การจัดการตราสินค้า

Brand Management

เพื่อให้นักศึกษาทราบ ความหมายของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า และองค์ประกอบของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า (การรับรู้ในตราสินค้า ภาพพจน์ของตราสินค้า ความภักดีต่อตราสินค้า) การวัดมูลค่าของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า การกำหนดกลยุทธ์ และการวางแผนทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อสร้างคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า
การพัฒนาปรับปรุงรายวิชาจะเน้นถึงความทันสมัยของเนื้อหา การอภิปรายร่วมกัน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอกชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร ระหว่างผู้เรียน / อาจารย์/ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอน มากกว่าการถ่ายทอดจากผู้สอนฝ่ายเดียว ซึ่งรายวิชานี้มีความคาดหมายว่าผู้เรียนจะได้รับในสิ่งต่อไปนี้คือ
1. เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้เหตุผลที่ถูกต้องด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักการใช้ความคิด การวิเคราะห์ การหาเหตุ และการนำไปปฏิบัติได้
3. เพื่อทำให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่พร้อมด้วยวินัย ความตรงต่อเวลา ความมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น การประกอบกิจการงานและการดำรงชีพอย่างมีจริยธรรมคุณธรรม ไม่สร้างปัญหาแก่ผู้อื่นและสังคม
ศึกษาความหมายของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า และองค์ประกอบของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า (การรับรู้ในตราสินค้า ภาพพจน์ของตราสินค้า ความภักดีต่อตราสินค้า) การวัดมูลค่าของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า การกำหนดกลยุทธ์ และการวางแผนทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อสร้างคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า
-   อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่าน Facebook โดยการสร้างกลุ่มเฉพาะรายวิชาเพื่อให้คำปรึกษาเฉพาะกลุ่ม
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ใน มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัP
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษยN
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สอดแทรกจรรยาบรรณทางวิชาชีพในเนื้อหา ปลูกฝังวินัยในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานให้ตรงเวลา มอบหมายงานให้อภิปรายกลุ่ม ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม ตามบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม เน้นการแสดงความคิดเห็นและการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน

           4 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
           5. อธิบายบทลงโทษกรณีที่ทำการทุจริตมรการเข้าสอบโดดยสอดแทรกในเนื่อหาการสอน
1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ ความหมายของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า และองค์ประกอบของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า (การรับรู้ในตราสินค้า ภาพพจน์ของตราสินค้า ความภักดีต่อตราสินค้า) การวัดมูลค่าของคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า การกำหนดกลยุทธ์ และการวางแผนทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อสร้างคุณค่าโดยรวมของตราสินค้า  การออกแบบและการตั้งชื่อแบรนด์ ตลอดจนการบริหารตราสินค้าภายใต้ภาวะวิกฤติ การสร้างความจงรักภักดีในตราสินค้า ผูกพันในตราสินค้า และผลของการลอกเลียนแบบแบรนด์
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการสืบค้บค้นข้อมูล การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และกล้าแสดงออก
1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2   อภิปรายกลุ่ม
3   วิเคราะห์กรณีศึกษา โดยการใช้องค์ความรู้จากเนื้อหาทางทฤษฎีมาบูรณาการกับจากการค้นคว้ามาประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำรายงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม
4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
1. สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษา และการประยุต์ใช้แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับตราสินค้า
2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การศึกษาแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ  กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก  หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
3   การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3.   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อ เทคโนโลยี โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 12023415 การจัดการตราสินค้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน 1-17 10%
2 ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค งานที่มอบหมาย แบบฝึกหัด 9 18 1-17 30% 30% 20%
3 ทักษะทางปัญญา วิเคราะห์กรณีศึกษา การนำเสนอรายงานกลุ่ม 2-16 รวมอยู่ในกิจกรรมที่ 3
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตุพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สังเกตงานที่มอบหมาย การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 17 รวมอยู่ในกิจกรรมที่ 3
5 ทักษะการวิเคราะ์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใ้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูล ความสมบูรณ์ของผลงานที่มอบหมาย 11-16 รวมอยู่ในกิจกรรมที่ 3
- Brand Portfolio /ผศ.วงหทัย ตันชีวะวงศ์
- การบริหารตราสินค้าเชิงกลยุทธ์ และการสร้างคุณค่าตราสินค้า. (2554). ศิริวรรณ เสรีรัตน์.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ