ปฏิบัติงานปรับแต่งเครื่องยนต์

Engine Tune-Up Practice

เข้าใจการใช้เครื่องมือวัดปรับแต่งเครื่องยนต์แก๊สโซลีน  เข้าใจการวิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องอุปกรณ์ระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์แก๊สโซลีน  เข้าใจการวิเคราะห์ไอเสียและแก้ไขปรับแต่งส่วนผสมไอดี  มีทักษะปรับแต่งเครื่องยนต์แก๊สโซลีน  ตระหนักถึงคุณค่าของเครื่องตรวจสอบและปรับแต่งเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
-
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือปรับแต่ง เครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องตรวจวัดกำลังอัด  การรั่วของกระบอกสูบ  องศาการจุดระเบิด  วิเคราะห์อุปกรณ์จุด              ระเบิด  วิเคราะห์ข้อขัดข้องของเครื่องยนต์  วิเคราะห์ไอเสีย  เครื่องมือวิเคราะห์ระบบจุดระเบิดด้วยออสซิลโลสโคป
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์คาบกิจกรรม
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
ยกกรณีศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบัน ในด้านคุณธรรม จริยธรรม มาสอนในช่วงเริ่มต้นชั่วโมงสอนแต่ละครั้ง
1. จิตพิสัยของนักศึกษาตลอดภาคการศึกษา  2. การทำงานตามใบงานและส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายไว้รวมถึงความประณีต เรียบร้อยของงานที่สะท้อนถึงความตั้งใจความรับผิดชอบของนักศึกษา
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของวิชาการทำความเย็นและปรับอากาศ  2. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
1. ให้ทฤษฎีหัวงานและสาธิตให้ นศ.ดู  2. ให้ นศ. ลงมือปฏิบัติงานกับของจริงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
1. ความสำเร็จของงานตามใบงานที่มอบหมาย
-
-
-
รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based learning เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงความรู้  และอภิปราย ถกแถลง ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
การแก้ปัญหาระบบปรับอากาศที่มอบหมายให้ในใบงาน
-
-
-
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
- สาธิต และให้ นศ.แบ่งกลุ่ม วางแผนการลงมือปฏิบัติงานตามใบงาน
- ผลงานที่ได้รับมอบหมายตามใบงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดกำลังอัดของเครื่องยนต์ - ผลงานจากการปฏิบัติงาน - ทดสอบปฏิบัติ 2 15%
2 การปรับตั้งระยะห่างลิ้น - ผลงานจากการปฏิบัติงาน - ทดสอบปฏิบัติ 5 15%
3 การเปลี่ยนสายพาน Timing - ผลงานจากการปฏิบัติงาน - ทดสอบปฏิบัติ 9 15%
4 การปรับตั้งระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์เบนซิน - ผลงานจากการปฏิบัติงาน - ทดสอบปฏิบัติ 11 15%
5 การปรับตั้งหัวฉีดเครื่องยนต์ดีเซล - ผลงานจากการปฏิบัติงาน - ทดสอบปฏิบัติ 14 15%
6 การวิเคราะห์สภาพไอเสียและปรับแต่งเครื่องยนต์ - ผลงานจากการปฏิบัติงาน - ทดสอบปฏิบัติ 17 15%
7 คุณธรรม จริยธรรม 1. จิตพิสัยของนักศึกษาตลอดภาคการศึกษา 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายไว้รวมถึงความประณีต เรียบร้อยของงานที่สะท้อนถึงความตั้งใจความรับผิดชอบของนักศึกษา 1-17 10%
เอกสารประกอบการสอน อ.ก้องเกียรติ ธนะมิตร
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้            1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาผ่านระบบออนไลน์            1.2 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1 การสังเกตการณ์การทำแบบฝึกหัดของนักศึกษาระหว่างเรียน และงานมอบหมายที่นักศึกษาทำส่ง  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์
ปรับการสอนรายสัปดาห์โดยพิจารณาจากผลข้อ 2.1
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1 ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ