ฝึกงานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Job Internship in Food Science and Technology

เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่มี คุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน เปิดโอกาสให้สถานประกอบการ /องค์กรผู้ใช้บัณฑิตทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของ ตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้บรรลุุวัตถุประสงค์ของรายวิชา   มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  สอดคล้องกับวิชาสหกิจศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและนโยบายของมหาวิทยาลัย
ฝึกปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการภายในปรือต่างประเทศไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากากรศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
1 ชั่วโมง
มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (TQF-Food 1.1) แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต (TQF-Food 1.2) มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (TQF-Food 1.3) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (TQF-Food 1.4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (TQF-Food 1.5)
การอบรมก่อนการฝึกงานให้นักศึกษาทราบถึงแนวการปฏิบัติตนในระหว่างการฝึกงาน ในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ ของสถานประกอบการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ ขอความร่วมมือกับสถานที่ฝึกงานให้กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน วิธีการประเมินผลงานให้นักศึกษาทราบ และมอบหมายงานและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร มีสมุดคู่มือการฝึกงาน ที่สามารถบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน

ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 
นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องพร้อมมีรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประกอบ
มีความรู้/ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือระบบประกันคุณภาพ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้รับการฝึกประสบการณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการอาหารที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา (TQF-Food 2.1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน   วิทยาศาสตร์พื้นฐาน   วิศวกรรมพื้นฐาน   และการบริหารจัดการ และสามารถบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านเทคโนโลยีการอาหารที่เกี่ยวข้อง (TQF-Food 2.2)
สถานประกอบการที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง พนักงานพี่เลี้ยงมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการหรือพัฒนากระบวนการการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการทำงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการสั่งงาน การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีการอาหารใหม่ ๆ และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ (TQF-Food 3.1) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีการอาหาร และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ (TQF-Food 3.2) สามารถปรับใช้สามารถปรับใช้ทักษะและองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีการอาหารความเข้าใจในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ  เพื่อการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมได้อย่างสร้างสรรค์ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3.3) มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร (TQF-Food 3.4)
การปฏิบัติงานจริงเสมือนหนึ่่งพนักงานประจำของสถานประกอบการ /องค์กรผู้ใช้บัณฑิต มอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาสาเหตุของปัญหา ฝึกการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ  ประชุม และนำเสนอผลลัพธ์จากโจทย์ปัญหาร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกงาน  อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่ เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล