ทัศนศิลป์ 1

Visual Art 1

1.รู้ความหมายและลักษณะทั่วไปของงานทัศนศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์ ตลอดจนและ สื่อศิลปะที่เกี่ยวข้อง
2.รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการสร้างงาน จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์ตลอดจนและ สื่อศิลปะที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นฐาน
3.เข้าใจเทคนิควิธีการสร้างงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์ และ สื่อศิลปะที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นฐาน
4.มีทักษะในการสร้างงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์ และ สื่อศิลปะที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นฐาน
5.มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน และเห็นคุณค่าของงานทัศนศิลป์
 
1. เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากขึ้น
2. ให้เหมาะสมกับการต้องการของสังคม
3. ให้สอดคล้องกับ การเน้นพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษามากยิ่งขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานศิลปะขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคนิควิธีการทางจิตรกรรม ประติมากรรมและศิลปะภาพพิมพ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผิอื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
1.มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4.เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้น ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตว์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจักกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2.ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. (ไม่มีการประเมิน)
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
1.การทดสอบย่อย
2.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาและประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
4.ประเมินจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5.ประเมินจากรายงานผลการศึกษาดูงาน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆจากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญา ดังนี้
1.มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2.มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา(Problem Based Instruction)
2.ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานที่จริง
3.มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาเช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริงและประเมินจากการทดสอบเป็นต้น
1.มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. (ไม่มีการประเมิน)
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
1.กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำและผู้รายงาน
2.ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
3.ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.มอบหมายงานให้สัมภาษณ์บุคคลต่างๆ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆและความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. (ไม่มีการประเมิน)
2. (ไม่มีการประเมิน)
3. (ไม่มีการประเมิน)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลเชิงตัวเลข ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1.มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
2. มีทักษะในการร่างแบะทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด
3. สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน
5. (ไม่มีการประเมิน)
1.สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ
2.จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
1.ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2.ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 41010105 ทัศนศิลป์ 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-15 ตรวจผลงานภาคการปฏิบัติขั้นสำเร็จตามหัวข้อที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 60%
วาดเส้นด้วยดินสอ พิษณุ ประเสริฐผล 2549 กทม.
วาดเส้นพื้นฐาน วัชรพงษ์ หงส์สุวรรณ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2552 กทม.
ประวัติศาสตร์ประติมากรรม ประเสริฐ วรรณรัตน์ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2552 กทม.
ประติมากรรมหิน สุชาติ เถาทอง สำนักพิมพ์เกรทไฟน์อาร์ท 2549 กทม.
องค์ประกอบศิลปะ.ชลูด นิ่มเสมอ,กรุงเทพ:ไทยวัฒนาพานิช. 2531
ความรู้เกี่ยวกับศิลปะภาพพิมพ์.อัศนีย์ ชูอรุณ,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.:กรุงเทพ.2543.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบความก้าวหน้าและความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา และสังเกตความก้าวหน้า ความเข้าใจ และพัฒนาของผลการปฏิบัติงาน
4.1 การให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบโครงงานงาน วิธีการให้คะแนนโครงงานผลงานที่ปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานอื่น