เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

Engineering Economy

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการจำลองแบบปัญหา
1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยใช้หลักการเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมสมัยใหม่มากขึ้น
         ศึกษาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในงานวิศวกรรม ต้นทุน งบดุล งบกำไรขาดทุน  การคำนวณดอกเบี้ย การหามูลค่าปัจจุบันและมูลค่ารายปี การหาอัตราผลตอบแทน การหาผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน หาค่าเสื่อมราคา ภาษีรายได้ จุดคุ้มทุน การทดแทนทรัพย์สิน การวิเคราะห์เงินเฟ้อ และการวิเคราะห์การตัดสินใจในโครงการต่างๆ การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง และความไม่แน่นอน การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์งานด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม  
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 17.00-18.00 น
1. คุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์    
วิธีการสอน 
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม  
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
1.3.3   ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
1.3.4   ประเมินผลจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2. ความรู้ 2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
 2.1.1    เข้าใจและวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านอุตสาหการ
 2.1.2    สามารถนำไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านอุตสาหการได้
 2.1.3    เข้าใจและวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องอุตสาหการ  เช่น  หลักเศรษฐศาสตร์ หลักกฎหมาย หลักการจัดการ เป็นต้น และสามารถนำมาประยุกต์หรือเป็นพื้นฐานของอุตสาหการ
 


   
2.2 วิธีการสอน
2.2.1   ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
      2.2.2   ให้นักศึกษานำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
        2.2.3   มอบหมายให้ทำรายงานเรื่องวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสหการ
 
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1  ทดสอบย่อย
2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชันเรียน
3. ทักษะทางปัญญา      3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
     3.1.1   มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
     3.1.2   สามารถแก้ปัญหาทางอุตสาหการได้โดยนำหลักการต่างๆ มาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
     3.1.3   มีความใฝ่หาความรู้    
 
3.2 วิธีการสอน
  3.2.1   มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
  3.2.2   ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา
  3.2.3   การศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน  
3.3 วิธีการประเมินผล
      3.3.1   ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
      3.3.2   ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
      3.3.3   ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.1.4   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.1.5   มีภาวะผู้นำ    
 
4.2 วิธีการสอน
4.2.1   ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2   ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.3   ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.2.4   ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
 
4.2.5   กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน  
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2   ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3   สังเกตผลจากการายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
4.3.4   สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
4.3.5   สังเกตพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1  มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2   สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
5.1.3   มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ
5.1.4   ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้    
5.2 วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2   การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.3   ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข  
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1   สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
5.3.2   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.4, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 3.3, 5.3 1.2, 1.4 2.1, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.5, 4.4, 4.5, 5.2, 5.4 1.2, 1.4, 2.5, 4.4, 5.4 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 2 3 5 7 ตลอดภาคการศึกษา 10% 25% 10% 25% 20% 10%
    มนวิกา  อาวิพันธุ์ , เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2554
Leland T.Blank , Text book, Engineering Economy, Sixth Edition, McGRAW-HILL,  2005
-
-
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ