เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น

Welding and Sheet Metal Technology

                   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักในการศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ กระบวนการเชื่อม การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน การประสาน และ การเชื่อมพลาสติก ตลอดจนเทคโนโลยีการเชื่อมสมัยใหม่ กลวิธีการเชื่อมตามกระบวนการต่างๆ กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน งานเขียนแบบแผ่นคลี่ และการขึ้นรูปโลหะแผ่นขั้นพื้นฐาน งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด การบัดกรี
                    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีและปฏิบัติการเกี่ยวกับ กระบวนการเชื่อม การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหางานและประยุกต์ปฏิบัติการใช้กับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในด้านกระบวนการเชื่อมโครงสร้างต่างๆ
                 ศึกษาหลักในการการศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ กระบวนการเชื่อม การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน การประสาน และ การเชื่อมพลาสติก ตลอดจนเทคโนโลยีการเชื่อมสมัยใหม่ กลวิธีการเชื่อมตามกระบวนการต่างๆ กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน งานเขียนแบบแผ่นคลี่ และการขึ้นรูปโลหะแผ่นขั้นพื้นฐาน งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด การบัดกรี
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์   (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆได้ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมช่วงการเรียนการสอน
1.2.2 สอดแทรกเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.3 เน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลารวมถึงการแต่งการให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.4 มอบหมายงานเป็นกลุ่มนักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายรวมถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีตามบทบาทที่ได้รับและเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
 
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมายและการแบ่งงานกันทำ รวมถึงการร่วมกันนำเสนองานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
2.2.2 ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานควบคุมคุณภาพเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
2.2.3 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม
2.2.4 สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3.1 ตรวจแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฏีและการปฏิบัติ
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.2 ลงมือปฏิบัติตามใบงาน
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2 วัดผลจากการทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.3.3 ผลงานจากการปฏิบัติแต่ละสัปดาห์
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนอรายงานรวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาและการนำเสนอผลงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ลงมือการฝึกปฏิบัติในส่วนที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.1 พัฒนาทักษะในด้านการบริหารจัดการเวลา การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ อย่างถูกต้อง มีวินัยและประสิทธิภาพ
6.1.2 พัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ มีการกำหนดคะแนนการใช้เครื่องมือ
6.3.2 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงการนำเสนอและรายงานการทำกิจกรรมกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คะแนนสอบของเนื้อหาบทที่ 1-3 สอบกลางภาค 9 20%
2 คะแนนสอบของเนื้อหาบทที่ 4-7 สอบปลายภาค 18 20%
3 การใช้เทคโนโลยีและการเรียนรู้เนื้อหา ผลการฝึกปฏิบัติจากการเก็บคะแนนรายสัปดาห์และความรับผิดชอบตามงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 ความรับผิดชอบและการทำงานเป็นทีม 1. การค้นคว้าและนำเสนองาน 2. การมอบหมายงานเป็นทีม 3. การส่งงานตามที่มอบหมาย 4. นำเสนอผลงาน 5 และ 13 10%
5 การมีส่วนร่วม ชั้นเรียนและการกล้าแสดงความคิดเห็น 1. การเข้าชั้นเรียน 2. การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น ( Welding and Sheet Metal Technology)
การนำเสนอเนื้อหาการสอนด้วย Power Point รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อการนำอภิปรายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
3.1 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น ( Welding and Sheet Metal Technology)
http:// www.youtube.com/results?search_query=เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น+%28+Welding+and+Sheet+Metal+Technology%29
3.2 กอบสิน ทวีสิน.พื้นฐานการออกแบบงานเชื่อม.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี,กรุงเทพ.
3.3 เจริญ พรหมคชสูต สมบูรณ์ เต็งหงส์เจริญและบัณฑิต ใจชื่น. การเชื่อมโลหะ1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทคนิค 19. กรุงเทพฯ
3.4 เชิดเชลง ชิตชวนกิจ.ยงยุทธ เสริมสุธีอนุวัฒน์และอัตกร กลั่นความดี.วิศวกรรมการเชื่อม.สมาคมส่งเสริมความรู้ด้านเทคนิคระหว่างประเทศ,กรุงเทพฯ.
3.5 ประสงค์ ท้วมยิ้ม. วิศวกรรมเชื่อมประสาน.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี.กรุงเทพฯ:
3.6 American Welding Society. Welding Inspection Handbook : Florida.
3.7 Klass Weman. Welding Process Handbook. Woodhead Pulishing Ltd :USA.
3.8 Raymond J. Sacks and Edward R. Bohnart. Welding Principle and Practices.Third Edition. The McGraw-Hill Companies,Inc : New York.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชารวมถึงข้อคำถามที่มีอยู่ในงานวิจัยในชั้นเรียน
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.3 การสังเกตการณ์จากการนำเสนองานและการทำงานเป็นทีม
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 ด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน
3.2 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.3 นำผลจากการทำวิจัยและการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
         ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
      จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 สร้างทีมผู้สอนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ