ระบบโฟโตโวลตาอิกและการประยุกต์

Photovoltaic System and Its Applications

1. เข้าใจแนวโน้มเทคโนโลยีของระบบโฟโตโวลตาอิก
2. เข้าใจทฤษฎีการแผ่รังสีดวงอาทิตย์
3. เข้าใจโครงสร้างและส่วนประกอบของแผงและระบบเซลล์แสงอาทิตย์
4. เข้าใจเทคโนโลยีและหลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์
5. เข้าใจสมบัติทางไฟฟ้าและประสิทธิภาพ
6. เข้าใจการวิเคราะห์วงจรสมมูล
7. เข้าใจมาตรฐานและการทดสอบ
8. เข้าใจสมบัติของอุปกรณ์ประกอบระบบ
9. ออกแบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระและแบบเชื่อมต่อระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
10. ประยุกต์ใช้ระบบเซลล์แสงอาทิตย์
11. วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
เพื่อให้รายวิชาระบบโฟโตโวลตาอิกและการประยุกต์ใช้มีความทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการในปัจจุบัน
แนวโน้มเทคโนโลยีของระบบโฟโตโวลตาอิก ทฤษฎีการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ โครงสร้างและส่วนประกอบของแผงและระบบเซลล์แสงอาทิตย์ เทคโนโลยีและหลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ สมบัติทางไฟฟ้าและประสิทธิภาพ การวิเคราะห์วงจรสมมูล มาตรฐานและการทดสอบ อุปกรณ์ประกอบระบบ การออกแบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระและแบบเชื่อมต่อระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า การประยุกต์ใช้ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบ
สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล ท้ายชั่วโมงเรียนหรือตามความต้องการของนักศึกษาได้
2.1.1   ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
2.1.1.1นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
2.1.1.2   มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
2.1.1.3   สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
 
2.1.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียนและส่งงานตรงเวลา นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีการสอดแทรกความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการเรียนการสอนทุกรายวิชา โดยเน้นการสร้างสำนึกในจรรยาบรรณของนักวิจัยทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์โดยไม่กระทำการทุจริตในการสอบ รวมถึงการอ้างอิงข้อมูลในกรณีนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้
2.1.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2.1.3.1   ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.3.4   ประเมินจากรายงาน ผลงานวิจัยที่นักศึกษานำเสนอ
2.2.1  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
2.2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และนำไปประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ
2.2.1.2   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1.3   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1.4   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการทางด้านวิศวกรรม ไฟฟ้ารวมทั้งการนำไปประยุกต์ได้
2.2.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างๆ และเสนอบทความในวารสารทางวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
2.2.3.1   การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค
2.2.3.2   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.2.3.3   ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
2.2.3.4   ประเมินจากการนำเสนองาน และงานวิจัย
2.2.3.5   การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
3.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
3.1.1   มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและเป็นระบบ
3.1.3   สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4   สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.5   สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.3.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
2.3.2.1   กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
2.3.2.2   การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
2.3.2.3   ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างๆ และเสนอบทความในวารสารทางวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
2.3.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาที่เกิดจากการใช้กระบวนการแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์วิจารณ์ เช่น รายงานการนำเสนอในชั้นเรียน รายงานผลการอภิปรายกลุ่ม การสัมมนา และการวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานทางวิทยานิพนธ์รวมถึงการประเมินผลจากการสอบ
4.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1.1   สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคม และสามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์
4.1.2   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3   มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือผู้มีประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ตาม โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ ดังนี้
4.2.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย                                         
4.2.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.2.4   มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5   ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.2.6   ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการต่างๆ
4.3   กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2   ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3   ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4   สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
4.3.5   ใช้กลไกการประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน
5.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2   สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2   กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.1   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.2   ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
2.5.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
5.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3   สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
ไม่มี
 
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 MENEE121 ระบบโฟโตโวลตาอิกและการประยุกต์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม ประเมินจาก - การเข้าชั้นเรียน - ความรับผิดชอบ - ความมีวินัย - การทุจริตทางวิชาการ ทุกสัปดาห์ 10%
2 ความรู้ ประเมินจาก - กิจกรรมการถามตอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 1ุ6 - 17 40%
3 ทักษะทางปัญญา ประเมินจาก - รายงาน - การนำเสนอรายงานระบบโฟโตโวลตาอิก - การอภิปรายร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ประจำวิชา - ทักษะการถามตอบ - ทุกสัปดาห์ - สัปดาห์ที่ 17 15%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจาก - ความสัมพันธ์และผลการทำงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 10 %
5 การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินจาก - รายงานทดลองที่มอบหมายศึกษษด้วยตนเอง - การนำเสนอรายงานระบบโฟโตโวลตาอิกหน้าชั้นเรียน - การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบโฟโตโวลตาอิก - ทุกสัปดาห์ - สัปดาห์ที่ 17 10%
1. กฤษณพงศ์ กีรติกร, 2551, เซลล์แสงอาทิตย์และการใช้งาน, เอกสารประกอบการสอน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 102 หน้า.
2. พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กรม, 2552, หลักสูตรการอบรมเทคนิคการประยุกต์ใช้เซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผู้ออกแบบระบบ, กระทรวงพลังงาน, 234 หน้า.
3. อนนท์ นำอิน, 2558, เอกสารประกอบการสอนวิชา ระบบโฟโตโวตาอิก. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย, 441 หน้า.
1. กฤษณพงศ์ กีรติกร, 2552, การแผ่รังสีดวงอาทิตย์, เอกสารคำสอน เรื่อง การแผ่รังสีดวงอาทิตย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 160 หน้า.
2. IEA PVPS, 2014, Trends 2017 in Photovoltaic Applications: Survey report of selected IEA countries between 1992 and 2017, Report IEA-PVPS T1-25:2017
1. IEC Standards 
2. IEEE Explore
3. Science Direct
4. Web of Science
5. Wikipedia
ุ6. PVSys Programming
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทาโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนาแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกระดานเสวนา ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
1.4 ประเมินผู้สอนโดยนักศึกษา ผ่านระบบไอทีของมหาวิทยาลัย
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียน การร่วมกิจกรรม ผลแบบทดสอบ ผลการสอบของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 อาจารย์ผู้สอนศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เพื่อนาประสบการณ์จริงถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา