การผลิตสัตว์ปีก

Poultry Production

- เข้าใจประวัติและความสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศ
- เข้าใจประเภทและการดำเนินงานของธุรกิจการผลิตสัตว์ปีก
- เข้าใจประเภท, พันธุ์และการผสมพันธุ์สัตว์ปีก
- เข้าใจอาหาร โรงเรือน และอุปกรณ์สัตว์ปีก
- มีทักษะในการเลี้ยงสัตว์ปีกระยะต่างๆ
- เข้าใจวิธีการบริหารจัดการฟาร์มสัตว์ปีก
- มีเจตนคติที่ดีต่อวิชาการผลิตสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งก้าวหน้ากว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรเก่า ดังนั้นนักศึกษาในปัจจุบันนอกจากต้องมีความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับสัตว์ปีกแล้ว จะต้องตามทันวิวัฒนาการใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการการผลิตสัตว์ปีก รู้และเข้าใจผลกระทบทั้งโดยตรงและผลกระทบทางอ้อมอันเกิดจากการผลิตสัตว์ปีกที่ใช้วิวัฒนาการและเทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต,หาทางป้องกันและแก้ปัญหาต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญและสภาพการผลิตสัตว์ปีก เศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศประเภทและพันธุ์สัตว์ปีกการคัดเลือกและการผสมพันธุ์การวางผังฟาร์มโรงเรือนและอุปกรณ์อาหารและการให้อาหาร การบริหารและจัดการฟาร์มสัตว์ปีกมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกการจัดการของเสียการสุขาภิบาลและป้องกันโรคพยาธิต่างๆธุรกิจและการตลาดสัตว์ปีก
1 ชม/สัปดาห์ เป็นอย่างน้อย
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ข้อ 1.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.1, 1.1.2 และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
1กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
2.สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน หรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
3.จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เป็นต้น
4.นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบ หรือการลอกการบ้าน หรืองานของผู้อื่น
5.การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้ เกียรติแก่เจ้าของความคิด
การใช้บันทึกการเข้าชั้นเรียน และการส่งงาน ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลาส่งงานตามกำหนดและปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

3.การประเมินผลงาน (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของ
ผู้เรียนว่ามีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ไม่มี
การคัดลอกรายงานของนักศึกษาผู้อื่น
2.1.1มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 2.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 2.1.2 และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
1.บรรยายหลักทางทฤษฎีและสอนปฏิบัติในงานฟาร์มจริง เพื่องสร้างความเข้าใจ
2.มอบหมายงานกลุ่มในการเลี้ยงไก่เนื้อในฟาร์ม พร้อมบันทึกผลการเลี้ยงตลอดจนถึงขั้นตอนจับเชือด ชำแหละซาก เพื่อทำผลิตภัณฑ์ขาย
3.มอบหมายงานรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อนำเสนอแลกเปลี่ยน
1.ข้อสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2.ผลการเลี้ยงไก่เนื้อในฟาร์มและการนำเสนอในรูป power point และเล่มรายงาน
3.คะแนนจากผลการปฎิบัติการทั้งในงานฟาร์มและภาคทฤษฎี
นักศึกษาต้องคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ข้อ 3.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบรอง
สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักศึกษาแสดงความเห็น และหรือระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้

มอบหมายหัวข้อให้รับผิดชอบเป็นรายกลุ่ม
การสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินจากคำตอบ และข้อคิดเห็น การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ข้อสอบ โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ข้อ 4.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 4.1.1, 4.1.3 และ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดทั้งระหว่างนักศึกษาด้วยกันเองและกับบุคคลภายนอก มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มงานตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดเฉพาะเพื่อนที่สนิท กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มอย่างชัดเจน
ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ประเมินผลงาน ความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา จากเอกสารรายงาน และการนำเสนอ ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มและ/หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ

สังเกตพฤติกรรมจากการทำงานกลุ่ม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมจากมี มนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคมที่ดี แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
ให้นักศึกษาสืบค้น โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติม และจัดทำรายงาน การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล

การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูลแล้วให้มีการนำเสนอโดยเลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม
การประเมินผลงานรายบุคคล (เอกสารรายงาน)ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียน

ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะกาวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 23024307 การผลิตสัตว์ปีก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 2.1, 2.4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 และ 17 25% และ 35%
2 1.1, 1.2, 2.3, 3.3 4.1, 4.2 5.1 การค้นคว้า นำเสนอผลงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน สรุปและวิเคราะห์ผลงานกลุ่ม การส่งงานตามมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2, 1.3, 4.1, 4.2 5.1 -การเข้าชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในการเสนอ ความคิดเห็นในชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ มทร.ล้านนาพิษณุโลก ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กรุงเทพโปรดิวส์.2542. การจัดการโรงฟักไข่. เอกสารทางวิชาการบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์,กรุงเทพฯ.
20หน้า
2. เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล.2529. โรคสัตว์ปีก.ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น,ขอนแก่น,279 หน้า.
3. นที นิลนพคุณ.2529. คัพภะวิทยาทางสัตวแพทย์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.245 หน้า.
4. นุกูล เจนประจักษ์.2543. การฟักไข่.โรงพิมพ์เพทพริ้นติ้งเซ็นเตอร์,กรุงเทพฯ.119 หน้า.
5. เบทาโกร.2542. การจัดการโรงฟักไข่. เอกสารทางวิชาการชุดที่7 บริษัทเบทาโกรจำกัด,กรุงเทพฯ.
15หน้า.
6. บุญเสริม ชีวะอิสระกุลและบุญล้อม ชีวะอิสระกุล.2542. พื้นฐานสัตวศาสตร์.ภาควิชาสัตวศาสตร์
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.186 หน้า.
7. ปฐม เลาหเกษตร.2540. การเลี้ยงสัตว์ปีก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะ
เทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.
317 หน้า.
8. วรวิทย์ วนิชาภิชาติ.2531. ไข่และการฟักไข่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
สงขลา.240 หน้า.
9. สุชน ตั้งทวีวัฒน์.2542. การจัดการผลิตสัตว์ปีก. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.287หน้า.
10.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ.2529.ไข่และเนื้อไก่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.382 หน้า.
11.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ,วรรณดา สุจริต,ประทีป ราชแพทยาคม,สุภาพร อิสริโยดม,กระจ่าง วิสุท
ธารมณ์ และบุญธง ศิริพานิช.การเลี้ยงไก่.ภาควิชาสัตวศาสตร์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.337 หน้า.
12.อนุชา แสงโสภณ.2539.การฟักไข่และการจัดการโรงฟัก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.
126หน้า.
13.อาวุธ ตันโช.2538.การผลิตสัตว์ปีก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.256 หน้า.
14.Blakley,J. and D.H.Bade.1979.The Science of Animal Husbandry.Reston Publishing
Company Inc.Reston, Virginis.
15.J. Wiseman, P.C. Gamsworthy.1999. Recent Developments in Poultry Nutrition 2.
Nottingham University Press, Nottingham.342 p.
16. Jull,M.A.Poultry Husbandry. TATA McGraw Hill Publishing Company Ltd. New Delhi.
17. M.Larbier and B.L.Chereq.1994. Nutrition and Feeding of Poultry Nottingham
University Press, Nottingham.305 p.
2.เอกสาร และข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญ
-วารสารของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
-VCD การจัดการโรงฟักไข่ของบริษัทฟาร์ม -คู่มือการจัดการฟาร์มไก่เนื้อและฟาร์มไก่พันธุ์ของบริษัทที่ผลิตสัตว์ปีกครบวงจรในประเทศไทย
-website ที่เกี่ยวกับการฟักไข่, การเจริญของตัวอ่อนไก่และสัตว์ปีกอื่น ๆ ที่สำคัญ
-website ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีก
-
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
จากการจัดกิจกรรมในการนำความคิดเห็นของนักศึกษาโดย
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- การสนทนากลุ่ม, เดี่ยว ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
- แบบประเมินผู้สอน
การประเมินการสอน
- ผลการสอบ
- ผลงาน จากเอกสารรายงานและการนำเสนอทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
- ผลงานจากการทำงานกลุ่มตลอดเทอม(การเลี้ยงสัตว์ปีกที่นักศึกษาสนใจ)
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- คำตอบและข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากการถามตอบปากเปล่า
- ทวนสอบผลประเมินการสอน
- จัดวินัยทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
- สัมมนาจัดการเรียนการสอน
- สุ่มการตรวจสอบข้อสอบ, รายงาน, วิธีการให้คะแนน และการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน