อหานั้นๆ และให้สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ทางด้าน คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ อัลกอริทึมที่ใช้ในการออกแบบงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เทคนิคการสร้างภาพแบบ 2 มิติ โดยจุด เส้นตรง และเส้นโค้ง การขยายแกน การสร้างภาพ และแปลงภาพในมิติต่าง ๆ การแปลงแบบย้าย แบบสเกล แบบหมุน การโปรเจคชันภาพ เป็นต้น และการประยุกต์ใช้งานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ การเขียนโปรแกรมภาษาด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในรูปแบบ 2 และ 3 มิติ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพโดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม ความซื่อสัตย์ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาโจทย์หน้าชั้นเรียน
การสอบกลางภาคเรียนปลายภาคเรียน ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี ประเมินจากการตอบคำถาม/แสดงความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน สอบภาคปฏิบัติ โดยคัดเลือกมาจากงานที่มอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์จากหลักทฤษฎี และสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้
การมอบงานทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับการสอนภาคทฤษฎี วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และสรุปสาระที่ถูกต้องให้ผู้เรียนได้เข้าใจ การสะท้อนแนวคิดจากการฝึกปฏิบัติจริง
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา วัดผลจากการปฏิบัติในงานที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานและให้ส่งตามกำหนดเวลา
ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน ระหว่างการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมลและการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ต่างๆ ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ และทำรายงาน โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกปฏิบัติการ
ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 4 5 6 7 1 2 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 32094321 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 สอบกลางภาค,สอบปลายภาค 9,17 40%,40%
2 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2, 4.1.1 – 4.1.3, 5.1.1 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.1.1 – 1.1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Shreiner, Dave. OpenGL programming guide : the official guide to learning OpenGL, Version 3.0 and 3.1. 7th ed. Pearson Education, Inc.Gilberg, Forouzan. Data Structures A Pseudocode Approach with C, International Thomson Publishing, 1998
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ