ฝึกงานทางวิชาชีพสัตวศาสตร์

Job Internship in Animal Science

เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้ต่อไปนี้
- การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางการปฏิบัติ
- เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ด้านการผลิตสัตว์มาใช้ในการทำงาน
- การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีในฟาร์มสัตว์
- เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานได้ในสภาวะขาดแคลนทรัพยากร
เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีมเป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้ทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
ฝึกงานด้านสัตวศาสตร์ในแขนงที่นักศึกษาสนใจ เป็นการฝึกงานในสถานประกอบการภายนอก จำนวนไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง เน้การฝึกทักษะเฉพาะด้านในสาขาสัตวศาสตร์ โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
š1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
˜1.5 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
š1.6 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม รวมทั้งรักษาความลับขององค์กร
-การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
-การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)
-การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
-งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
-แฟ้มสะสมงาน
-การเขียนบันทึก
-การสังเกต
-การสัมภาษณ์
-การนำเสนองาน
-การประเมินตนเอง
-การประเมินโดยเพื่อน
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจหลักการปฏิบัติในงานที่กำลังฝึก
 š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของงานที่กำลังฝึกปฏิบัติ
-การสอนแบบฝึกภาคสนาม  
-การสอนแบบสาธิต  
-การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
-งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
-การเขียนบันทึก
-การสังเกต
-การสัมภาษณ์
-การนำเสนองาน
š3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรที่เรียนมา
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในฟาร์มอย่างมีระบบ
-การเรียนการสอนแบบบูรณา
-การสอนแบบฝึกภาคสนาม  
-งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
-การสังเกต
-การสัมภาษณ์
˜4.1มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
š4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
š4.5มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
-การสอนแบบฝึกภาคสนาม  
-การสอนแบบกรณีศึกษา
 (Case Studies)
- เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) 
-สถานการณ์จำลอง
-งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
-การสังเกต
-การสัมภาษณ์
-โครงการกลุ่ม
˜5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)
-การสอนแบบการศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study)
-การสอนแบบสัมมนา  
-แฟ้มสะสมงาน
-การเขียนบันทึก
-การนำเสนองาน
-การสังเกต
-การสัมภาษณ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 23029404 ฝึกงานทางวิชาชีพสัตวศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5ด้าน ตามเกณฑ์การประเมินผลการศึกษาของมทร.ล้านนา ในส่วนของวิชา ฝึกงานสัตวศาสตร์ 2 เป็นระดับคะแนน(Grade) ดังนี้ S หมายถึง พึงพอใจ (Sastify) U หมายถึง ไม่ผ่าน (Unsastify) กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา -ประเมินโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา, พนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการและอาจารย์นิเทศการฝึกงานโดยใช้เกณฑ์ตาม มคอ.2 -อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา สรุปผลการประเมินและรายงานผลต่อสาขาวิชา 60
2 การนำเสนอ การตอบข้อซักถาม 40
1. กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
 
1.1 นักศึกษา
-จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกงาน
-การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมและการสนทนาระหว่างนักศึกษาในกลุ่มที่ออกฝึกงานที่เดียวกัน
1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
-บันทึกงานที่มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ และผลการฝึกของนักศึกษา
-สุ่มถามด้วยวาจา
1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
-อาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง บันทึกการขอคำปรึกษาจากนักศึกษา และการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา 
 ขณะออกฝึกงาน
-การนำคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาไปใช้ในการแก้ปัญหาของนักศึกษา
-ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา
1.4 อื่นๆ เช่น
-บัณฑิตจบใหม่ โดยการสอบถามและติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตาม
 สาขาวิชา
 -ผู้ใช้บัณฑิต โดยการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตที่ทำงานตรงตามสาขาวิชา
2. กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนปรับปรุง
-อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทุกๆด้าน จากผู้มีส่วนร่วมในการฝึกงานของนักศึกษา รายงานต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร/หัวหน้าสาขาวิชาเพื่อทราบ
-ประชุมหลักสูตรหรือภาควิชา ร่วมกันพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับใช้ในรอบการศึกษาถัดไป
-นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร