ภาษาอังกฤษ 1

English 1

1.  รู้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างพื้นฐานทางภาษา  
2.  เข้าใจกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ 
3.  พัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น 
4.  มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษ 
1. เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน 
2. เพื่อให้สามารถอ่านและฟัง บทความ เอกสารและวารสาร ตำราและรายงานเกี่ยวกับวิชาเฉพาะสาขา 
3. เพื่อให้สามารถเก็บสาระสำคัญ  สรุปความ วิเคราะห์ความและรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง 
4. เพื่อให้สามารถเขียนรายงาน และรายงานปากเปล่าเกี่ยวกับสาขาวิชา 
5. เพื่อให้สามารถใช้ภาษาตะวันตกเป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
6. เพื่อให้มีความรู้ความสามารถเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ 
7. เพื่อให้สามารถใช้ภาษาตะวันตกที่เรียนเป็นเครื่องมือศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม 
8. เพื่อพัฒนากิจนิสัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง 
9. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อภาษาตะวันตก 
ศึกษาคำศัพท์ สำนวนและโครงสร้างพื้นฐานทางภาษา และการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน พร้อมทั้งฝึกฝนการใช้กลวิธี การเรียน ตลอดจนเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับต่อไป
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- สอดแทรกการใช้ภาษาในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รู้จักปรับใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 
- มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 
- มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 
- เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
 
- ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ  
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 
- ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง 
- ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด 
 
- การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา  
- การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด 
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน 
- การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ 
            2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
            2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 
            2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง       
 ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่างๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน  ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
ทดสอบกลางภาคและปลายภาค       การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน     การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 
3.1.3 มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตาม 
อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น   บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ  กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  แสดงบทบาทสมมติ 
การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทตางๆ
 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
      4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 
      4.1.2  มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม 
      4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
      4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 
4.2  มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
       -  พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ 

       -  พัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 
       -  พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วนตนเอง ทำงานตามที่มอบหมาย ตรงตามกำหนดเวลา 
       -  พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม 
- กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ 
-  ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วนโดยใช้ Power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
- นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน 
 
-  ผู้สอนประเมินตามแบบการนำเสนอ 
-  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน 
-  แบบฝึกหัด 
-  การตรงต่อเวลาและการส่งงาน 
5.1  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา 
        5.1.1  เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม     
        5.1.2  สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
        5.1.3  ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรม 
 -  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเวปไซต์ต่างเพื่อนำมารวบรวมเขียนเป็นรายงานส่ง 
 -  การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point 
 
- ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน 
- การสืบค้นข้อมูลตามคำสั่งได้ 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 1ึ7 25% 25%
2 สอบย่อยรายบทเรียน แบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา 40%
3 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือเรียนวิชา English for Everyday Communication
เวบไซต์ต่างๆ  สำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้ 
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ 
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  
 
ารเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้ 

    -  อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา 
    -  สังเกตจาการทำกิจกรรมในชั้นเรียน 
    -  ประเมินจากผลการนำเสนอ 
    -  ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค 
-  ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน  
  - กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  
  - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา  
  - การวิจัยในชั้นเรียน 
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 
 
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ