การจัดการการจัดซื้อสำหรับธุรกิจค้าปลีก

Purchasing Management for Retail Business

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดซื้อ การจัดรูปหน่วยงาน นโยบายการจัดซื้อสำหรับธุรกิจค้าปลีก การกำหนดจำนวนที่จะจัดซื้อ การพิจารณาจังหวะและช่วงเวลาในการซื้อ การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ การเลือกหาแหล่วงขาย กลยุทธ์การเจราจาต่อรองในงานจัดซื้อ วิธีการจัดซื้อแบบต่าง ๆ นโยบายการผลิตหรือซื้อ การควบคุมและการจัดหาทุนในการซื้อ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในระบบการจัดการการจัดซื้อสำหรับธุรกิจค้าปลีก รวมถึงการเรียนรู้บทบาท และความสำคัญของการจัดซื้อที่ทำให้มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในโลกของธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับการจัดซื้อ หลักการจัดซื้อที่ถูกต้อง ขั้นตอน นโยบาย และวิธีการในการจัดซื้อ การพัฒนากลยุทธ์ในการจัดซื้อสำหรับธุรกิจค้าปลีก การกำหนดจำนวนในการสั่งซื้อที่ประหยัด การเลือกและประเมินผู้ขายปัจจัยการผลิต ความสำคัญของการจัดซื้อในห่วงโซ่อุปทาน การเจรจาต่อรอง การจัดการสัญญาจัดซื้อ ตลอดจนการประเมินผลการปฏิบัติงานในการจัดซื้อ
1 ชั่วโมง
มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนักรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
ปลูกฝังให้นักศึกษารู้ถึงความพอเพียง มีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคมส่วนรวม เช่น รวมกันทำกิจกรรมเป็นทีม รวมถึงสร้างจิตสำนักในการรักสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการปลูกป่า
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การรับผิดชอบส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใข้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้จัดทำรายงานกลุ่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
การสอบกลางภาคและปลายภาค การค้นคว้าและนำเสนอรายงาน
สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
เน้นให้นักศึกษาศึกษาในรูปแบบ WiL
การจัดทำรายงานและการนำเสอนรายงาน
มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ มีความสามารถในการประสานงานการมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง มีความสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและาษาต่างประเทศ
ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ฝึกฝนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินจากพฤติกรรมกลุ่ม การจัดทำรายงานกลุ่มและการนำเสนอ รวมถึงการศึกษารูปแบบ WiL
สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
สอดแทรกความรู้และส่งเสริมให้นำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินผลจากงานที่มอบหมายและการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพันาตนเอง ชุมชม และสังคมได้อย๋างถูกต้อง
ให้นักศึกษานำเอาความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการในการทำงานหรือสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ ในรูปแบบของ WiL
พฤติกรรมที่แสดงออกจากการทำงานในสถานประกอบการณ์หรือสหกิจศึกษาในรูปแบบของ WiL 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1 - 7 สอบกลางภาค 9 30%
2 บทที่ 8 - 12 สอบปลายภาค 17 30%
3 การจัดทำรายงาน งานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอรายงาน การจัดทำรายงาน งานที่ได้รับอบหมาย การนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการเรียน 30%
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม จิตพิสัยเกี่ยวกับระเบียบวินัย ตลอดภารเรียน 10%
คำนาย อภิปัชญาสกุล. 2558. การบริหารการจัดซื้อ. โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ.
สุชาติ ศุภมงคล. 2553. การบริหารการจัดซื้อและคลังพัสดุ. ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
แบบประเมินผู้สอน ประเมินรายวิชา และข้อเสนอแนะจากการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
3.1 การเชิญวิทยากรจาก BU ในกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีความร่วมมือมาให้ความรู้เพิ่มเติม
3.2 การประยุกต์ระบบการจัดซื้อจริงใน BU  ในกลุ่มเซ็นทรัล กับวิชาที่สอน
3.3 การวิจัยในและนอกห้องเรียน
ยังไม่มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิของนักศึกษา
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี  เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับมุมมองใหม่ ๆ มากขึ้น