การจัดการดินและปุ๋ย

Soil Management and Fertilizer

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจถึงหลักในการจัดการดินทางด้าน สมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดิน รวมถึงการจัดการดินที่มีปัญหาให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจถึงหลักปฏิบัติในการจัดการธาตุอาหารแก่พืชเศรษฐกิจที่สำคัญบางชนิด
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการสำรวจดิน การควบคุม และป้องกันกษัยการด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดิน
1.4 นักศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม สามารถสืบค้นและใช้สื่อสารสนเทศได้
เพื่อเพิ่มทักษะการค้นคว้า การอ่าน การวิเคราะห์ และสรุปงานวิจัยใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินและปุ๋ย เพื่อจัดทำรายงานหรือนำเสนองานในชั้นเรียน และเพิ่มทักษะการลงมือปฏิบัติการปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชในกระถาง การจดบันทึก การสรุปผลการปฏิบัติงาน
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ การเกิด สมบัติทางฟิสิกส์และเคมีบางประการของดิน ดินที่มีปัญหาในประเทศไทยและแนวทางปรับปรุงแก้ไข อินทรียวัตถุ ธาตุอาหารพืช ปุ๋ย การจำแนก กษัยการของดิน ฯลฯ แต่ละขั้นตอนนั้นๆ เน้นหนักถึงวิธีการปฏิบัติการด้านต่างๆ กับดิน เช่น การไถพรวน การจัดการน้ำ การแก้ไขความเป็นกรด การปรับปรุง และคงสภาพอินทรียวัตถุไว้ในดิน การใส่ปุ๋ย ข้อมูลจากการรายงานสำรวจดิน การควบคุมและป้องกันกษัยการด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับดิน
3.1 จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและข้อแนะนำ ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
3.2 e-mail; khaosumain@gmail.com
3.3 กลุ่มFacebook การจัดการดินและปุ๋ย
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม ให้นักศึกษาตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติมีความเชี่ยวชาญบนพื้นฐานเป็นบุคลากรที่ดีมีความสำนึกในวิชาชีพและมีจิตอาสาต่อการพัฒนาสังคม ชุมชนและประเทศชาติ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้นักศึกษามีการฝึกทักษะวิชาชีพมีวินัยต่อการเรียน มีความรับผิดชอบส่งมอบงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กำหนด เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม เคารพผู้อาวุโสและอาจารย์
ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมนักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจและหาข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีจรรยาบรรณและถูกต้องตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา ให้นักศึกษาทราบและเข้าใจความสำคัญของการบูรณาการเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เพื่อการจัดการดิน นํ้า และธาตุอาหารพืช ในระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา มอบหมายแก่นักศึกษาได้ค้นคว้าความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีการจัดการดิน นํ้า และธาตุอาหารพืช จากแหล่งข้อมูลทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในเวทีภายในชั้นเรียน สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆที่สามารถบูรณาการร่วมกันเช่น ด้านการวิจัย กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางสถิติ ตลอดจนการศึกษาเรียนรู้ประโยชน์การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อการเรียนอย่างแท้จริง
 
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้งการสอนแบบ e-Learning และการสอนนอกห้องเรียน ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค)  ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  การทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการจัดการดิน นํ้า และธาตุอาหารพืช และนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ สนับสนุนให้มีการปฏิบัติที่ใช้ข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการจากแหล่งที่เชื่อถือได้มาประยุกต์ใช้ในการฝึกทักษะเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น  2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียนหรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบเพื่อได้ให้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี เน้นการทำงานเป็นทีม โดยมีการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้เขียนรายงานและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษาในชั้นเรียนให้นักศึกษาได้สลับกลุ่มเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างทั่วถึง 
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีระบบการทำงานเป็นทีมที่มีการกำหนดหน้าที่และสัดส่วนความระผิดชอบภายในกลุ่มของแต่ละหน่วยเรียน สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ให้มีการนำเสนอผลงานของกลุ่มโดยเปิดโอกาสให้มีการสอบถามและให้คำแนะนำทั้งภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม ให้นักศึกษาได้จัดทำรายงานการนำความรู้จากการเรียนในรายวิชาไปใช้ประโยชน์ต่อการบริการทางวิชาการให้สังคมและชุมชนบ้านเกิดของนักศึกษา
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม  
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม การใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มรวมทั้งการนำเสนอโครงการที่เสร็จสิ้น  2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบบ e-Learning เป็นต้น  3.สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอข้อมูลของงานค้นคว้าที่มอบหมายทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้เข้าใจ ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงาน  
 
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอโดยใช้ PowerPoint ประกอบการสอนในชั้นเรียน การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม ให้นักศึกษาตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติมีความเชี่ยวชาญบนพื้นฐานเป็นบุคลากรที่ดีมีความสำนึกในวิชาชีพและมีจิตอาสาต่อการพัฒนาสังคม ชุมชนและประเทศชาติ แบบบรรยายและยกตัวอย่างกรณีศึกษา 1.แบบบรรยาย ร่วมกับ สาธิต และฝึกปฏิบัติการ 2.มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา ให้นักศึกษาทราบและเข้าใจความสำคัญของการบูรณาการเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เพื่อการจัดการดิน นํ้า และธาตุอาหารพืช ในระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 3.สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆที่สามารถบูรณาการร่วมกันเช่น ด้านการวิจัย กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางสถิติ ตลอดจนการศึกษาเรียนรู้ประโยชน์การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อการเรียนอย่างแท้จริง ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอโดยใช้ PowerPoint ประกอบการสอนในชั้นเรียน การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ แบบบรรยายและยกตัวอย่างกรณีศึกษา
1 21011353 การจัดการดินและปุ๋ย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร. 547หน้า  คณาจารย์ผู้สอนวิชาปฐพีวิทยาวิทยา. 2525. คู่มือประกอบการบรรยาย วิชาปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร. วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. 196 น.  ดนัย บุญยเกียรติ. 2537. สรีรวิทยาของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 210 น.  วิโรจน์ อิ่มพิทักษ์. 2531. การจัดการดิน เล่มที่1 ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย  เกษตรศาตร์. กรุงเทพมหานคร. 315 น.  นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2544. การให้ปุ๋ยไม้ดอก.น. 337-345 ใน ดิเรก ทองอร่าม(บรรณาธิการ) เอกสาร  ประกอบการฝึกอบรมเรื่องการจัดการดิน น้ำและปุ๋ยเพื่อการทำสวนเชิงธุรกิจ. มหาวิทยาลัย  สุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.  พิชิต พงษ์สกุล. 2520. การดูดซับโมลิบดีนั่มของดิน. ดินและปุ๋ย. 9: 38-47.  Marschner, H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plant. 2nd edition. Academic Press. New York. 889 p
กิตตินันท์ ธีระวรรณวิไล. 2542. เอกสารทางวิชาการ เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปุ๋ยและปัจจัยที่เกี่ยว  ข้องกับการใช้ปุ๋ย. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยพืชไร่ กองปฐพีวิทยา กรมวิชา  การเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 6. 70 น.  พิชิต พงษ์สกุล สำเนา เพชรวี และสุรพันธ์ รัตนรัต. 2531. โบรอนธาตุอาหารเสริมอื่นๆเพื่อการผลิตพืชตระกูลถั่วที่เป็นอาหาร. รายงานผลการวิจัย กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร  พิชิต พงษ์สกุล สำเนา เพชรวี สุรพันธ์ รัตนรัต เพิ่มพูน กีรติกสิกรและ อาร์ ดับเบิลยู เบล. 2537. ความต้องการโมลิบดีนั่มของถั่วลิสงและถั่วเขียวผิวดำ. ดินและปุ๋ย. 16(3):174-186  พิชิต พงษ์สกุล. 2539. แนวทาง การเก็บ การเตรียมและการวิเคราะห์ตัวอย่างพืช ดินและปุ๋ย. 18(2):76-90.  พิชิต พงษ์สกุล. 2540. หลักการแปลความหมายค่าวิเคราะห์ดินและพืช. ดินและปุ๋ย. 19:2-19.  มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. โอเดียนสโตร์ กรุงเทพมหานคร. 368 น.  มานพ ตัณฑะเตมีย์. 2528. ดินที่มีปัญหาและการปรับปรุงแก้ไข. ใน คำบรรยายในการฝึกอบรม โครงการเร่งรัดพัฒนาดินเปรี้ยว กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  เมธี มณีวรรณและสุรชัย หมื่นสังข์. 2528. ดินเปรี้ยวจัดและการปรับปรุง.ใน คำบรรยายในการฝึกอบรม โครงการเร่งรัดพัฒนาดินเปรี้ยว กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  ยงยุทธ โอสถสภา ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์และชัยสิทธ์ ทองจู. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ. 547 น.  ยงยุทธ โอสถสภา และสุรเดช จินตกานนท์. 2521. คำบรรยายวิชาธาตุอาหารพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ. 299 น.  ยงยุทธ โอสถสภา. 2535. “แคลเซียม-โบรอนในดินและพืช: แนวคิดเพื่อการใช้ปุ๋ยทางใบกับไม้ผล” ดินและปุ๋ย. 14(4): 298-314.  ยงยุทธ โอสถสภา. 2536. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดินและพืช . เอกสารประกอบการฝึกอบรมทางวิชาการเรื่อง การใช้ Atomic absorption เพื่อการวิเคราะห์ทางปฐพีวิทยา. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน. นครปฐม.  ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 424 น.  ยงยุทธ โอสถสภา. 2544. หลักการเกี่ยวกับดินและปุ๋ยเพื่อการทำสวน น. 53-101 ใน ดิเรก ทองอร่าม (บรรณาธิการ) เอกสารประกอบการฝึกอบรมเรื่องการจัดการดิน น้ำและปุ๋ยเพื่อการทำสวนเชิงธุรกิจ. ณ ห้องประชุม 220 อาคารสุโขสโมสรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.  ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติศรีตนทิพย์และสันติ ช่างเจรจา. 2545. ดินและธาตุอาหารลำไย.น. 261-276 ใน  ดิเรก ทองอร่าม(บรรณาธิการ)เอกสารประกอบการฝึกอบรมเรื่องการจัดการดิน น้ำและปุ๋ยเพื่อ  การทำสวนเชิงธุรกิจ. ณ ห้องประชุม 220 อาคารสุโขสโมสร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  นนทบุรี.  สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2518. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.  สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2538. แร่ธาตุอาหารพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 604 น.  สมชาย องค์ประเสริฐ. 2534. ปฐพีศาสตร์ประยุกต์. ภาควิชาดินและปุ๋ย. คณะผลิตกรรมการเกษตร. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้. 444 น.  สุมาลี สุทธิประดิษฐ์. 2536. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 349 น.  สุมิตรา ภู่วโรดม. 2544. การวิเคราะห์ดินและพืช: ความสำคัญที่นำไปสู่การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิ  ภาพ. น. 229-260 ดิเรก ทองอร่าม(บรรณาธิการ) ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมเรื่องการจัด  การดิน น้ำและปุ๋ยเพื่อการทำสวนเชิงธุรกิจ. ณ ห้องประชุม 220 อาคารสุโขสโมสร  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.  อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2545. การให้ปุ๋ยระบบน้ำ. น. 1-35. ใน ดิเรก ทองอร่าม(บรรณาธิการ) เอกสาร  ประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร การจัดการสวนลำไยจากงานวิจัยสู่เกษตรกร. ณ ห้องประชุม  220 อาคารสุโขสโมสร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี. 
ให้นักศึกษาทุกคนทำการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
มีการเปรียบเทียบผลการทดสอบตามบทเรียนออนไลน์ ก่อนและหลังจากอ่านบทเรียนครบทุกส่วน
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนกลยุทธ์การสอนทุกภาคการศึกษา มีการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนใหม่ๆทุกปี อาจารย์ประชุมหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป