โรงต้นกำลังและสถานีไฟฟ้าย่อย

Power Plant and Substation

1.1 รู้และเข้าใจเห็นความสำคัญของระบบผลิต ส่งจ่าย และจำหน่ายไฟฟ้า
1.2 รู้จักและเห็นความสำคัญของแหล่งกำเนิดพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน ที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า
1.3 รู้และเข้าใจค่าตัวประกอบและคุณสมบัติของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า
1.4 รู้และเข้าใจหลักการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ ขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก                      
1.5 รู้และเข้าใจหลักการโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์      
1.6 รู้และเข้าใจหลักการโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม และโรงไฟฟ้าพลังดีเซล
1.7 รู้และเข้าใจสามารถวิเคราะห์วิเคราะห์หลักเศรษฐศาสตร์ ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
1.8 รู้และเข้าใจสถานีไฟฟ้าย่อย อุปกรณ์หลักและการวางแผนออกแบบสถานีไฟฟ้าย่อย
 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าที่จะต้องพัฒนาไปตามความเจริญทางเศรษฐกิจ   รู้จักเลือกใช้พลังงานสะอาด   พร้อมกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสังคม ชุมชน  พร้อมทั้งกำหนดให้นักศึกษาต้องศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าหรือสถานประกอบการจริง
ศึกษาเกี่ยวกับเส้นโค้งโหลด โรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊สโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แหล่งพลังงานหมุนเวียน ชนิดของสถานีไฟฟ้าย่อย อุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย การจัดวางอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย การป้องกันฟ้าผ่า ระบบการต่อลงดิน
อาจารย์ประจำรายวิชา   สามารถติดต่อได้ด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ อีเมล์  ระบบข้อความอีเลร์นนิ่ง
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ  รักษ์สิ่งแวดล้อม มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ รู้จักประหยัดพลังงานต่าง ๆ  เพื่อลดโลกร้อน  โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างการพัฒนาควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้พลังงานชนิดต่าง ๆ ต่อสังคมชุมชน มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยาย   แหล่งพลังงาน  โรงไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ 
1.2.2 บรรยาย  ยกตัวอย่างกรณีศึกษา การสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่างของไทยและผลกระทบ
1.2.3 อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
1.2.4 ให้นักศึกษาทำการบ้าน แบบทดสอบ  รายงาน  ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.5  ประเมินผลจาก รายงานการศึกษาดูงาน โรงไฟฟ้าหรือสถานประกอบการจริง
ระบบผลิต ส่งจ่าย และจำหน่ายไฟฟ้า และคุณลักษณะของโหลด       แหล่งเนิดพลังงาน  
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ      โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ         โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าดีเซล        โรงไฟฟ้านิวเคลียร์      เศรษฐศาสตร์การผลิตไฟฟ้า           สถานีไฟฟ้าย่อย
การจัดวางอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย การป้องกันฟ้าผ่า ระบบการต่อลงดิน
บรรยาย  อภิปราย การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ  ให้นักศึกษามีการค้นคว้าเพิ่มเติม เรียนรู้ด้วยตนเองจากข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาล จากเว็บไซต์ต่าง ๆ  และเอกสารประกอบต่าง ๆ  เพื่อให้นักศึกษาสามารถสรุปวิเคราะห์เป็นรายงานด้วยตนเองได้  ทำรายงานเดี่ยว  และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  2.3.1  สอบกลางภาค                                        
  2.3.2  สอบปลายภาค                                               
  2.3.3  กิจกรรม  แบบทดสอบ และรายงานในระบบ อีเลิร์นนิ่ง               
  2.3.4  กิจกรรม  ศึกษาดูงานโรงไฟฟ้า  หรือสถานประกอบการจริง
พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จากการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสังคม ชุมชน
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำรายงานผลกระทบการสร้างโรงไฟฟ้านำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม  โดยระบบอีเลิร์นนิ่ง
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ
3.2.4   การสรุปและสะท้อนแนวคิดต่าง ๆ ที่หลากหลาย
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์การสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ
3.3.2   วัดผลจากการทำกิจกรรม แบบทดสอบ  ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
3.3.3  วัดผลจากการทำรายงานเดี่ยว
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมในระบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มหรือรายบุคคล เช่น ผลกระทบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ  เขื่อนปากมูล
            อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1  คะแนนจากกิจกรรม แบบทดสอบในระบบอีเลิร์นนิ่ง
4.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในกระดานเสวนา
4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข โดยใช้แบบทดสอบ สูตรการคำนวณต่าง ๆ
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอใน 
           ชั้นเรียน  หรือในระบบอีเลิร์นนิ่ง
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา จากกการค้นคว้าข่าวสารต่าง ๆ
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร โดยใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งในการเสริม
           การสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน  เช่นกระดานเสวนา
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น power point
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน e-Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข มีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเว็ปไซต์องค์กรของรัฐบาล
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น power point
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย หรือกระดานเสวนา
นศ.สามารถ สามารถแสดงข้อคิดเห็นต่อสังคม ในกรณีที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต่าง ๆ 
อาจจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน อย่างมีนัยะสำคัญ
ให้ นศ.สามารถ ศึกษากรณีศึกษา ในกรณีที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต่าง ๆ  หรือมีการดำเนินการแล้ว 
มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน อย่างมีนัยะสำคัญ
การประท้วง ต่าง ๆ ของประชาชน  ในประเทศไทย และต่างประเทศ
 
 
ให้ คะแนน นศ. เมื่อ  นศ. บรรยาย หรือ อธิปราย หน้าชั้นเรียน เกี่ยวกับประเด็น
การสร้างโรงไฟฟ้า ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน อย่างมีนัยะสำคัญ
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ 5.ทักษะเชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในเนื้อหาที่สอน เน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการค้นคว้า แสดงความคิดเห็นในห้องเรียน ให้โจทย์เพื่อมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป ฝึกทักษะในการคิด การแสดงออก และนำเสนอ ฝึกในการทำใบงานและปฏิบัติ ความตรงต่อเวลา สืบค้นเนื้อหาผ่าน Website ฝึกปฏิบัติตามใบงานที่แสดงไว้ในรายวิชา
1 32082305 โรงต้นกำลังและสถานีไฟฟ้าย่อย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
เอกสารประกอบสอน โรงต้นไฟฟ้ากำลังและสถานีไฟฟ้าย่อย ของ นายจัตตุฤทธิ์ ทองปรอน
[1]  กรรณิการ์ พรมเสาร์, “กะเทาะเปลือกนิวเคลียร์”  กรุงเทพมหานคร มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2552.
[2]  ชัด อินทะสี, “การส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า” กรุงเทพมหานคร ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2554.
[3]  ชูลิต วัชรสินธุ์, “การศึกษาความเหมาะสมโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ” กรุงเทพมหานคร ฟิสิกส์เซนเตอร์,
     2532.
[4] ชำนิ ใจประดิษฐ์ธรรม, “การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลังในงานวิศวกรรม” กรุงเทพมหานคร ท้อป,  
     2552.
[5] ตติยา  ใจบุล, “พลังงานธรรมชาติ : สุดยอดพลังงาน” กรุงเทพมหานคร ประพันธ์สาส์น, 2548.
[6]  โตศักดิ์ ทัศนานุตริยะ, “การผลิต การส่ง และจ่ายไฟฟ้า” กรุงเทพมหานคร ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2544.
[7]  นคร ทิพยาวงศ์, “เทคโนโลยีการแปลงสภาพชีวมวล” กรุงเทพมหานคร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
     (ไทย-ญี่ปุ่น), 2552.
[8]  นภัทร วัจนเทพินทร์. “การผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้า และพลังงานทดแทน” ปทุมธานี สกายบุ๊ค, 2550.
[9]  นระ คมนามูล, “เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก” กรุงเทพมหานคร
     สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2546.
[10]  วัฒนา  ถาวร.   “โรงต้นกำลังไฟฟ้า” กรุงเทพมหานคร ส.ส.ท., 2547.
[11] สุวพันธ์  นิลายน, “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
[12] อนุตร จำลองกุล, “พลังงานหมุนเวียน” กรุงเทพมหานคร โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2545.
เว๊ปไซต์ต่าง ๆ ที่นำเสนอในระบบอีเลิร์นนิ่ง  เช่น EGAT , DEDE , Eppo
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านกระดานเสวนา ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ประเมินผู้สอนโดยนักศึกษา ผ่านระบบไอทีของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียน การร่วมกิจกรรม ผลแบบทดสอบ  ผลการสอบของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   อาจารย์ผู้สอนศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ     เพื่อนำประสบการณ์จริงถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา