สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ

Co-operative Education in Agricultural and Biological Engineering

จุดมุ่งหมายของวิชาประสบการณ์ภาคสนาม เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้

เพื่อการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางการปฏิบัติ เพื่อเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน เพื่อฝึกการวางแผนการปฏิบัติการทำงานเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เพื่อฝึกการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ในสถานประกอบการ เพื่อเข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้
  เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานที่ประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
ปฏิบัติเกี่ยวกับงานในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า  240 ชั่วโมง เพื่อสร้างเสริมทักษะในการทำงานร่วมกับวิศวกรและบุคคลากรปฏิบัติการในด้านวิชาชีพ  การควบคุมกระบวนการผลิต  การตรวจสอบคุณภาพ  การออกแบบผลิตภัณฑ์  การซ่อมบำรุงรักษาและความปลอดภัย  รวมถึงการจัดทำรายงานเชิงวิจัย และอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงก่อนสำเร็จการศึกษา
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ปฐมนิเทศนักศึกษา ถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ก่อนการฝึกงาน กำหนดตารางเวลาฝึกงาน บันทึกเวลาฝึกงาน
       1)  ประเมินผลจากใบประเมินการฝึกงานนักศึกษาจากสถานประกอบการหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน
       2)  ประเมินโดยการนำเสนอหลังการฝึกงาน
มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การการส่งเสริมและมอบหมายโจทย์ปัญหา ของสถานประกอบการ ให้นักศึกษาปฏิบัติจากสถานการจริง ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกงาน
ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การการส่งเสริมและมอบหมายโจทย์ปัญหา ของสถานประกอบการ ให้นักศึกษาปฏิบัติจากสถานการจริง ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกงาน
ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งการพูด เขียน ในการประสานการทำงาน


มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
ประเมินจากเอกสารที่เขียน เช่น E-Mail ที่ใช้สื่อสารเพื่อการทำงาน ประเมินจากการมีส่วนร่วม ในการสื่อสารกับบุคคลอื่น
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สถานประกอบการมอบหมายงานตามความเหมาะสม สาธิตการปฏิบัติการทำงานโดยหัวหน้างาน
พิจารณาจากแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 3 4 5 1 2 1 2
1 31089408 สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
          จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
ติดตามการทำงานของนักศึกษาเป็นระยะๆทุกสัปดาห์
จากการเข้าไปนิเทศงานนักศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายไปในสัปดาห์ที่ 14 ก่อนฝึกประสบการณ์เสร็จ
อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากพนักงานพี่เลี้ยง และจากอาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง