ภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำ

Plant Climate and Water Management

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีความรู้และทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำ
1.2 สามารถนำความรู้และทักษะด้านภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตพืชได้
1.3 สามารถวิเคราะห์การใช้น้ำของพืชและวางแผนการจัดการชลประทานในการผลิตพืชได้
1.4 มีความสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
1.5 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำ อันเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำไปใช้ในการผลิตพืช จึงได้มีการปรับปรุงรายวิชาโดยมีการนำเอาผลงานวิจัยใหม่ๆ มาเพิ่มเติมในเนื้อหาของรายวิชา ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการพัฒนาด้านการผลิตพืช
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิอากาศและน้ำในการผลิตพืช ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศ ดิน น้ำและพืช ระบบชลประทานในการผลิตพืชและการประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำในการผลิตพืช
The study and practice of climate and water in crops production, the relationship between climate, soil, water and plants, irrigation systems and evaluation of water application efficiency in crops production.
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยนักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์ผู้สอนเพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำได้ทุกวันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ณ ห้องพักอาจารย์ หรือเวลาอื่น ๆ ที่พบอาจารย์อยู่ในห้องพักอาจารย์
1) มีคุณธรรมและจริยธรรม
2) มีจรรยาบรรณ
สอนแบบบรรยาย โดย
- สอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
-กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
ใช้วิธีการสังเกต จากพฤติกรรม
- การเข้าเรียนตรงเวลา
- การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
- ไม่ทุจริตในการสอบ
- การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
1) มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ
2) มีความรอบรู้
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
- มอบหมายนักศึกษาไปค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศ ดิน น้ำ และพืช; ระบบชลประทานและการออกแบบ
และจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2. การสอนแบบบรรยาย
3. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)
4. การสอนในห้องปฏิบัติการ
1. การนำเสนองาน
- ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
2. การทดสอบ
- โดยทำการทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
3. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนในการตอบคำถาม
4. การปฏิบัติการตามบทปฏิบัติการ
5. การรายงานผลการปฏิบัติการ
1) สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ
2) สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3) ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้
1. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
- การออกแบบระบบชลประทาน
1. ประเมินจากผลงานการออกแบบระบบชลประทาน
1) ภาวะผู้นำ
2) มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
- มอบหมายนักศึกษาไปค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศ ดิน น้ำ และพืช; ระบบชลประทานและการออกแบบ
และจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียนเป็นกลุ่ม
2. การสอนในห้องปฏิบัติการ โดยสอนภาคปฏิบัติและมอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติตามบทปฏิบัติการเป็นกลุ่มและจัดทำรายงาน
1.รายงานการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศ ดิน น้ำ และพืช; ระบบชลประทานและการออกแบบ
1) มีทักษะการสื่อสาร
2) มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
- การออกแบบระบบชลประทาน
2. แนะนำและสาธิตการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
3. การนำเสนองานด้วยวาจาและ PowerPoint
1. ประเมินจากผลงานการออกแบบระบบชลประทาน
2. การนำเสนองาน
      ประเมินความเหมาะสมและถูกต้องของ
        - สื่อที่ใช้
        - เนื้อหาที่นำเสนอ  
        - ภาษาที่ใช้          
        - การตอบคำถาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG112 ภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) - การเข้าชั้นเรียน - การส่งรายงานตรงเวลา - การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด 1-17 10 %
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 1. การทดสอบ - โดยทำการทดสอบย่อย - สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนในการตอบคำถาม 3. การปฏิบัติการตามบทปฏิบัติการและรายงาน 1. การทดสอบ - โดยทำการทดสอบย่อย สัปดาห์ที่ 2, 6, 11, 14 - สอบกลางภาค และสอบปลายภาค สัปาดห์ที่ 9, 18 2. สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในชั้นเรียนในการตอบคำถาม ประเมินทุกสัปดาห์ 3. การปฏิบัติการตามบทปฏิบัติการและรายงาน ประเมินทุกสัปดาห์ 60 %
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง - ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของโครงงานพิเศษ 2.คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 3. รายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติการ 17 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง - ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของโครงงานพิเศษ 2.คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 3. รายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติการ 17 5 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) 1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง - ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของโครงงานพิเศษ 2.คุณภาพงานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 3. รายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติการ 17 5%
พิชัย  สุรพรไพบูลย์.  2561.  เอกสารประกอบการสอนภูมิอากาศพืชและการจัดการน้ำ.  สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.
เกรียงศักดิ์ สุวรรณโพธิ์ศรี.  2527.  การให้น้ำและการระบายน้ำ.  ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
เจษฎา แก้วกัลยา.  2533.  การวางแผนและออกแบบระบบชลประทานในระดับไร่นา.  ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
มัตติกา พนมธรนิจกุล.  2552.  การจัดการดินและน้ำเพื่อระบบการเกษตรที่ยั่งยืน.  ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วราวุธ วุฒิวณิชย์.  2536.  การออกแบบการชลประทานบนผิวดิน.  ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
วราวุธ วุฒิวณิชย์.  2538.  การออกแบบระบบชลประทานในระดับไร่นา.  ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
วิบูลย์ บุญยธโรกุล.  2524.  หลักการชลประทาน.  ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อภิชาติ อนุกูลอำไพ วิบูลย์ บุญยธโรกุล วราวุธ วุฒิวณิชย์ โกวิทย์ ท้วมเสงี่ยม และ มนตรี ค้ำชู.  2524. คู่มือการชลประทานระดับไร่นา. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย, ปทุมธานี.
 
บุญมา  ป้านประดิษฐ์.  2546.  หลักการชลประทาน.  แหล่งข้อมูล : http://irre.ku.ac.th/v5/pdf/books/boonma/IrrThe.pdf.
Allen, R.G., L.S. Pereira, D. Raes and M. Smith.  2006.  FAO Irrigation and Drainage Paper No. 56 : Crop Evapotranspiration (guidelines for computing crop water requirements). .  Available Source: https://www.kimberly.uidaho.edu/water/fao56/fao56.pdf
Phocaides, A.  2007.  HANDBOOK ON PRESSURIZED IRRIGATION TECHNIQUES.  Available Source: http://www.fao.org/3/a-a1336e.pdf.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยฯลฯ
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์  ในสาขาวิชา หรือ การสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดเมื่อสอนจบภาคการศึกษา นอกจากนี้สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  และมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
 สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป