ความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Safety

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าถึงความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงาน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทางไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดอัคคีภัยที่มีต้นเหตุจากไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะทำงานทางไฟฟ้า โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ประสบอุบัติเหตุที่เกิดจากไฟฟ้า

7. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงเป้าหมายของความปลอดภัยทางไฟฟ้า
เพื่อให้เนื้อหาหลักสูตรใหม่มีความสอดคล้องกับสาระสำคัญในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.2553 หรือเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มาตรฐานของสภาวิศวกร สมาคมระดับชาติ และนานาชาติ อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านในการนำความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์สำหรับงานอาชีวอนามัย ได้แก่ ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรม ไฟฟ้า เพื่อนำมามาประยุกต์ใช้ในงานด้านความปลอดภัย และสามารถนำไปสู่การป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากสภาพการทำงานได้ รวมถึงวิธีการเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาและวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-Learning) เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย และมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า อันตรายจากไฟฟ้า สาเหตุ และการบาดเจ็บจากไฟฟ้า ไฟฟ้าดูด แรงดันย่างก้าว และแรงดันสัมผัส การปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต ประกายไฟจากอาร์ก การแยกโดดทางไฟฟ้า การต่อลงดิน การต่อเชื่อม มาตรการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกันวงจร การทดสอบ การตรวจสอบ และบำรุงรักษาด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้า ข้อแนะนำในการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ แรงแรงดันสูงเพื่อความปลอดภัย
ให้คำปรึกษาผ่าน Social Media

- ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ทำการนัดหมาย)
1.1.1    ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2    มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.1.4    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรม
1.2.1    ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบ
1.2.2    ฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.3    สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนรายวิชา
1.2.4    จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น บำเพ็ญประโยชน์เกี่ยวกับรายวิชาที่ศึกษา
1.3.1    ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2    ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม
1.3.3    ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมพื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้กับงานเกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3    วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1    แบบบรรยาย/อภิปรายหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นหลักการและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ตามสถานการณ์ปัจจุบันที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2.2.3    เรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการยกตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง
2.2.4    เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.3.1    การทดสอบย่อย กลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2    ประเมินจากฝึกปฏิบัติงานในห้องทดลองและภาคสนาม
2.3.3    ประเมินจากการนาเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
3.1.1    มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2    สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3    มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1    กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
3.2.2    การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน ในรูปแบบ Problem – Based Learning
3.2.3    ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.1    ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน
3.3.2    การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
3.3.3    ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา
3.3.4    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1    สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2    สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
4.1.3    สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4    รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1    จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เรียนในวิชาเรียนและการนำเสนอข้อมูล
4.2.2    มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี
4.2.3    การนำเสนอรายงาน และการซักถาม-ตอบคำถาม
4.3.1    ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2    ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของ
4.3.3    ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการระหว่างการเข้าร่วม และความสนใจ
5.1.1    มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2    มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3    สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2.1    จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง
5.2.2    นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคจากการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.3    ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1    ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2    ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือการอภิปรายที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3    สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 18 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (พ.ศ. 2557), คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, วสท. มาตรฐานวิศวกรรมไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2559, ISBN 978-974-7197-93-8 ความปลอดภัยในงานอาชีพ, บุญธรรม ภัทราจารุกุล, ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ., ISBN  978-616-0813-99-5   "Safety" คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน, ณัฐฐินีย์, สนพ, ISBN 978-974-2351-90-8 Electric Safety: Practice and Standards, Mohamed A. El-Sharkawi, 1st Edition, Published March 30, 2017, ISBN 978-113-8073-99-9 Electrical Safety: Systems, Sustainability, and Stewardship, Martha J. Boss, Gayle Nicoll, 1st Edition, Published October 29, 2014, ISBN 978-148-2230-17-8
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่ม การอภิปรายเนื้อหาเชิงทฤษฎีและปฏิบัติระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

1.3 ข้อเสนอแนะผ่านสังคมออนไลน์ (Social Network) โดยอาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนบางหัวข้อบรรยาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือภาคอุตสาหกรรม