วาดเส้น 2

Drawing 2

1. รู้ความหมาย รูปแบบ ลักษณะของการวาดเส้นสร้างสรรค์ใน ลักษณะต่างๆ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ของการวาดเส้น ในทางเนื้อหา องค์ประกอบศิลป์
3. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกฝนทักษะปฏิบัติงานเส้นสร้างสรรค์อย่างเข้าใจ
สามารถนำเสนอผลงานและแสดงทัศนะในทางสร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมาย
4. เห็นคุณค่างานวาดเส้นสร้างสรรค์และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้นักศึกษาใช้ความรู้เบื้องต้นทางการวาดเส้นนำมาปรับปรุงรูปแบบผลงาน พร้อมทั้งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ของการวาดเส้นอันมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะวิธีการลักษณะต่างๆ รวมถึงการฝึกการคิดวิเคราะห์การสร้างสรรค์ในทางเนื้อหา และการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการในการนำเสนอผลงาน มีการแสดงออกทางความคิดอันมีรูปแบบการสร้างสรรค์ทางการวาดเส้นที่มีลักษณะเฉพาะตน รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนในวิชาเอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคนิควิธีการที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การวาดภาพสร้างสรรค์จากความเข้าใจทางทัศนธาตุรูปทรง ระนาบ พื้นผิว ปริมาตร น้ำหนัก จากวัสดุอุปกรณ์ที่มีความหลากหลายโดยเลือกใช้เทคนิควิธีการทางกระบวนการวาดเส้นสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณค่า
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่ได้จากการสร้างสรรค์ศิลปะการวาดเส้นต่อบุคคลองค์กรและสังคม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา

ศึกษา-อ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1.3 ประเมินผลการศึกษาจากผลงานการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลงานเป็นกรณีศึกษา
1.4 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
1.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3 ประเมินผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษา
1.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่สำเร็จและนำเสนอเป็นรายงานตามที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการสร้างสรรค์ทั้งในทางทักษะวิธีการของกระบวนการวาดเส้นรูปแบบต่างๆที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางการวาดเส้น และในทางการจัดองค์ประกอบของภาพวาดที่สามารถแสดงออก ได้ถึงเนื้อหา แนวความคิดของการสร้างสรรค์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงานที่มีอัตลักษณ์ของตน รวมทั้งนักศึกษาได้ฝึกฝนการปฏิบัติงานจนเกิดทักษะที่ชำนาญสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานในสาขาวิชาเอกของตนต่อไปได้
2.2.1   ทดสอบบรรยายประวัติความเป็นมาการวาดเส้นสร้างสรรค์ วิธีการสร้างสรรค์โดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการศึกษาพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางการสร้างสรรค์รูปวาด เช่น การศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นจากศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
2.2.2   สอนทักษะวิธีการในการมองเห็น ความเข้าใจในเรื่องการกำหนดสัดส่วนทั้งในวัตถุสิ่งของ  กายวิภาคศาสตร์ และหลักทางทัศนีย์วิทยา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจการน้ำหนักแสงเงาจากสิ่งที่พบเห็นจากรูปแบบเหมือนจริงไปสู่ การสร้างแรงบันดาลใจของการวาดภาพเชิงสร้างสรรค์
2.2.3   กำหนดให้นักศึกษาฝึกฝนเทคนิควิธีการในการวาดเส้นลักษณะต่างๆจนเกิดความชำนาญและเข้าใจหลักทฤษฏีของการวาดเส้น   นำมาศึกษาหาวิธีการนำเสนอแนวความคิด เนื้อหาเรื่องราว รูปแบบวิธีการสร้าง พร้อมขยายผลงานให้มีความสมบูรณ์เพื่อทำความเข้าใจหลักความงาม
2.3.1 ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ
2.3.2 ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ จนได้ผลงานวาดเส้นที่แสดงแนวทางในการสร้างสรรค์ของตนเอง
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบสามารถเรียนรู้และวางแผนในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ได้ ฝึกการนำเสนอผลงานการการวาดเส้นในแบบต่างๆกับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชาเพื่อให้เกิดการแสดงออกทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนะในทางการสร้างสรรค์ เพื่อให้มีการวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสร้างสรรค์อย่างใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงเป็นรูปแบบการวาดเส้นสร้างสรรค์ของนักศึกษาเอง
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่ง,แบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพ
3.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้เกิดทักษะความชำนาญในกระบวนการสร้างสรรค์ภาพจากเทคนิควิธีและทฤษฏีการวาดเส้นในลักษณะต่างๆ นำมาฝึกฝนสร้างผลงานการวาดเส้นขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.2.3 หารูปแบบแรงบันดาลใจส่วนตน ค้นคว้าหาข้อมูลในการนำรูปแบบผลงานศิลปะลักษณะต่างๆศึกษาอย่างเหมาะสม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะส่วนตน
3.2.4 ฝึกการนำเสนอผลงานการสะท้อนแนวคิดจากการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนทัศนคติทางการสร้างสรรค์เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
3.3.1 ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ
3.3.2 ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานวาดเส้นที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ จนได้ผลงานวาดเส้นที่แสดงแนวทางในการสร้างสรรค์ของตนเอง
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่งและแบบคนจริง นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นทั้งในแบบเหมือนจริงและการสร้างสรรค์
4.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยฝึกให้ทำงานร่วมกันในแต่ละประเด็นการศึกษา และแก้ไขปัญหาทางด้านการมองการสร้างสรรค์ผลงานจากวิธีการต่างๆ วิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.3 ศึกษาวิธีการนำเสนอผลงานการสะท้อนแนวความคิดจากการปฏิบัติงาน แรงบันดาลใจเนื้อหาการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานการวาดเส้นสร้างสรรค์ที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากการปฏิบัติงานช่วงระหว่างเวลาเรียน พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงานการศึกษาด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนทัศนคติภายในกลุ่ม
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ วัดสัดส่วน มุมมอง ทิศทาง จากหลักทัศยนียวิทยา
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวาดเส้นสร้างสรรค์ให้ได้ตรงลักษณะกระบวนการสร้างสรรค์ในลักษณะ
ต่างๆ และเข้าใจถึงหลักหลักทางสุนทรียวิทยา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่ง,แบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพ
5.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยฝึกให้ทำงานร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาทางด้านการมองและการสร้างสรรค์ผลงานจากแบบงานการวาดเส้นจากศิลปินที่มีชื่อเสียง วิเคราะห์กรณีศึกษา
5.2.3 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลทางศิลปะ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.4 เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน,ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ที่กำหนด
5.3.2 ประเมินจากปฏิบัติงานภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
5.3.3 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
6.1.1. มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนสิลปืได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
6.2.2. มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนนัด
6.3.3. สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม
6.4.4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน
6.5.5. มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
6.2.1 สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ
6.2.2 จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
 
 
6.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
6.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
6.3.3 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 4
1 41010202 วาดเส้น 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 2-5 6-10 11-13 14-15 ทดสอบย่อย บทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์ ทดสอบย่อย บทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์แบบเหมือนจริง ทดสอบย่อย บทเรียนเทคนิควิธีการผสมในการวาดเส้น สอบกลางภาค ทดสอบย่อย บทเรียนองค์ประกอบในงานวาดเส้นสร้างสรรค์ ทดสอบสรุปงานวาดเส้นสร้างสรรค์ สอบปลายภาค 1 2-5 6-10 - 11-13 14-15 5% 21% 26% - 16% 12%
Jodi Hauptman, DRAWING FROM THE MODERN 1880-1945. The Museum of Modern Art
Nathan Goldstein, THE ART OF RESPONSTIVE DRAWING Second Edition. Prentice-Hall, Inc.,
Englewood Cliffs, New Jerssy
Robert Kaupelis, EXPERIMENTAL DRAWING. Watson-Guptill Publications/Newyork
Pitman House/ London
ไม่มี
 

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์ได้ทุกเวลา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ