วิศวกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม

Environmental Health Engineering

รู้และเข้าใจความรู้พื้นฐานทางอนามัยสิ่งแวดล้อม และลักษณะของการอนามัยในทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หลักวิทยาของการเกิดโรคและโรคระบาดที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน และโรคเกี่ยวกับการอาชีพ เข้าใจการประยุกต์ใช้อย่างมีหลักวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันและทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขอนามัยของคนในด้านต่างๆ ได้แก่ น้ำดื่มน้ำใช้ การบำบัดน้ำเสีย การบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย รวมถึงการจัดการและควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นต้น  รู้มาตรฐาน และกฎหมายเกี่ยวกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการและวางแผนอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน และท้องถิ่นเบื้องต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจด้านอนามัยพื้นฐานและการใช้หลักทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่จะส่งผลต่อสุขอนามัยของคน โดยปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   ศึกษาลักษณะของการอนามัยในทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หลักวิทยาโรคระบาดที่เน้นเป็นพิเศษด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนและในการอาชีพ  ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของวิศวกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับชุมชน การอาชีพ มาตรฐานและข้อบังคับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ การประยุกต์หลักทางวิศวกรรมเพื่อใช้ป้องกันและสร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)  
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ
        ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.2.1  เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง
1.2.2  แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
1.2.3  แนะนำเอกสารและตำราหลักที่ใช้ประกอบการเรียนและแจ้งกำหนดการตลอดภาคเรียน
1.2.4  มอบหมายรายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงานกลุ่มและติดตามผล
1.2.5  แจ้งสัดส่วนการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 การพิจารณาจากรายงานที่มีคุณภาพ ซึ่งแสดงพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มที่รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.3.3 มีการอ้างอิงเอกสารในรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม
1.3.4 การกระทำซื่อสัตย์สุจริตในการสอบหรือลอกรายงานของผู้อื่น
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสำคัญทางด้านการจัดการขยะมูลฝอยในเชิงวิศวกรรม
         สิ่งแวดล้อม
2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงาน
         จริงได้
2.2.1 การสอนโดยเน้นหลักการทฤษฎีจากสื่อการสอน
2.2.2 เรียนรู้ด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือประกอบ การค้นคว้าทำรายงาน ซักถามและอภิปราย
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทฤษฎี
2.3.2 ประเมินจากรายงานและการนำเสนอผลงานกลุ่มตามที่ได้มอบหมาย
สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยได้ด้วย
          ตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่
          ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการขยะ
3.2.1 ซักถามและอภิปรายกลุ่ม
3.2.2 มอบหมายให้ทำรายงานและมีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินรายงานและการนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.1.1 รู้จักบทบาท หน้าที่และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
3.2.1 ซักถามและอภิปรายกลุ่ม
3.2.2 มอบหมายให้ทำรายงานและมีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
  4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออกในการร่วมกิจกรรม
             4.3.2 ประเมินจากรายงานกลุ่มที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งด้านการพูด การเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.2.1 จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการค้นคว้ารายงานกลุ่ม ให้ซักถามและอภิปราย
5.3.1 ประเมินความสมบูรณ์ของรายงาน ความถูกต้องและความน่าสนใจของงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 • ความรู้ • สอบกลางภาค • สอบปลายภาค 9 17 35% 35%
2 ทักษะทางปัญญา • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • ทักษะพิสัย • การทำรายงาน • การทำงานกลุ่มและผลงาน • การนำเสนอรายงานกลุ่ม • การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา 20%
3 • การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา • คุณธรรมจริยธรรม • การเข้าชั้นเรียน • การมีส่วนร่วมอภิปรายและเสนอความคิดเห็นใน ชั้นเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
ชื่อหนังสือ “คู่มือวิชาการอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน” ชื่อผู้แต่ง   สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม  กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข(2551) ชื่อหนังสือ Environmental  Health  Engineering  the  Tropics ชื่อผู้แต่ง    Cairncross , S. and  Feachem , R .  (1983)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น
จากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1.3 นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.3 ผลงานที่มอบหมาย
       หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม
สมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับหลักสูตร
3.2 ปรับปรุงกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
       ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ซึ่งได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล
การทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
             4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ได้แก่ รายงานกลุ่ม เพื่อดูพัฒนาการของนักศึกษาในการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียน
            4.2 มีการแจ้งผลคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาค ในเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
       จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ
สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
           5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
           5.2 ปรับปรุงสื่อการสอนให้ทันสมัยและน่าสนใจตลอดเวลา