ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม

Metal Welding Practices for Industrial Professional

    1.1 มีทักษะในงานเชื่อมโลหะ
1.1.1 เชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์
1.1.2 เชื่อมแก๊ส
1.1.3 เชื่อมมิก
1.1.4 เชื่อมทิก
1.1.5 เชื่อมใต้ฟลักซ์
1.1.6 เชื่อมแบบความต้านทาน
1.1.7 เชื่อมพลาสติก
1.1.8 แล่นประสาน
1.1.6 ตัดด้วยความร้อน
         1.2 มีทักษะในงานโลหะแผ่น
1.2.1 เขียนแบบแผ่นคลี่
1.2.2 ขึ้นรูปโลหะแผ่น
1.2.3 งานพับ
1.2.4 งานต่อตะเข็บ
1.1.5 งานย้ำหมุด
1.1.6 งานดัดม้วน
1.1.7 งานเข้าขอบลวด
1.1.8 งานบัดกรี
      1.3 นักศึกษาสามารถจัดทำครูมือครูได้       
2.1 เพื่อผลิตนักศึกษาครูปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในสภาพปัจจุบันที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน
2.2 เพื่อฝึกนักศึกษาครูให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีกิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการปฏิบัติและการควบคุมงานที่ถูกหลักวิชาการ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างประหยัด รวดเร็ว ตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
2.3 เพื่อฝึกนักศึกษาจัดทำชุดการสอนวิชางานเชื่อมโลหะ
           
ปฏิบัติการสำหรับการเตรียมเป็นครูช่างอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานเชื่อม  พื้นฐานงานเชื่อม การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักส์ การตัดและการเชื่อมแก๊ส การเชื่อมด้วยท่าเชื่อมชนิดต่าง ๆ การเชื่อมท่อ การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักส์ และจัดทำชุดการสอนวิชางานเชื่อมโลหะ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาก่อนปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
            พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางการปฏิบัติงานงานเชื่อมและโลหะแผ่น มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการในสภาพปัจจุบัน
1.1.2 เพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถวางแผน ควบคุมการผลิต การตรวจสอบควบคุมคุณภาพ การศึกษางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้โดยมีความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบ และวิจัยงานอุตสาหกรรม อาทิ การวางผังและการออกแบบโรงงาน การวางสายงานการผลิต การทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
1.1.3 เพื่อฝึกบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีกิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเอง ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการปฏิบัติและการควบคุมงานที่ถูกหลักวิชาการ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างประหยัด รวดเร็ว ตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
1.1.4 เพื่อปลูกฝังคุณธรรม ความมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
1.2.1 แนะนำเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
1.2.2 สาธิตการปฏิบัติงานในแต่ละหัวข้อตามใบงานที่กำหนด
1.2.3 ปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนด
1.2.4 นำผลงานของแต่ละกลุ่มมาเขียนรายงานผลการปฏิบัติ
1.3.1 ความตั้งใจและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินผลจากการปฏิบัติงานตามใบงาน
1.3.3 ประเมินผลการเขียนรายงานผลการปฏิบัติ
                มีทักษะเกี่ยวกับงานเชื่อมโลหะเกี่ยวกับเทคนิค การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน และการเชื่อมพลาสติก การประสาน กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน
                 มีทักษะเกี่ยวกับงานโลหะแผ่น งานเขียนแบบแผ่นคลี่ การขึ้นรูปโลหะแผ่นขั้นพื้นฐาน งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด การบัดกรี
2.2.1 ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะ
     2.2.1.1 บรรยายพร้อมสาธิตการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามใบงานในแต่ละสัปดาห์
     2.2.1.2 มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนด
     2.2.1.3 เขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน
2.2.1 ปฏิบัติงานโลหะแผ่น
   2.2.1.1 บรรยายพร้อมสาธิตการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามใบงานในแต่ละสัปดาห์
   2.2.1.2 มอบหมายให้นักศึกษาเขียนแบบแผ่นคลี่ตามใบงาน
   2.2.1.3 นำแบบแผ่นคลี่มาร่างแบบลงบนโลหะแผ่น
   2.2.1.4 ทำการขึ้นรูปชิ้นงาน
   2.2.1.5 เขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน
2.3.1 ประเมินผลจากการความตั้งใจและการเข้าร่วมกิจกรรม
2.3.2 ประเมินผลจากการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดให้
2.3.3 ประเมินผลจากการเขียนรายงานผลการปฏิบัติ
2.3.4 ประเมินผลจากความรับผิดชอบต่อหน้าที่หลังการปฏิบัติงาน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.2 ลงมือปฏิบัติตามใบงาน
3.3.1 วัดผลจากการทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.3.2 ผลงานจากการปฏิบัติแต่ละสัปดาห์
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนอรายงานรวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ลงมือการฝึกปฏิบัติในส่วนที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.1 พัฒนาทักษะในด้านการบริหารจัดการเวลา การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ อย่างถูกต้อง มีวินัยและประสิทธิภาพ
6.1.2 พัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ มีการกำหนดคะแนนการใช้เครื่องมือ
6.3.2 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงการนำเสนอและรายงานการทำกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนด - ผลการปฏิบัติงานตามใบงานที่กำหนด 1-8 & 10-16 70%
2 - ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย - มอบหมายงานกลุ่ม - ผลการปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย - ความสำเร็จของงานกลุ่มที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 - การเข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานเชื่อมและโลหะแผ่น - ผลการเข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานเชื่อมและโลหะแผ่น ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. เกษมชัย บุญเพ็ญ. พื้นฐานโลหะแผ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประกอบเมไตร: พิมพ์ครั้งที่ 7, 2533.
2. ชิเกะอากิ ยามาโมโต้. วิศวกรรมการเชื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ไทย-โกเมเวลดิ้ง จำกัด, ม.ป.ป.
3. นริศ ศรีเมฆ และพิชัย โอภาสอนันต์. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
4. ประสงค์ ท้วมยิ้ม. หลักการเชื่อมประสาน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมไทย-ญี่ปุ่น, 2522.
5. วิทยา ทองขาว. งานเชื่อมไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, โรงพิมพ์ เอช. เอ็น กรุ๊ป จำกัด, 2538.
6. สมปอง มากแจ้ง. ความปลอดภัยในโรงงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระเหนือ, 2524.
7. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. ศัพท์บัญญัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเชื่อม. กรุงเทพฯ: 2539.
8. สุชาติ กิจพิทักษ์. งานโลหะแผ่นกระเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เม็ดทรายพริ้นติ้ง, 2540.
9. อดิศักดิ์ วรรณวัลย์ และคณะ. พื้นฐานการเชื่อมก๊าซ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกอบเมไตร, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2527.
10. เอียร์เวล เอส ฮูฟแมน. หน่วยงานในโลหะแผ่น. กรุงเทพฯ: ประเสริฐการพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 2,
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอนของแต่ละสัปดาห์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในขณะปฏิบัติงาน
2.2 ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาตามใบงานที่กำหนด
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
             ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานตามใบงาน และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบใบงาน รายงาน วิธีการให้คะแนน และการให้คะแนนพฤติกรรม
                จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ศึกษาหลักสูตรการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้องกับระดับช่างฝีมือ
5.2 ปรับปรุงใบงานในรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.3 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานโรงานอุตสาหกรรมต่างๆ