การทำเหมืองข้อมูล

Data Mining

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการของการทำงานเหมืองข้อมูล แนวคิดของเทคนิคต่างๆ ในการทำเหมืองข้อมูล และการนำเหมืองข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในระบบธุรกิจ
เพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัยเป็นปัจจุบัน และตรงกับความต้องการของระบบธุรกิจ และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ความเข้าใจในการทำเหมืองข้อมูล มีการปรับตัวอย่างให้เหมาะสมให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการทำเหมืองข้อมูลที่มีความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำเหมืองข้อมูล ประเภทของข้อมูลที่ใช้การทำเหมืองข้อมูลได้ คลังข้อมูล สถาปัตยกรรมของระบบการทำเหมืองข้อมูล หน้าที่การทำงานของการทำเหมืองข้อมูล การเตรียมข้อมูล การบรรยายลักษณะของข้อมูลการค้นหากฎของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล การจำแนกประเภทข้อมูล การค้นหากฎของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล การจำแนกประเภทข้อมูลและการทำนาย การจัดกลุ่มข้อมูล การทำเหมืองข้อมูลกับข้อมูลที่มีความซับซ้อน การประยุกต์ใช้เหมืองข้อมูล แนวโน้ม การนำเหมืองข้อมูลไปใช้
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลสงวนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงเวลา ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทำเหมืองข้อมูล ประยุกต์ใช้หลักการทำเหมืองข้อมูลนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ แสวงหาความรู้แหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบเหมืองข้อมูล
เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติตามใบงาน ฝึกปฏิบัติค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหมืองข้อมูล
สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินจากผลงานการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า
สามารถคิดวิเคราะห์ตามหลักการทำเหมืองข้อมูล สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกทักษะการคิดเกี่ยวกับเหมืองข้อมูล จัดทำแบบฝึกหัดตามใบงานเพื่อฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทำเหมืองข้อมูล
สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ตามเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล วัดผลจากการส่งงานและนำเสนอผลงานตามกำหนด
พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่างๆ นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย สอดแทรกความรับผิดชอบทีได้รับมอบหมาย
ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 2 บทที่ 1, 3 บทที่ 4 บทที่ 4-5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 6 12 17 10% 30% 10% 30%
2 ทุกหน่วย การเรียนรู้ วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 ทุกหน่วย การเรียนรู้ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ไกรศักดิ์ เกษร, พิมพ์)ครั้งที่ 1, “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ,” พิษณุโลก: โฟกัสพริ้นติ้ง, 2555.  เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา, พิมพ์ครั้งที่ 2, “An Introduction to Data Mining Techniques Thai version”, เอเชียดิจตอลการพิมพ์) : กรุงเทพฯ, 2557.  เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา, พิมพ์ครั้งที่ 1, “คู่มือการใชDงาน Weka Explorer เบื้องต้น ,” เอเชีย  ดิจตอลการพิมพ์) : กรุงเทพฯ, 2556.
WEKA 3.8.2 Microsoft Excel
William Wagner and Michael Zubey, Customer Relationship Management, Thomson, 2006.  Jiawei Han and Micheline Kamber, Data Mining: Concepts and Techniques, Morgan Kaufmann, 2006.  Ian H. Witten and Eibe Frank, Data Mining: Practical Machine Learning Tools and Applications, Morgan Kaufmann, 2005.
การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
สังเกตการณ์สอน ประเมินผลการเรียนของนักศึกษา
สัมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน ปรับปรุงเนื้อหาและกรณีศึกษาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ