ระบบไฟฟ้ากำลัง

Electric Power System

1. เข้าใจโครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง
2. เข้าใจวงจรกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ
3. เข้าใจระบบต่อหน่วย
4. เข้าใจแบบจำลองและคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
5. เข้าใจแบบจำลองและคุณลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
6. เข้าใจแบบจำลองและพารามิเตอร์สายส่งไฟฟ้า
7. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง
             8. เห็นความสำคัญของระบบไฟฟ้ากำลัง
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง
     ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง วงจรกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบต่อหน่วย แบบจำลองและคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  แบบจำลองและคุณลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายส่งไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายเคเบิล พื้นฐานของการไหลกำลังไฟฟ้า และการคำนวณความผิดพร่องทางไฟฟ้า
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1    ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2    มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.1.4    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรม
1.2.1    ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบ
1.2.2    ฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.3    สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนรายวิชา
1.2.4    จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น บำเพ็ญประโยชน์เกี่ยวกับรายวิชาที่ศึกษา
1.3.1    ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2    ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม
1.3.3    ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมพื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้กับงานเกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3    วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1    แบบบรรยาย/อภิปรายหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นหลักการและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ตามสถานการณ์ปัจจุบันที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2.2.3    เรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการยกตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง
2.2.4    เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.3.1    การทดสอบย่อย กลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2    ประเมินจากฝึกปฏิบัติงานในห้องทดลองและภาคสนาม
2.3.3    ประเมินจากการนาเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
3.1.1    มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2    สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3    มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1    กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
3.2.2    การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน ในรูปแบบ Problem – Based Learning
3.2.3    ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.1    ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน
3.3.2    การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
3.3.3    ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา
3.3.4    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1    สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2    สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
4.1.3    สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4    รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1    จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เรียนในวิชาเรียนและการนำเสนอข้อมูล
4.2.2    มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี
4.2.3    การนำเสนอรายงาน และการซักถาม-ตอบคำถาม
4.3.1    ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2    ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของ
4.3.3    ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการระหว่างการเข้าร่วม และความสนใจ
5.1.1    มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2    มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3    สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2.1    จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง
5.2.2    นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคจากการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.3    ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1    ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2    ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือการอภิปรายที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3    สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.4, 2.1-2.5, 3.1-3.5 4.1-4.2, 5.1-5.4, 6.1-6.2 ทดสอบในแต่ละหน่วยเรียน ตลอดภาคการศึกษา 70%
2 1.1-1.4, 2.1-2.5, 3.1-3.5 4.1-4.2, 5.1-5.4, 6.1-6.2 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.4, 3.1-3.5 4.1-4.2, การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วันไชย  คำเสน. ระบบไฟฟ้ากำลัง. สยามพิมพ์นานา เชียงใหม่, 2559.
ชวลิต  ดำรงรัตน์.  การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เล่ม 1.  กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2533.
ชำนาญ  ห่อเกียรติ. การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง. จรัสสนิทวงศ์ : กรุงเทพฯ, 2550
เชวศักดิ์ รักเป็นไทย. การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง.  มหาวิทยาลัยพะเยา :
คณะวิศวกรรมศาสตร์, 2550
โตศักดิ์  ทัศนานุตริยะ.  การผลิต การส่งและการจ่ายไฟฟ้า.  กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2540.
ธนวัฒน์ ฉลาดสกุล.  การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น) : กรุงเทพฯ, 2547
บัณฑิต เอื้ออาภรณ์. การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลังเบื้องต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ, 2547
มงคล  ทองสงคราม.  การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า.  กรุงเทพ : รามาการพิมพ์, 2541.
ไวพจน์  ศรีธัญ.  การส่งและจ่ายไฟฟ้า.  กรุงเทพ : สกายบุ๊กส์, 2546.
A. J. Wood and B. F. Wollenberg,  Power Generation Operation and Control. 2nded. New York : John Wiley & Sons, 1996.
Charles A. Gross.  Power System Analysis. New York : John Wiley & Sons, c1996.
H. Saadat.  Power System Analysis.  New York : McGraw-Hill, 1999.
J. J. Grainger and W. D. Stevenson.  Power System Analysis.  New Jersey : McGraw-Hill, c1994.
W. D. Stevenson.  Element of Power System Analysis. New Jersey : McGraw-Hill, c1982.
-
-
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา  ภาควิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน  และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งภาควิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของภาควิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าภาควิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป