การจัดการเกษตรและระบบคุณภาพ

Agricultural Management and Quality System

1. เข้าใจวิธีการจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
2. เข้าใจหลักการจัดการเกษตรแบบอุตสาหกรรม   
3. เข้าใจระบบประกันคุณภาพการผลิตอาหาร
4. เข้าใจหลักการจัดการตลาดเพื่ออุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูป
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ และประสบการณ์ที่ทันต่อเหตุการณ์โดยการนำประสบการณ์ ของผู้สอน และการค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัย มาประกอบเป็นข้อมูลในการสอน
การจัดการทางการเกษตรและการประกันคุณภาพ เกี่ยวข้องกับ นโยบายการเกษตร ห่วงโซ่อาหาร การ จัดการเกษตร การจัดการผลผลิตการเกษตร การแปรรูป การจัดการธุรกิจเกษตร วิธีการปฏิบัติทางการเกษตร เหมาะสม มาตรฐาน การรับรอง  และการควบคุม ปัจจัยการยอมรับเข้าสู่วิธีการปฏิบัติทางการเกษตรเหมาะสม ระบบคุณภาพการเกษตรอุตสาหกรรม ระบบการประกันคุณภาพ ระบบการค้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตร พฤติกรรมผู้บริโภค การวางแผนการตลาดโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ การส่งเสริมการ ขาย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคาสินค้า
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา การจัดการปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการหรือวิชาชีพ และการ แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมใน สภาพแวดล้อมของการทำงานและในชุมชน
1.2  วิธีการสอน ให้ความรู้โดยการสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรมและจริยธรรม กฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆของที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเกษตร มาตรฐานสินค้าเกษตร และมาตรฐานการค้าทั้งในและ ต่างประเทศ ในบทเรียนต่าง ๆ รวมทั้งภาวะผู้นำ ในระหว่างการเรียนการสอน 
1.3 วิธีการประเมินผล                
1.3.1 ประเมินจากการรับผิดชอบในงาน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม     
1.3.2 ประเมินจากการทำรายงานที่มีการอ้างอิงเอกสาร อย่างถูกต้องและเหมาะสม    
1.3.3 ประเมินจากการสังเกต และซักถามในระหว่างการเรียนการสอน 
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ             
         2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรในปัจจุบัน
2.1.2 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านอาหาร การจัดการสุขภาพของพืชและสัตว์ที่ ใช้เป็นอาหารที่ปลอดภัย ที่เชื่อมโยงเข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพ 
2.1.3 ความรู้เกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพ มาตรฐานอาหาร และสินค้าเกษตร และ ระบบการค้า ภายในประเทศและระหว่างประเทศ
2.1.4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการเกษตรที่ปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.1.5 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจสินค้าเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์และอุปทานสินค้า เกษตร พฤติกรรมของผู้บริโภค การใช้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับการวางแผนการตลาด และหลักการ ตลาด
2.1.6 ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการเกษตร และอาหารที่ปลอดภัย ที่สามารถประยุกต์ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในปัจจุบัน             
2.1.7 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของการผลิตผลิตผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่ใช้ในระดับชาติและนานาชาติ  
2.2  วิธีการสอน เน้นการเรียนการสอนในด้านหลักการทางทฤษฎีที่ประยุกต์ให้เหมาะสมกับกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และผลงานวิจัยในปัจจุบัน มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือ เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.3 วิธีการประเมินผล               
2.3.1 การทดสอบย่อย               
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน               
2.3.3 รายงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายและจัดทำ               
2.3.5 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา              
3.1.1 ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นความรู้ หรือปัญหาที่ซับซ้อน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในวิชาชีพได้             
3.1.2 ทักษะการบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษา ผลการศึกษาวิจัยของผู้อื่น และแนวคิดของ หลักการและทฤษฎีทางด้านการจัดการการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และธุรกิจเกษตร รวมทั้ง ศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อการประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ 
3.2  วิธีการสอน             
3.2.1 เปิดโอกาสให้แสดงความคิดโดยการมอบประเด็นปัญหาที่เป็นกรณีศึกษา
3.2.2 ให้แนวคิดในการบูรณาการความรู้ระหว่างการเรียนการสอน และแนะนำให้นำไปใช้ ในการทำวิทยานิพนธ์ 
3.3  วิธีการประเมินผล ประเมินจากการสอบถาม รายงานและโครงร่างวิทยานิพนธ์
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา              4.1.1 มนุษยสัมพันธ์ และมารยาทสังคม             
4.1.2 การแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากด้วยตนเอง
4.1.3 การประเมินตนเอง รวมทั้งการวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานระดับสูง             
4.1.4 การมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม และการทำงานเป็นหมู่คณะ  
4.2  วิธีการสอน ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือค้นคว้า ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ 
4.3  วิธิีการประเมินผล ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา                 
5.1.1 ทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุป  และเสนอแนะแก้ไขปัญหา                
5.1.2 ทักษะนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
5.1.3 ทักษะการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารสนเทศและเทคโนโลยี ใน การทำรายงาน                 
5.1.4 ทักษะใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 
5.2  วิธีการสอน จัดกิจกรรมการวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และนำเสนอรายงาน          
5.3  วิธีการประเมินผล ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ คณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องการอธิบาย และการอภิปรายกรณีศึกษา
6.1 ทักษะปฏิบัติ
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
6.2   วิธีการสอน      จัดกิจกรรมการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้และมีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน
6.3  วิธีการประเมิน วัดผลรายละเอียดความถูกต้องของข้อมูลการนำเสนอเชิงปริมาณและคุณภาพ

 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 1 2 3
1 MSCGT003 การจัดการเกษตรและระบบคุณภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3, 4 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค รายงานผลการฝึกปฏิบัติ 5 8 17 11 15 15 % 25 % 15 % 25 % 5 %
2 1-5 การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1-5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5 %
กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการผลิตพืชและผลิตภัณฑ์พืช.  มปป.  ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร.  ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด กรุงเทพมหานคร. 74 หน้า.
กองสุขาภิบาลอาหาร.  2544.  คู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าของกิจการ และผู้ควบคุมดูแลสถานประกอบการด้านอาหาร.  โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, กรุงเทพมหานคร. 114 หน้า.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2539.  การประกันคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร.  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 351 หน้า
วุฒิชาติ  สุนทรสมัย.  2552.  การวิจัยการตลาดและระบบสารสนเทศทางการตลาด.  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)ม กรุงเทพฯ. 362 หน้า
ศุภชัย หล่อโลหการ. 2550.  ธุรกิจอินทรีย์.  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, ปทุมธานี.  294 หน้า.
ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ.  2549. ความปลอดภัยของอาหาร : การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โรคอาหารเป็นพิษปัจจัยเสี่ยงในอาหาร.  Sister print & Media Group, กรุงเทพฯ.  715 หน้า.
สมคิด ดิสถาพร. 2549.  เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากลประเทศไทย.  จามจุรีโปรดักส์, กรุงเทพมหานคร. 218 หน้า.
สวนอุตสาหกรรมเกษตร.  2544. รายงานเกณฑ์คุณภาพและวิธีการตรวจวัดคุณภาพวัตถุดิบ “มะม่วง” เพื่ออุตสาหกรรมเกษตร. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรุงเทพมหานคร.  50 หน้า.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2544.  แนวทางการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี (จี.เอ็ม.พี.).  โรงพิมพ์อง๕การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพมหานคร.  27 หน้า.
สุวิมล กีรติพิบูล.  2544.  ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย GMP. สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพมหานคร.  182 หน้า.
สุวิมล กีรติพิบูล.  2546.  ระบบการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร HACCP. สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพมหานคร.  198 หน้า.
Bryan, E., Ringler, C., Okoba, B., Koo, J., Herrero, M., and Silvestri, S.  2011.  Agricultural Management for Climate Change Adaptation, Greenhouse Gas Mitigation, and Agricultural Productivity: Insights from Kenya.  International  Food Policy Research Institute.  Washington, DC 20006-1002 USA.  52 p.
The World Bank Agriculture and Rural Development Department.  2007.  Food Safety and Agricultural Health Management in CIS Countries: Completing the Transition.  Washington, D.C. 20433, USA. 134 p.  
2.1 Codex ประเทศไทย  http://www.acfs.go.th/codex/index.php    
2.2 ฐานข้อมูล Codex ระหว่างประเทศ          
2.3 มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช.      
2.4 ระบบการประกันคุณภาพ ต่างๆ เช่น GAP GMP HACCP ISO BRC และอื่นๆ
3.1 มาตรฐานอาหาร ระหว่างประเทศ
3.2 ข้อกำหนดการใช้สารเจือปนในอาหาร
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการน าแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้

1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา และ ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 ผลการทดสอบย่อย
2.3 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค        
2.4 ผลการรายงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับความคิดเห็นและความต้องการของนักศึกษาโดยดูจาก แบบทดสอบ และการสอบถาม      
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจรายงาน และสอบถาม อธิบาย ทำความเข้าใจเป็น รายบุคคล และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 4        
5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลายที่มีส่วนทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ง่าย และเข้าใจมากขึ้น