โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการปศุสัตว์

Computer Application for Livestock

เข้าใจระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เข้าใจการใช้การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมแผ่นตาราง และโปรแกรมนำเสนอ เข้าใจการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการผลิตสัตว์ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการผลิตสัตว์ เห็นประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสัตว์
2.1 มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบูรณาการเทคโนโลยีทางสัตวศาสตร์ เพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการด้านการปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ในฐานะผู้ประกอบการ นักวิชาการ หรือผู้จัดการฟาร์ม และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
2.3 มีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในจรรยาของวิชาชีพที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทย
2.4 มีทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพทางการเกษตร
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จัดทำเอกสาร ฐานข้อมูล นำเสนอข้อมูล วาดภาพแผนผัง และโปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์
- จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ
- นักศึกษาสามารถติดต่อได้ทาง e-mail address : wera0625@yahoo.com
1.1.1 มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ข้อ 1.1.1 และ 1.1.2  เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.3  และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
- กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- การบรรยายและยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
- การยกย่องนักศึกษาที่ประพฤติตนดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 
- ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
- การอ้างอิงบทความวิชาการจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาใช้เพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของงานนั้น
- ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
- ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ตรงต่อเวลา มีวินัยและความสามัคคีในการทำกิจกรรม
- รายงาน หรืองานที่นำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทางวิชาการถูกต้อง
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ
2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 1.1.3  เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.1 และ 1.1.2  เป็นความรับผิดชอบรอง
- การบรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา การคิด วิเคราะห์ ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต
- นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม วิเคราะห์กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากาการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ข้อ 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 3.1.1 เป็นความรับผิดชอบรอง
- ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาของฟาร์มที่นักศึกษาฝึกงานภายนอก โดยเปรียบเทียบกับความรู้ทางวิชาการจากเอกสารการปศุสัตว์ต่าง ๆ
- เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐภายนอกมหาวิทยาลัย หรือพานักศึกษาไปศึกษาดูงานฟาร์มภายนอก เพื่อได้ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน
- ทดสอบโดยข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
- ดูจากรายงาน การนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3. สามารถทางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ข้อ 4.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ  4.1.2  4.1.3 และ 4.1.4  เป็นความรับผิดชอบรอง
ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอ
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือกรณีศึกษา
5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
- มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นองค์ความรู้จากเอกสาร หรือข้อมูลผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- มีการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะสมกับลักษณะงานต่อชั้นเรียน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ
- ประเมินจากภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยอาจนำเสนอในรูปของตัวเลข กราฟหรือตารางด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 23027404 โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการปศุสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 4.1.4 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 ผลงาน /รายงาน/การทำงานกลุ่ม/การศึกษาอิสระ ทุกสัปดาห์ 30%
2 1.1.3, 1.1.4, 2.1.1, 2.1.3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 นำเสนอรายงานเป็นกลุ่มโดยนักศึกษา พฤติกรรมต่างๆ เช่น การร่วมอภิปราย การตอบคำถาม เป็นต้น ทุกสัปดาห์ 10%
3 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.3 การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม ทุกสัปดาห์ 10%
4 1.1.1, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 50%
วีระ  อินทร์นารี. 2549.  เอกสารประกอบการสอนวิชา 03-222-408  คอมพิวเตอร์ในการผลิตสัตว์. คณะวิชาสัตวศาสตร์.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง.  ลำปาง.  278 น.
วีระ  อินทร์นารี. 2549.  เอกสารประกอบการสอนวิชา 03-222-408  คอมพิวเตอร์ในการผลิตสัตว์. บทปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในการผลิตสัตว์.  คณะวิชาสัตวศาสตร์.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง.  ลำปาง.  349 น.
สมเกียรติ   ฟุ้งเกียรติ. 2548.  เอกสารฝึกอบรมและสัมมนา เรื่องการใช้สูตรและฟังก์ชั่นของโปรแกรมแผ่นตารางทำการ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ.
สมเกียรติ   ฟุ้งเกียรติ. 2548.  เอกสารฝึกอบรมและสัมมนา เรื่องหันมาใช้ Excel จัดการฐานข้อมูลแทน Access. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ.
ณรงค์  หุตานุวัตร  นันทิยา  หุตานุวัตร และประสาธน์  เกียรติไพบูลย์กิจ.  2548.  ฐานข้อมูล Excel ง่าย แต่เก่ง. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
มนต์ชัย   ดวงจินดา และวิโรจน์   ภัทรจินดา. 2543. คู่มือโปรแกรมจัดการอาหารโคนมและคำนวณสูตรอาหารราคาต่ำสุด. ภาควิชาสัตวศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 27 น.
อุทัย    คันโธ.  2529.  อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. ภาควิชาสัตวบาล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กำแพงแสน. นครปฐม. 297 น.
ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลงานฟาร์มที่นักศึกษาได้รับจากการฝึกงานภายนอก และแบบบันทึกข้อมูลงานฟาร์มของมหาวิทยาลัย.
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา โดยใช้แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ประเมินการจัดการเรียน การสอนจากการทดสอบย่อย การตอบคำถามของนักศึกษาระหว่างการสอนแต่ละหน่วยเรียน เพื่อให้ทราบปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอนหรือกิจกรรมการเรียน การสอน และการทดสอบกลางภาค และปลายภาคเรียน
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ และวิธีการสอนจากผลการประเมินอาจารย์ผู้สอน แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน การประชุมอาจารย์ที่รับผิดชอบวิชา เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
อาจารย์ผู้สอนร่วมสุ่มสังเกตกิจกรรมการเรียน การสอน ในรายวิชา ให้ข้อเสนอแนะการจัดการเรียน การสอน การวัดผลและการประเมินผลการเรียน
ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนรายงานและการนำเสนอรายงาน เพื่อตรวจสอบรายงานของนักศึกษา ให้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
การประเมินการสอนโดยนักศึกษา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอรายงานแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา เสนอต่อสาขาวิชา เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป