ระบบสมองกลฝังตัว

Embedded System

1 เข้าใจสถาปัตยกรรมและหลักการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อนำไปสร้างโครงงานระบบสมองกล
2 เข้าใจหลักการการออกแบบและกระบวนการทำงานของโครงงานระบบสมองกลโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์จากโครงงานที่มีอยู่แล้วในอินเตอร์เน็ต
3 ออกแบบสร้างและเขียนโปรแกรมควบคุมโครงงานสมองกลโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4 นำความรู้ที่ได้ศึกษา มาสอนให้เพื่อนได้เข้าใจถึงโครงงานสมองกลที่ได้สร้างขึ้น
5 มีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างโครงงานระบบสมองกลโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงงานระบบสมองกล สามารถออกแบบ สร้าง เขียนโปรแกรมและปรับปรุงแก้ไขโครงงานอย่างมีหลักการ อันจะเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับตัวอย่างโครงงานระบบสมองกล ออกแบบฮาร์ดแวร์ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไมโครโปรเซสเซอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ในงานควบคุม การเขียนโปรแกรมควบคุมควบคู่การสร้างฮาร์ดแวร์
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1.3.5 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงงานระบบสมองกล
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและแนวทางการประยุกต์ระบบสมองกลมาใช้ในชีวิตประจำวัน
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้เกี่ยวกับระบบสมองกลกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การทำรายงานการนำเสนอรายงาน ฝึกปฏิบัติและมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจและทักษะปฏิบัติ
2.3.2 ประเมินจากการรายงาน การนำเสนอรายงาน และงานที่มอบหมาย
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของระบบสมองกล
3.3.2 ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน และงานที่รับมอบหมาย
3.3.3 วัดผลจากการประเมินจากรายงาน การนำเสนอผลงาน
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวิเคราะห์กระบวนการสอน แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ รวมทั้งการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.2 การนำเสนอผลงานและโครงงาน
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.5 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.2.6 การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 32014318 ระบบสมองกลฝังตัว
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 8 5,13 18 15% 30% 15%
2 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.3, 4.1,4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ชื่อผู้แต่ง Japan System House Association (JASA) แปลโดย ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง 2549 REAL-TIME SYSTEMS Design Principles for Distributed Embedded Applications ชื่อผู้แต่ง Hermann Kopetz สำนักพิมพ์ / ปีที่พิมพ์ KLUWER/ 2002 ISBN 0-792-39894-7

Embedded Ethernet and Internet Complete: Designing and Programming Small Devices for Networking ชื่อผู้แต่ง JAN AXELSON สำนักพิมพ์ / ปีที่พิมพ์ Lakeview Research LLC / 2003 ISBN 1-931448-00-0
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4