ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 1

Interior Architectural Design 1

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทที่พักอาศัย โดยใช้กระบวนการออกแบบและรวบรวมข้อมูล หลักการและองค์ประกอบในการออกแบบหน้าที่ใช้สอย สัดส่วนมนุษย์ และความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน
นำข้อมูลจากการประเมินการสอนโดยนักศึกษา  โดยนำมาปรับปรุงในการสอน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเป็นการพัฒนาความพร้อมด้านการแก้ปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการจัดวางเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคารที่พักอาศัย การจัดเครื่องเรือนและองค์ประกอบของการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมภายใน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านงานสถาปัตยกรรมภายใน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการ ออกแบบสถาปัตยกรรมภายในอาคารประเภทที่พักอาศัย โดยใช้กระบวนการออกแบบและรวบรวมข้อมูล หลักการและองค์ประกอบในการออกแบบ หน้าที่ใช้สอย สัดส่วนมนุษย์ และความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน
อาจารย์ประจำวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียน จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยระบุเวลาไว้ในตารางสอน ประกาศหน้าห้องเรียน โดยแจ้งนักศึกษาในชั่วโมงแรกของสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
บรรยาย เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีลักษณะงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ฝึกปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนดอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องของประสบการณ์การทำงานทางวิชาชีพเพื่อให้ได้เห็นภาพและแนวทางในการประกอบวิชาชีพ

2. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการทำงาน พร้อมมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติทั้งงานที่ต้องทำในสตูดิโอและงานที่ต้องกลับไปทำที่บ้านและนำผลงานหรือรายงานมาส่งตามวันและเวลาที่กำหนดในแต่ละสัปดาห์
3. อาจารย์ผู้สอนทำเอกสารในการ เข้าเรียนและให้นักศึกษา เข้าเรียนโดยกำหนด การเรียกซื่อช่วงต้นคาบโดยให้เวลา 15 นาที นักศึกษาที่มาหลังจากนั้นถือว่า สาย และหากไม่มีการขานซื่อ ถือว่านักศึกษา ขาดการเรียนการกำหนดกิจกรรมการเรียน อาจารย์ผู้สอน กำหนดหัวข้อในการจัดกิจกรรมการเรียน และ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มหรือทำงานด้วยตัวเองและกำหนด การทำงานของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน เพื่อแสดงความรับผิดชอบการทำงานต่อตนเองและเพื่อน ในกลุ่ม อาจารย์ผู้สอนสังเกต การนำเสนอของนักศึกษา แต่ละกลุ่มที่มอบหมาย ซักถาม โดยเปิดโอกาสในนักศึกษา กลุ่มอื่นๆซักถามและอาจารย์ผู้สอน อธิบายเสริม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการเขียนแบบตรงตามมาตรฐานงานสถาปัตยกรรมภายใน
1.3.3   มีการประเมินผลจากผลงานที่นักศึกษาได้นำมาส่งในแต่ละสัปดาห์
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอโครงการที่มอบหมาย
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2.1  บรรยายถึงหลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป 
2.2.2 ฝึกปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในบ้านพักอาศัย ในแต่ละส่วนของบ้านพักอาศัย 
2.2.3 มอบหมายให้ทำงานออกแบบ sketch design and Project  design
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการทำงาน การนเสนอผลงานในชั้นเรียน เป็นการประเมินรายบุคคลตามบทบาทของแต่ละคน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี 
2.3.2   ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในแต่ละสัปดาห์
2.3.3   ประเมินจากการนำเสนอโครงการงานออกแบบที่ได้รับมอบหมาย ปลายภาคเรียน
มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงและทำความเข้าใจอย่างเป็นเหตุ เป็นผล โดยบูรณาการความรู้ หลักการออกแบบ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในบ้านพักอาศัย
3.2.1   อาจารย์ทำการบรรยายในหัวข้อ หลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในประเภทบ้านพักอาศัยทั่วไป ข้อมูลพื้นฐานการออกแบบ พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในในพื้นที่ต่างๆของบ้านพักอาศัย
3.2.2   อาจารย์ทำการบรรยายและมอบหมายให้นักศึกษาคนคว้าศึกษาข้อมูลงานระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในบ้านพักอาศัยทั่วไป
3.2.3  อาจารย์ตัดตามวิธีการทำงาน การออกแบบ การวิเคราะห์ การออกแบบ สถาปัตยกรรมภายใน ในพื้นที่การออกแบบของพื้นที่ต่าง ๆ
3.2.4  มอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการจัดวางผัง ละออกแบบพื้นที่ต่างๆภายในบ้านพักอาศัย 
3.3.1   ประเมินผลจากรายงานและการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และ จากผลงานการออกแบบที่ได้มอบหมายให้ในแต่ละสัปดาห์
3.3.2   ประเมินผลจากการนำเสนอ Project design ปลายภาค
4.1.1  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.2  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1  สอดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ระหว่างการเรียน การสอน
4.2.2  นักศึกษาเสนอโครงการปฏิบัติตามกลุ่มที่คัดเลือกกันเอง
4.3.1  พฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม
 5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
 5.2.1  อธิบายหลักการและยกตัวอย่างการนำเสนองานโดยใช้โปรแกรมนำเสนองานจากคอมพิวเตอร์
             5.3.1  ประเมินจากรายงานและการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42021201 ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมและจริยธรรม 1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2 มีการเขียนแบบตรงตามมาตรฐานงานสถาปัตยกรรมภายใน 3 มีการประเมินผลจากผลงานที่นักศึกษาได้นำมาส่งในแต่ละสัปดาห์ 4 ประเมินผลการนำเสนอโครงการที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 ความรู้ 1 สอบกลางภาค 2 สอบปลายภาค 3 วิธีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน 4 วิธีการสรุปและนำเสนอรายงาน 9 18 ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 ทักษะทางปัญญา 1 ประเมินผลจากรายงานและการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และ จากผลงานการออกแบบที่ได้มอบหมายให้ในแต่ละสัปดาห์ 2 ประเมินผลจากการนำเสนอ Project design ปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ พฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม 5%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารนเทศ ประเมินจากรายงานและการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- INTERIOR DESIGN  ILLUSTRATED
Francis D.K. Ching , Van nostrand reinhold : New york.
- Design your dream home: Interior design ideas for house and home makeovers
Infinite Ideas, Lizzie O'Prey : London.
- การออกแบบเครื่องเรือน
สาคร  สนธโชติ , สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ.
- DESIGNING  FURNITURE
Laura  Tringali , The Taunton Press , Inc Connecticut.
- เขียนแบบช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม
อินทิรา  ศตสุข , สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) : กรุงเทพฯ
- การออกแบบเครื่องเรือนสมัยใหม่
ร.ศ. วิรัตน์  พิชญไพบูลย์ , สำนักพิมพ์จุฬาฯ : กรุงเทพฯ
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
       แบบเครื่องเรือนจากสำนักงานออกแบบ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์ของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ