ฝึกงานทางวิชาชีพพืชศาสตร์

Internship in Plant Science

รายวิชาการฝึกงานพืชศาสตร์ จะเป็นการจัดให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด เพื่อประยุกต์กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง  ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา
ในการพัฒนาประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายว่า เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน    นักศึกษาจะมีทักษะและความสามารถด้านต่าง ๆ ดังนี้
                    - การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางปฏิบัติ
                              - เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ด้านพืชศาสตร์มาใช้ในการทำงาน
                             - เรียนรู้และฝึกประสบการณ์การพัฒนาระบบการผลิตทางด้านพืชศาสตร์จากสภาพแวดล้อมจริง
                             - เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร
                             - ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้
ฝึกปฏิบัติงานด้านพืชศาสตร์ภายนอกหรือภานในสถานศึกษา โดยเน้นการฝึกทักษะเพื่อสร้างประสบการณ์เฉพาะทางด้านพืชศาสตร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
2 ชั่วโมง
- มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ
ขององค์กรและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับ
ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของ
ความเป็นมนุษย์
            - ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติก่อนการฝึกงาน
            - กำหนดตารางเวลาฝึกงาน บันทึกเวลาฝึกงานกำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผล
               งาน
            - มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาน
              ประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
            - ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
                 - นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม
                 - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงาน จากการสังเกตพฤติกรรมและการ
               แสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วย
               ทุกครั้ง
                  - ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมมี
              รายงานผลการฝึกงานประกอบ
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของ
สาขาวิชาเฉพาะด้านพืชศาสตร์
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆด้านพืชศาสตร์
- สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาพืชศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่
เหมาะสม
- สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาพืชศาสตร์ ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานจริงได้
              
 
                - สถานประกอบการที่ฝึกงาน จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการ
                  ปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วย
                  ตนเอง
               - ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
               - จัดประชุม แบ่งงาน ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ พนักงานพี่เลี้ยง
                อาจารย์นิเทศ
             - ประเมินผลจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น
             - ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการส่งงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดย
                กำหนดแบบฟอร์มบันทึกการส่งงาน
   - มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
             -สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการทางด้านพืชศาสตร์

มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนา

    นวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์

สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อ

การเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆทางด้านพืชศาสตร์
- การมอบหมายงาน หรือโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาความต้องการ และวิเคราะห์ผลความต้องการ
- จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการทางด้านพืชศาสตร์ และนำเสนอ
- ประชุมและนำเสนอผลลัพธ์จากโจทย์ปัญหาร่วมกันระหว่าง อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ และ
นักศึกษาฝึกงาน
         - ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้อง
และควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
            - สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพทางด้านพืชศาสตร์มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
            - สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพ  ทางด้านพืชศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม

สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ

 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
           - สร้างกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคีพร้อมทำงานเป็นทีม
           - มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
           - ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงาน ประเมินผล
          - ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
          - ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
หรือผู้เกี่ยวข้อง
 
 
  
         - มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ทักษะการคำนวณ และใช้สถิติเพื่อนำเสนอข้อมูล
         - มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งการพูด เขียน ในการ
            ประสานการทำงาน
         - มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
- ประเมินจากเอกสาร ที่นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นสื่อ
        - ประเมินจากผลจากความถูกต้องและเหมาะสมในการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - เรียนรู้ ทำความเข้าใจในภารกิจ เป้าหมาย วัฒนธรรม กฎ ระเบียบ ขั้นตอนในการทำงานของ สถานประกอบการ - เรียนรู้ และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานประกอบการที่ฝึกงาน - นำความรู้ทางทฤษฎีมาเป็นพื้นฐานในการประยุกต์เพื่อการทำงาน - การฝึกแก้ไขปัญหาในโจทย์ที่ได้รับมอบหมายโดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่ในสถาน ประกอบการ - อาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์ นิเทศ ประเมินผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม - สถานประกอบการประเมินผลการฝึกประสบการณ์งานภาคสนาม - จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ทั้งที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง ให้นักศึกษานำเสนอการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึก ประสบการณ์ภาคสนาม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาที่ไปฝึกประสบการณ์ภาคสนาม - อาจารย์ชี้นำ ให้เห็นถึงความสำคัญ และผลกระทบต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่มีต่อการทำงานในอนาคต - การนำผลการประเมินนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม มานำเสนอ อภิปราย เพื่อเป็นแนวทางใน การฝึกประสบการณ์ภาคสนามต่อรุ่นต่อไป - สนับสนุนให้นำโจทย์ที่พบในการฝึกประสบการณ์ภาคสนามมาเป็นกรณีศึกษา 16 1.1 เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน แบ่งคะแนนตามสัดส่วนดังนี้ (ก) ประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานโดยที่ปรึกษาในสถานประกอบการ ร้อยละ 60 (ข) ประเมินผลจากการนิเทศโดยอาจารย์น
จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
พนักงานพี่เลี้ยงบันทึกงานที่มอบหมาย และผลการฝึกฯในแบบฟอร์ม และสุ่มถามด้วยวาจา
อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
อาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง บันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา ในแบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม การนำคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาไปใช้ในการแก้ปัญหา ของนักศึกษาของนักศึกษา
‐ อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา
จากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากพนักงานพี่เลี้ยง รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร