เทคโนโลยีการผลิตยางพารา

Rubber Production Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 มีความรู้และทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ พฤกษศาสตร์ของยางพารา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง การผลิตต้นพันธุ์ยาง เทคโนโลยีการผลิต การกรีดยาง การผลิตยางแผ่น ผลิตภัณฑ์ยาง การตลาด สถานการณ์และนโยบาย การผลิตยางของประเทศไทย
1.2 สามารถนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราไปประยุกต์ไปใช้ในการผลิตยางพาราได้จริง
1.3 มีสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
1.5 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิตยางพารา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราอันเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการผลิต โดยมีการนำเอาผลงานวิจัยใหม่ๆ มาเพิ่มเติมในเนื้อหาของรายวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับการผลิตยางพาราที่มีในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ พฤกษศาสตร์ของยางพารา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง การผลิตต้นพันธุ์ยาง เทคโนโลยีการผลิต การกรีดยาง การผลิตยางแผ่น ผลิตภัณฑ์ยาง การตลาด สถานการณ์และนโยบาย การผลิตยางของประเทศไทย
3 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. การสอนแบบสาธิตและประพฤติตนเป็นตัวอย่าง
2. การสอนแบบบรรยายและกำหนดให้ใช้เอกสารอ้างอิง อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในการเขียนรายงาน
1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการการปฏิบัติงานกลุ่ม
2. ประเมินจากการส่ง และการเขียนรายงาน
3. ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ
1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) และให้มีการอภิปรายกลุ่ม
2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)
3. การสอนแบบบรรยาย
4. กำหนดให้หาความรู้เพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ต
5. ศึกษานอกสถานที่
1. การสังเกตความสนใจ
2. การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ประเมินจากการนำเสนองานและส่งรายงาน
4. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนแบบ Problem Base Based Learning โดยให้สัมภาษณ์การผลิตยางของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่าน และนำข้อมูลดังกล่าวมาอภิปราย
2.การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา
3. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
- ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ รวมการค้นคว้าจากฐานข้อมูล
1. การสอบ
2. การเขียนรายงาน
3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
4. การปฏิบัติงาน
1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. ให้ทำงานมอบหมายและปฏิบัติแบบกลุ่ม
2. ให้มีการนำเสนอข้อมูลของกลุ่มแก่เพื่อนๆ ในชั้นเรียน
1. ประเมินจากความตั้งใจและการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการ
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
2. การมอบหมายงานให้จัดทำรายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนำเสนอผลงาน
1. ประเมินจากทักษะการเขียน และ และการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการอ่านและการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 21022312 เทคโนโลยีการผลิตยางพารา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการการปฏิบัติงานกลุ่ม 2. ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ ทุกสัปดาห์ที่เรียน ยกเว้นสัปดาห์ที่มีการสอบ และกรณีของรายงานจะพิจารณาประเมินในสัปดาห์ที่ 17 10 %
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ 1. การสังเกตความสนใจ 2. การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินจากการนำเสนองานและส่งรายงาน 4. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การทดสอบย่อย 4 ครั้ง สัปดาห์ที่ 4, 6, 12, 14 สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 9 และสอบปลายภาคสัปดาห์ที่ 18 50 %
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 1. การสอบ 2. การเขียนรายงาน 3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4. การปฏิบัติงาน การสอบกลางภาคและปลายภาค การนำเสนอผลงาน/การรายงาน 20 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากความตั้งใจและการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการ การปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากทักษะการเขียน และ และการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการอ่านและการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอรายงานในสัปดาห์ที่ 17 10 %
พิชัย สุรพรไพบูลย์. 2562.  เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีการผลิตยางพารา. คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. 2562. ายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง "ภาพรวมของยางพาราทั้งระบบ". สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. ชูชาติ ตันอังสนากุล และ วรรณดี สุทธินรากร. 2559. ทางออกเพื่อความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 31 (1): 57-62. นุชนารถ กังพิศดาร และคณะ. 2548. เอกสารวิชาการยางพารา. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. นุชนารถ กังพิศดาร. 2557. การใช้ปุ๋ยยางพาราตามค่าวิเคราะห์ดิน. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. บงการ พันธุ์เพ็ง ฑีประพันธุ์ น้อยอินทร์ และ พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ. 2558. ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิตยางพารา. กสิกร 88 (2) : 32-36. วสันต์ชัย ทองนอก. 2551. สถานการณ์การยางพารา และการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. ศิวโรฒ บุญราศรี. 2559. ปัญหายางพาราราคาตกต่ำ. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์ 17 (1): 52-59. สุทัศน์ ภูมวิจิตรชัย. 2547. ยางพารา. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ให้ผู้เรียนประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ และมีระบบการประเมินรายวิชาโดยให้ผู้เรียนประเมินและแสดงความเห็นผ่านการประเมินรายวิชาทางระบบอินเตอร์เน็ต
อาจารย์ผู้สอนดำเนินการ โดยการสังเกต การตรวจรายงาน และการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยพิจารณาจากความสนใจ ความเข้าใจ และผลการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนวิชาประเมินการสอนด้วยตนเอง ด้วยการสังเกต การพิจารณาผลการเรียนและการสอบของนักศึกษา จัดทำรายงานประเมินตนเองเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเสนอหัวหน้าสาขา
สาขาวิชามีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินการสอน ข้อสอบ และความเหมาะสมของการให้คะแนน
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และผลการประเมินโดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามาพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตร