สัมมนาการจัดการธุรกิจค้าปลีก

Seminar in Retail Business Management

1.1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในกระบวนการจัดสัมมนา องค์ประกอบของการจัดสัมมนา ขั้นตอนการจัด
สัมมนา การประเมินผลการสัมมนา และการประยุกต์ใช้การคิด และทำงานร่วมกับผู้อื่น
1.2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ภาษาเชิงวิชาการในการสื่อสารได้ทั้งการเขียนการพูด
1.3. เพื่อฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามอย่างสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีมได้ดี มีความสามารถในการบริหาร
จัดการโครงการ
1.4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดได้
1.5.เพื่อเพิ่มพูนความรู้และฝึกฝนทักษะต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดสัมมนา กระบวนการคิดวิเคราะห์และอภิปราย โดยอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางด้านการตลาดเพื่อการหาคำตอบและการแก้ปัญหาจากประเด็นสำคัญทางการจัดการธุรกิจค้าปลีกที่น่าสนใจ ในปัจจุบัน
ศึกษาและอภิปรายเพื่อนำความรู้ทางวิชาการด้านธุรกิจค้าปลีก และการศึกษา้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตลอดจนการตัดสินใจด้านการค้าปลีกอย่างมีระบบและสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้เน้นการศึกษาประเด็นทางการค้าปลีกที่ทันสมัยและการนำเอาทฤษฏีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจในบทบาทของการค้าปลีกต่อองค์การธุรกิจและความสัมพันธ์กับหน้าที่ทางธุรกิจอื่น ๆ
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เฉพาะนักศึกษาที่ต้องการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคเรียน 105
2 ความรู้ ทดสอบย่อย สอบกลางภาค งานที่มอบหมาย 4-5 9 1-15 10% 20% 10%
3 ทักษะทางปัญญา วิเคราะห์กรณีศึกษา จัดสัมมนา 2-7 14-15 20% 30%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สังเกตจากงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา รวมอยู่ใน กิจกรรมที่ 3
5 ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การค้นคว้าข้อมูล ความสมบูรณ์ ของผลงานที่มอบหมาย 12-15 รวมอยู่ใน กิจกรรมที่ 3
เกษกานดา สุภาพจน์. 2536. การจัดสัมมนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สิทธิ  ธีรสรณ์. 2551. การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวุธ  พงษ์วิทยภานุและ สุธน  โรจน์อนุสรณ์. 2551. e-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์.
กันต์ฐศิษย์  เลิศไพรงาม. 2551. การตลาดทางตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์, ไอ เอ็ม บุ๊คส์ กรุงเทพฯ.
บุสรินทร์  คูนิอาจ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการสัมมนาการตลาด . มทร.ศรีวิชัย สงขลา.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ

การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมทีมการสอน
2.2 ผลการสอบ
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2 พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ