โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Business Information System Project

1. นักศึกษาสามารถใช้ความรู้รวบยอดที่ได้เรียนมาและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อการทำการวิจัยด้านคอมพิวเตอร์หรือด้านระบบสารสนเทศ 2. นักศึกษาสามารถเสนอหัวข้อโครงงานตามความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักสูตร 3. นักศึกษาสามารถ ศึกษา  วิเคราะห์  ออกแบบ  และพัฒนาระบบสารสนเทศ 4. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการทดสอบและปรับปรุงระบบตามความต้องการของผู้ใช้งานระบบ 5. นักศึกษาสามารถติดตั้งระบบเพื่อประเมินผลการใช้ระบบ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบมาตรฐานหลักสูตรระบบสารสนเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ใช้ในงานธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ความรู้รวบยอดที่ได้เรียนมาและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทำการค้นคว้าวิจัยหัวข้อและเนื้อหา โดยเลือกหัวข้อโครงงานทางด้านคอมพิวเตอร์หรือทางด้านระบบสารสนเทศ จากหัวข้อโครงงานที่อาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณา หรือนักศึกษากำหนดขึ้นโดยความเห็นชอบของอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษาจะต้องเขียนรายงาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยหัวหน้าหลักสูตร
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยวางแผนงานการจัดทำโครงงานและจัดสรรเวลาในการเข้าพบ โดยทุกครั้งที่เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีการใช้แบบฟอร์มการเข้าพบอาจารย์ ในการบันทึกความก้าวหน้าโครงการทุกครั้ง อีกทั้ง ให้นักศึกษาสามารถสอบถามปัญหาผ่าน ระบบสื่อสังคมออนไลน์โดยการพิมพ์ในกล่องข้อความด่วน
กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยนักศึกษาต้อง มีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่ ทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะ ของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวชิานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์ จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้ชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ 1. การทดสอบย่อย  2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 4. ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ  5. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน  6. ประเมินจากรายวชิาสหกิจศึกษา
1. กรณีศึกษาทางการประยกุต์ใช้เทคโนโลยสีารสนเทศ 2. การอภิปรายกลุ่ม  3. ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
กลยทุธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญานี้สามารถทำได้โดยการออก ข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยกุต์ ความรู้ที่เรียนมา หลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกคำตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา ไม่ควรมีคำถามเกี่ยวกับนิยามต่างๆ ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้อง ประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลกัสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้ 1. สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี  4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป  5. มีภาวะผู้นำ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ได้
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์และการสื่อสารนี้ อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธิีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียนอาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยกุต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้้ครื่องมือทางเทคโนโลยสีารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง  ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 2.9 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6
1 BBAIS913 โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 2.1 3.1, 3.3 4.1, 4.4 5.3 - ข้อมูลที่ได้ศึกษาจากระบบงาน - แบบฟอร์มเสนอหัวข้อและอาจารย์ที่ปรึกษา - แบบฟอร์มการติดต่อเพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูล 1-2 10%
2 1.2, 1.3 2.1, 2.2 3.1, 3.2, 3.3 4.1, 4.4 5.1, 5.3, 5.4 - ความพร้อมในการเสนอโครงร่าง - การนำเสนอโครงร่าง - การจัดทำรายงานโครงร่าง 3 10%
3 1.3 2.1, 2.2, 2.5 3.1, 3.2, 3.4 4.2, 4.4 5.1, 5.4 - การดำเนินงานในการพัฒนาระบบ 4 – 8 10 - 14 40%
4 1.2, 1.3 2.2, 2.5 3.1, 3.4 4.1, 4.4 5.1, 5.3, 5.4 - ความพร้อมในการเสนอความก้าวหน้าโครงงาน - การนำเสนอความก้าวหน้าโครงงาน - การจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงงาน 9 10%
5 1.2, 1.3 2.1, 2.5 3.1, 3.4 4.1, 4.4 5.1, 5.3, 5.4 - ความพร้อมในการเสนอผลสรุปโครงงาน - การนำเสนอความผลสรุปโครงงาน - การจัดทำรายงานผลสรุปโครงงาน 17 20%
6 1.2, 2.5 3.3, 3.5 4.4 5.1, 5.3 - ปรับปรุงโครงงานตามข้อแนะนำ - รูปเล่มรายงาน - ไฟล์โปรแกรมในรูปแบบ CD - การส่งสมุดบันทึกการให้คำปรึกษา 18 10%
คู่มือแนะนำรูปแบบการจัดทำโครงงานระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
- ตัวอย่างรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ย้อนหลัง หลักสูตรระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ - ฐานข้อมูลโครงงานระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
ฐานข้อมูลวิจัยอิเล็กทรอนิกส์   - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยศิลปกร - มหาวิทยาลัยนเรศวร - ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลวิจัยออนไลน์ tdc.thailis.or.th
- การสนทนากลุ่มระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา - การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน - แบบประเมินอาจารย์ และแบบประเมินรายวิชา
- ผลการสอบโครงงาน - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ - การประเมินโดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยหลักสูตร
- สัมมนาการจัดทำโครงงานระบบสารสนเทศ - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- การทวนสอบโดยการจัดประชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาในการจัดทำโครงงาน โดยจัดประชุมในทุกภาคการศึกษา เพื่อปรับปรุงรูปแบบเอกสาร และ การจัดการความรู้ของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหลักสูตร  - มีการตั้งคณะกรรมการในหลักสูตรา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบโครงงาน และมาตรฐานโครงงาน - ลงพื้นที่เพื่อสอบถามความพึงพอใจขององค์กรที่นักศึกษาได้จัดทำโครงงาน
- ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา