อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม

Tourism and Hotel Industry

    ๑. เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในประโยชน์และความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม แรงจูงใจในการท่องเที่ยวตลอดจนองค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการวางแผนในการพัฒนาการท่องเที่ยว 
     ๒. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวและการโรงแรมในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคต กระแสการท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยม
       ๒.๑ เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ๒๕๕๕)
       ๒.๒ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการโรงแรมในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลง แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมในอนาคต
        ศึกษาเกี่ยวกับนิยาม วิวัฒนาการ ขอบเขตการท่องเที่ยว ประโยชน์และความสำคัญของอุตสากรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม องค์ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น อาหาร ที่พัก การขนส่ง และการจัดการประชุม โรงแรมและประเภทของโรงแรมและแผนกต่าง ๆ ภายในโรงแรม ทรัพยากรและแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว ผลกระทบของการท่องเที่ยว หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นโยบายและบทบาทของภาครัฐและเอกชน แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมในอนาคต
๓.๑ อาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษา ผ่านทางป้ายประกาศของสาขาวิชาฯ และผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
๓.๒ อาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
๑) มีความซื่อสัตย์ สุจริตและสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรมและความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับด้วยจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
๒) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
๓) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นสมาชิกที่ดีและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
๔) มีวินัยในการทำงาน มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและมีภาวะผู้นำ
- บรรยาย
- มอบหมายงานบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล/โครงงาน/รายงาน)
- ฝึกการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
- การเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิง
๑) มีความรู้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก  
๒) มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
๓) มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ในงานอาชีพ
บรรยาย
- มอบหมายงานบุคคล (ตอบคำถาม/แบบทดสอบ)
- มอบหมายงานบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล/โครงงาน/รายงาน)
- สาธิต/ดูงาน
- ผลงานรายบุคคล (เอกสาร/รายงาน/แฟ้มสะสมงาน)
- การสอบข้อเขียน
๑) มีความสามารถในการประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้งและสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
๒) มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
๓) มีความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ(ท่องเที่ยวและโรงแรม) และจากศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล
- บรรยาย
- มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ค้นคว้าข้อมูล/วิเคราะห์/สังเคราะห์/อภิปราย/รายงาน)
- นำเสนอข้อมูล
- การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ผลงานกลุ่ม (เอกสาร/รายงาน/กิจกรรม)
- การนำเสนอ (วาจาและสื่อ/โปสเตอร์)
๑) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงาน และแก้ไขปัญหากลุ่ม
๒) สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐานสากล
- บรรยาย
- มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ค้นคว้าข้อมูล/วิเคราะห์/สังเคราะห์/อภิปราย/รายงาน)
- ผลงานกลุ่ม (เอกสาร/รายงาน/กิจกรรม)
- การนำเสนอ (วาจาและสื่อ/โปสเตอร์)
๑) สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒) สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
๓) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบแผนการนำเสนอที่เหมาะสมกับการประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔) สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวล การแปลความหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล
- บรรยาย
- มอบหมายงานบุคคล (ตอบคำถาม/แบบทดสอบ)
- นำเสนอข้อมูล
- การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ผลงานกลุ่ม (เอกสาร/รายงาน/กิจกรรม)
- การนำเสนอ (วาจาและสื่อ/โปสเตอร์)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4
1 13010001 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
๑. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
กุลวรา สุวรรณพิมล. 2556. หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. 2555. การโรงแรม. สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิศา ชัชกุล. 2550. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. 2550. มัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
     
๒. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรมการท่องเที่ยว, (online). http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8370. ( 19 เม.ย. 2560 )
- คู่มือสำหรับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่างๆ  
๓. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
         วารสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อาทิ อสท. สารคดี  ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ  ที่นักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าหาอ่านได้ด้วยตนเอง
http://thai.tourismthailand.org
http://www.tourism.go.th
http://www.mots.go.th
http://www.tatreviewmagazine.com
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
๑.๑ ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

๑.๒ ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
         ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร ดำเนินการดังต่อไปนี้
๒.๑ ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑
๒.๑ สุ่มสังเกตการสอนและการประเมินการจัดการเรียนการสอน (โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

๒.๓ ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเอง ในประเด็นต่อไปนี้

ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอน ดังนี้
๓.๑ ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอ
ให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละครั้ง
๓.๒ ประชุม/สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับ
ปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้

การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร การประเมินโดยผู้เรียนในรายวิชา
               เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม/ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอนและผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาเพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและประเมินผล ในปีการศึกษาต่อไป