คณิตศาสตร์สำหรับนักบัญชี

Mathematics for Accountant

1.  สามารถแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และสมการกำลังสองตัวแปรเดียวได้
2.  สามารถแก้ระบบสมการโดยใช้เมทริกซ์ได้
3.  สามารถแก้สมการฟังก์ชันเลขชี้กำลังและฟังก์ชันลอการิทึมได้
4.  สามารถหาค่าลิมิตของฟังก์ชันได้
๕.  สามารถหาความต่อเนื่องของฟังก์ชันได้
6.  สามารถหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันชี้กำลังและฟังก์ชันลอการิทึมได้ 
7.  สามารถหาปริพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันชี้กำลังและฟังก์ชันลอการิทึมได้
8.  สามารถให้เหตุผลโดยใช้ตรรกศาสตร์ได้ 
9.  สามารถประยุกต์ความรู้ในตัวอย่างทางบัญชีและการเงินได้
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ที่ใช้ในปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด (5 ปี) ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 และ เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย รองรับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อการศึกษา และตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านวิชาชีพบัญชีของภาคธุรกิจใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และประเทศ เพื่อให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ อดทน ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีคณิตศาสตร์เรื่อง ฟังก์ชัน สมการ และเมตริกซ์ การหาอนุพันธ์
ประเภทต่างๆ ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน ฟังก์ชันกาลังและฟังก์ชันลอการิทึม
การอินทิเกรต มูลค่าปัจจุบันและเงินงวด รวมทั้งตรรกศาสตร์ การประยุกต์ทางบัญชีและ
การเงิน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยการติดประกาศไว้ที่บอร์ดหน้าห้องพักอาจารย์ และสอนเสริม
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี เช่น จรรยาบรรณที่ดีของผู้จัดทำบัญชี จรรยาบรรณที่ดีของเจ้าของกิจการ เป็นต้น
1.2.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย รวมถึงความซื่อสัตย์ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1   กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด
1.3.2   ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การทำแบบฝึกหัดและการส่งการบ้าน
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.1.4  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1  การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด
2.2.2  การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
2.2.3  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพการบัญชีแล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.4  สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
2.3.1  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานและการ ทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
2.3.2  การประเมินจากการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.3  การประเมินผลการเรียนรู้จากการตรวจแบบฝึกหัด
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1  บรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง พร้อมการถาม – ตอบในชั้นเรียน
3.2.2  ฝึกการคิด ฝึกการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัก หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ
3.2.3  การมอบหมายงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น
3.2.4  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่มหรืองานเดี่ยว
3.3.1  การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด
3.3.2  การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
3.3.3  สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3  มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1  มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล
4.2.2  มอบหมายให้ทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่ม ๆ  ละ 3 – 5 คน เช่น รูปแบบของงบการเงินตาม มาตรฐานการบัญชี รวมถึงองค์ประกอบของงบการเงิน  เป็นต้น
4.3.1  ประเมินจากแบบฝึกหัด
4.3.2  ประเมินจากการนำเสนอกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวมรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1  มอบหมายงานให้ค้นคว้าด้วยตนเองจาก web site สื่อการสอน E-learning เป็นต้น
5.2.2  การนำเสนอและยกตัวอย่างโดยใช้ Power point
5.3.1  ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
5.3.2  การตรวจรูปเล่มรายงาน การทดสอบย่อย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 3.2 สอบกลางภาค, สอบสูตร, สอบย่อย, สอบปลายภาค 9, ก่อนเรียนทุกสัปดาห์, จบบทเรียนแต่ละบท, 17 25%, 10%, 20%, 25%
2 1.3, 2.1, 3.2 การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล, จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 15%, 5%
เอกสารประกอบการสอน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักบัญชี, กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก , 2560.
-พายัพ เกตุชั่ง, แคลคูลัส 1 สำหรับวิศวกร, กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
-มนูญ โคติบุญโล, เอกสารคำสอนวิชา แคลคูลัส 1-1, แผนกวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิชาศึกษา ทั่วไป  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตาก
-เยาวลักษณ์ คำแล, โครงการสอนรายวิชา คณิตศาสตร์ทั่วไป, แผนกวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิชาศึกษาทั่วไป สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตาก
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3   ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา การทำกรณีศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3   นำผลการประเมินข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 4 มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เรื่อง ผู้สอน ตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ