มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ

Human Relations in Business

1. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการมนุษยสัมพันธ์ในการประกอบธุรกิจ
2. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
3. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติและความแตกต่างของมนุษย์
4. เข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงตนเองเพื่อมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
5. เข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกับมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
6. เข้าใจเกี่ยวกับการจูงใจ การทำงานเป็นทีม ตลอดจนกลุ่มและภาวะผู้นำ
7. เข้าใจเกี่ยวกับการนำหลักพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
8. สามารถประยุกต์ความรู้ในการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจได้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการจัดการ  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ  เนื่องจากทฤษฎีหรือแนวคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ นั้นมีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจ เพื่อที่จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต
 
 ศึกษาถึงความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับหลักการมนุษยสัมพันธ์ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ ธรรมชาติและความแตกต่างของมนุษย์ การศึกษาและปรับปรุงตนเองเพื่อมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ การติดต่อสื่อสารกับมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ การจูงใจ การทำงานเป็นทีม กลุ่มภาวะผู้นำ พุทธศาสนากับมนุษยสัมพันธ์ ตลอดจนกลวิธีการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
- อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Social network เช่น ตั้งกลุ่ม Facebook รายวิชามนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพื่อให้คำปรึกษา สั่งงาน และส่งงาน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1    มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.1.2    มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
1.1.3    มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4    มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5    มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.1.6    มีความสามารถในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมได้
 
1.2.1    บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในสังคมโดยฉพาะทางด้านธุรกิจ
1.2.2    อภิปรายกลุ่ม
1.2.3    กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.5   ประเมินผลจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในห้องเรียนและชุมชน
นักศึกษาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับหลักการมนุษยสัมพันธ์ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ ธรรมชาติและความแตกต่างของมนุษย์ การศึกษาและปรับปรุงตนเองเพื่อมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ การติดต่อสื่อสารกับมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ การจูงใจ การทำงานเป็นทีม กลุ่มภาวะผู้นำ พุทธศาสนากับมนุษยสัมพันธ์ ตลอดจนกลวิธีการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการทำกิจกรรมส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์นอกห้องเรียน มีการนำผลจากการปฏิบัติกิจจมมาสรุปและนำเสนอ
 
          2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
          2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
          2.3.3   ประเมินจากการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกห้องเรียน
3.1.1    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2    สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3    สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.4    มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานหรือกรณีศึกษาที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา การบริหารงานที่เกี่ยวกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ทางธุรกิจ
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางด้านมนุษยสัมพันธ์ในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
4.1.1   มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพ  อันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2   มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่แลคะวามรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3   มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอดรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4    มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น  การอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา การทำสมุดทำความดี การทำสมุดส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมการออม กิจกรรมทำแฟ้มสะสมผลงาน
4.2.3    การทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมปฏิบัติธรรม กิจกรรมการทำงานเป็นทีม กิจกรรมนันทนาการ
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1    ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2   สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3   สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4    สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเรียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5   สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5.1.6   ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7    ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ทางด้านบริหารธุรกิจ จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-5 บทที่ 6-9 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 จากกิจกรรมเสริมที่มอบหมาย วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำกิจกรรมนอกห้องเรียน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 .1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ราเชนทร์  ชูศรี.2550.มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  เชียงราย .
วารสาร แม๊กกาซีน หนังสือพิมพ์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
-  สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน  เพื่อระดมความคิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา  ปัญหา  และการสรุปประเด็นความคิด
-   ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอ  การทำงานกลุ่ม 
-   ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน และประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- ประเมินจากการร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม  และการนำเสนอผลงานการวิเคราะห์ของนักศึกษา
การสอบทดย่อย  การสอบกลางภาค  และการสอบปลายภาค
   -  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
   -  ปรับปรุงเนื้อหา  และตัวอย่างให้ทันสมัยอยู่เสมอ
   -  ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอการทำวิจัยใน/นอกชั้นเรียน
มีการตรวจแบบฝึกหัด  ตรวจทดสอบย่อย  ตรวจข้อสอบ  และร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์ มีการวัดความรู้นักศึกษา  และแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนน  การสอบเก็บคะแนนได้ การทวนสอบการให้คะแนน  จากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
ปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยทุกปี มีการปรับปรุง  ตามข้อเสนอแนะผลการสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชา