การเขียนเบื้องต้น

Introduction to Writing

 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียน เน้นการจัดระบบความคิด และเรียบเรียงเป็นข้อเขียนระดับประโยค และย่อหน้าชนิดต่างๆ ที่มีความต่อเนื่องของเนื้อหาและมีเอกภาพ โดยใช้ภาษาที่สละสลวย เหมาะสมกับบริบท
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียน เน้นการจัดระบบความคิด และเรียบเรียงเป็นข้อเขียนระดับประโยค และย่อหน้าชนิดต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานของรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษากระบวนการเขียน เน้นการจัดระบบความคิด และเรียบเรียงเป็นข้อเขียนระดับประโยค และย่อหน้าชนิดต่างๆ ที่มีความต่อเนื่องของเนื้อหาและมีเอกภาพ โดยใช้ภาษาที่สละสลวย เหมาะสมกับบริบท
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 ข้อ 1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคณธรรม จริยธรรม
ข้อ 2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ข้อ 3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อ
เวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ข้อ 4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
 
1.2 วิธีการสอน
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
 
1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1 ข้อ 1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
ในทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเขียน การจัดระบบความคิด โครงสร้าง
ของข้อความระดับประโยค และระดับย่อหน้าประเภทต่าง ๆ
ในทางปฏิบัติ เน้นความสามารถในการเรียบเรียงความคิดเป็นข้อความ และการเขียน
ข้อความระดับประโยคและระดับย่อหน้าประเภทต่าง ๆ
ข้อ 2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
ข้อ 3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการสอน
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กันในชั้นเรียน
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการจัดระบบความคิด การเขียนข้อความระดับประโยคและย่อหน้า
วิธีการประเมินผล
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 การฝึกปฏิบัติการเขียนความระดับต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
 
3.1 ข้อ 1 ) พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ
ข้อ 2 ) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะด้านการนำความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเขียนและการ
จัดระบบความคิด รวมถึงการเขียนข้อความระดับประโยคและระดับย่อหน้าประเภท
ต่าง ๆ มาใช้ในการสื่อสารอย่างเป็นระบบ
ข้อ 3 ) มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
และวัฒนธรรมสากลอย่างเหมาะสม
วิธีการสอน
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกจัดระบบความคิดและเขียนข้อความทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
3.2.2 ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแสดงความคิดเห็นตามสถานการณ์เฉพาะที่กำหนด จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
วิธีการประเมินผล
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
 
4.1 ข้อ1 ) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดีทั้งระหว่างบุคคลใน
วัฒนธรรมเดียวกันและต่างวัฒนธรรม
ข้อ 2 ) มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม
ข้อ 3 )สามารถในการทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่สำคัญ
วิธีการสอน
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกการอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ
วิธีการประเมินผล
4.3.1 ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
5.1 ข้อ 1 ) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 ) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ข้อ 3 )ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและ
สอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
ดูจากผลการศึกษาจากเว็บไซต์ที่มอบหมาย ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธืระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.3 1.1 1.4 3.2 3.3 4.3 5.3
1 13031228 การเขียนเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 2.1, 3.2 ทดสอบย่อย และงานมอบหมายฝึกปฏิบัติการเขียนความระดับต่างๆ 2, 4, 6, 8, 11, 13, 15, 16 40%
3 2.1, 2.3 3.1, 3.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 50%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนเบื้องต้น
Gargagliano, A. & Kelly, C. 2004. Writing Within: Introduction. NY: Cambridge University Press เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและแบบฝึกหัดออนไลน์
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์