การบัญชีชั้นสูง 2

Advanced Accounting 2

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกการลงทุนในบริษัทร่วม และบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการ่วมค้า
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวมในบริษัทใหญ่บริษัทย่อย
2.1. เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัยและมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2.2 เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องกับการประกาศใช้มาตรฐานรายงานการเงิน และมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในประบรมราชูปถัมภ์
2.3 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการจัดทำบัญชี การจัดทำรายงานการทางการเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับ ของหน่วยงานในกำกับ ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ศึกษาและปฏิบัติการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม
อาจารย์ผู้สอนกำหนดวันเวลาให้พบปรึกษา (office hours) โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม

มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1 นดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ

สอนแบบบรรยายเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี พร้อมยกตัวอย่าง กำหนดให้ผู้เรียนทำงานและทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่มเพื่อให้รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น และ กำหนดให้ทำงานเป็นรายบุคคลเพื่อให้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย สอดแทรกระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัยและการปฏิบัติตนของนักศึกษาต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน อาจารย์ และบุคคลอื่นที่นักศึกษาเกี่ยวข้อง

กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงาน และการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสนใจเรียนรู้และมีความสุขในการเรียน
สังเกตจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ประเมินผลจากความเอาใจใส่ในการเรียนและตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง
1.3.3   ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในการปฏิบัติตัวในชั้นเรียน ได้แก่ การแต่งกาย การตรงต่อเวลา การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น การทำงานเป็นกลุ่ม กล้าแสดงออก และความตั้งใจเรียน
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ด้วยการฝึกปฏิบัติการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
2.1.4สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถจัดทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวมได้
2.2.1 บรรยาย  โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย โดยใช้ power point ให้ผู้เรียนศึกษารูปแบบงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวมของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย  
2.2.2 มอบหมายให้นักศึกษาสรุปความรู้ในรูปแบบของแผนทีความคิด (Mind mapping)
2.3.1 วัดผลจากการเข้าเรียน ความเข้าใจในการทำแบบฝึกหัด การอภิปรายและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.3.2 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฏี และการวิเคราะห์
3.1.1 สามารถสืบคืนข้อมูล ประมวลข้อมูลและแนวคิดต่าง ๆเพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
3.2.1 บรรยาย ยกตัวอย่าง ฝึกกระบวนการคิดและการถาม ตอบ ในชั้นเรียน
3.2.2 ทำแบบฝึกหัดโดยการใช้โจทย์ปัญหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนจากงานไปยาก
3.2.3 ให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต และนำเสนออภิปรายในชั้นเรียนเป็นรายกลุ่ม
3.2.4 ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่ผู้สอนกำหนด
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2   วัดผลจากการนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาการจัดทำงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย การจัดทำงบกระแสเงินสดรวมของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มโดยการนำข้อมูลในรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาอธิบายรูปแบบการจัดทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษา รูปแบบการจัดทำงบการเงินรวม และงบกระแสเงินสดรวมของกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.1.1   มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสามกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสาร
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในกลุ่มวิชาการบัญชีชั้นชั้น ผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   บรรยายโดยการใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย โดยใช้ power point รวมถึงการตอบคำถามในเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ โดยจัดกลุ่มรายวิชาใน Face book เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในสาระวิชานอกเหลือจากเวลาในห้องเรียน
5.2.2 มอบหมายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ถามตอบในชั้นเรียน ทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว
5.2.3 ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยให้ผู้เรียนค้นหาเนื้อหาบทเรียนเพิ่มเติมจาก Youtube, Google และ Social Media
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การตอบคำถามในชั้นเรียน
5.3.2   การทดสอบย่อย
5.3.3 ประเมินผลจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมายและการตอบคำถามในชั้นเรียน
5.3.4 วัดผลจากการสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11011301 การบัญชีชั้นสูง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย สัปดาห์ที่ 3 การสอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 การสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 16 ทดสอบย่อย 10% กลางภาค 30% ปลายภาค 30%
2 1,2,3,4,5 การปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ 10%
3 2,3,4,5 รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2 10%
4 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
เอกสารประกอบการสอนโดย อ.ดร.แววดาว พรมเสน
เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตร โครงการประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย ครั้งที่ 8 (1/2561) วันศุกร์-เสาร์ที่ 19-20 พฤษภาคม 2561 โดย ภาคภูมิ วณิชธนานนท์ จัดโดย สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
เอกสารประกอบการอบรม การจัดทำงบการเงินรวมเชิงปฎิบัติการ (Workshop) รุ่นที่ 1/2561 วันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ 7-8 มิถุนายน 2561 จัดโดย สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
ฉบับปรับปรุง 2558 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) เริ่มปฏิบัติใช้ 1 มกราคม 2559 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (TAS 1) 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด (TAS 7) 21 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (TAS7) ฉับที่ 28 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม และการร่วมค้า (TAS 28) ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การรวมธุรกิจ (TFRS 3) ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง งบการเงินรวม (TFRS 10)
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน  การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งได้จาก  เว็ปไซต์  ต่อไปนี้
http://www.dbd.go.th
http://www.fap.or.th
http://www.rd.go.th
http://www.set.or.th
http://www.market.sec.or.th
มาตรฐานรายงานทางการเงินhttp://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539609025&Ntype=10
 
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ