จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม

Industrial Microbiology

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความรู้พื้นฐานทางจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม และลงมือปฏิบัติการด้านเทคนิคพื้นฐานจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถคัดแยก คัดเลือก และเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่มาจากแหล่งต่างๆ ได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ผลผลิตโดยวิธีการต่างๆ ได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเตรียม คัดเลือกอาหารเลี้ยงเชื้อให้เหมาะสมกับชนิดของจุลินทรีย์ได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถคำนวณและลงมือปฏิบัติการสเตอริไรส์ได้ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถออกแบบถังหมักแบบใบพัดกวนได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการเก็บเกี่ยวและการทำบริสุทธิ์ผลผลิตได้ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานถึงจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้
เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ในสถานประกอบการ และนำการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเข้ามาใช้มากขึ้น รวมทั้งจัดทำปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละชั่วโมงสอนด้วย
ศึก ษ า เ กี่ย ว กับ จุลิน ท รีย์เ พื่อ ก า ร อุต ส า ห ก ร ร ม ห ลัก ก า ร คัด เ ลือ กการปรับปรุงและ   การเก็บสายพันธุ์จุลินทรีย์ กระบวนการต่างๆในการผลิตผลิตภัณฑ์ปฐมภูมิ ผลิตภัณฑ์ทุติยภูมิ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ได้จากจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ แบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา สาหร่าย ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการโรงงานต้นแบบและระดับอุตสาหกรรม ทำปฏิบัติการตามหัวเรื่องซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและทัศนศึกษานอกสถานที่
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม    
วิธีการสอน 
เน้นให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และแต่งกายให้ตรงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฯ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในระหว่างการเรียนการสอน  
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากการกระทำทุจริตในงานที่ได้รับมอบหมาย และการสอบ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
นักศึกษาต้องทราบความสำคัญของจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ขั้นตอนในกระบวนการหมัก การแยกและการเก็บรักษาจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ผลผลิต อาหารเลี้ยงเชื้อ การสเตอริไรส์ การเตรียมเชื้อเริ่มต้น การออกแบบถังหมัก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการทำให้บริสุทธิ์
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน (Project – Based Learning) และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Project – based Learning
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาทางอาหารไปใช้ในด้านวิชาการและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา    
3.2 วิธีการสอน
3.2.1   มอบให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ให้ และนำเสนอผลการแก้ไขหน้าชั้นเรียน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์สถานการณ์ได้ทั้งสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ  
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ หรือข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.3.2   วัดผลจากการประเมินการแก้ไขโจทย์  การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
     นักศึกษาต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคล และกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยอาจารย์ผู้สอนต้องแนะการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
4.1.1   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.2   สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้โจทย์ปัญหา และให้ค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบผลสำเร็จในอาชีพ
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2   ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น   
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
       นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา และพัฒนาทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม  
5.2 วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   การนำเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.3.2   ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น   
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองได้ และปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนเอง โดยนักศึกษาต้องพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายให้พร้อมต่อการปฏิบัติงาน
6.2.1   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษา
6.2.2   การฝึกปฏิบัติการทำงานระดับห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้เบื้องต้นทางจุลชีววิทยาสำหรับอุตสาหกรรม ทดสอบย่อย 3,12 20%
2 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมขั้น up stream process สอบกลางภาค 9 15%
3 ความรู้เกี่ยวกับจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม Downstream processing สอบปลายภาคภาคทฤษฎี 18 15%
4 ทักษะฝีมือทางจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม สอบปลายภาคภาคปฏิบัติ 17 10
5 การกำหนดโจทย์วิจัยและกระบวนการทำวิจัย รายงานโครงการวิจัย 16 15%
6 ทักษะการทดลองทางจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม รายงานบทปฏิบัติการ 2-8 15%
7 การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ความตรงต่อเวลา งานกลุ่ม 1-17 10%
สมใจ  ศิริโภค. 2555. จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. หน้า 1-201.
วราวุฒิ ครูส่ง. จุลชีววิทยาในกระบวนการแปรรูปอาหาร. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร                              คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
วีรานุช หลางทอง. 2552. คู่มือตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาทางอาหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 184 หน้า.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ