การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า

Electrical Technical Education Pre-Project

เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม ทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมไฟฟ้า การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงานการจัดการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
2.1.  เพื่อให้เข้าใจสิ่งประดิษฐ์ของนวัตกรรม
2.2.  เพื่อให้เข้าใจในเรื่องการตั้งชื่อโครงงาน
2.3.  เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำรายงาน งานวิจัย
2.4.  เพื่อให้เข้าใจในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
2.5.  เพื่อให้นักศึกษาสามรถนำเสนอโครงงานได้
         ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ ชนิดและความสำคัญของวัสดุช่วยสอนทางช่างอุตสาหกรรม ประเภทของเอกสารการพิมพ์ การวิเคราะห์อาชีพเพื่อการพัฒนาวัสดุช่วยสอน ปฏิบัติการจัดทาใบวิเคราะห์งาน เอกสารใบความรู้ ใบงาน ใบสั่งงาน ใบประลอง ใบปฏิบัติ ใบมอบงาน เอกสารการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน ใบบันทึกผลความก้าวหน้าทางการเรียนและโครงการสอนวิชาปฏิบัติ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดประกาศข่าวสารของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการพัฒนาวัสดุช่วยสอนในปัจจุบัน
7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 
1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการสอนในปัจจุบัน เพื่อที่จะเสริมสร้างความรู้เรื่องของการพัฒนาวัสดุช่วยสอน
2 อภิปรายกลุ่ม
3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของระบบการพัฒนาวัสดุช่วยสอน  ภาระหน้าที่ ของผู้เกี่ยวข้องการพัฒนา ประเภทข้อมูล ประโยชน์ของระบบในวัสดุช่วยสอน ความเกี่ยวข้องของระบบการพัฒนาวัสดุช่วยสอน  องค์ประกอบของวัสดุช่วยสอนที่ใช้ในการจัดการระบบฐานความรู้ หลักการและขั้นตอนการพัฒนาระบบการพัฒนาวัสดุ จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้เกี่ยวข้อง ผลกระทบของการพัฒนาวัสดุต่อบุคคลและสังคม การป้องกันอันตราย หรือภัยจากการสอนหรือการพัฒนาวัสดุช่วยสอนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาวัสดุช่วยสอน
1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2 อภิปรายกลุ่ม
3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาวัสดุช่วยสอน
4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการพัฒนาวัสดุหรือการสอน
2 วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของการพัฒนาวัสดุ การนำตัวอย่างการพัฒนาวัสดุในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
3 การนำเสนอรายงาน
1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5 ทักษะการเรียนรู้เรื่องของระบบการพัฒนาวัสดุช่วยสอน
6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 2 1 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 32027410 การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 - ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ - ความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 ความรู้ สอบหัวข้อโครงงาน 12 30%
คู่มือการจัดทำปริญญานิพนธ์
-  Paper จากฐานข้อมูลต่างๆ
-  เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลต่างๆ
                    -  เว็บไซต์ www.spu.ac.th/engineer/files/2011
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทบทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและ