การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงปริมาณ

Quantitative Analysis in Business

1.1 เพื่อให้เข้าใจเทคนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์
1.2 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจทฤษฎีการตัดสินใจ รวมทั้งหลักการและวิธีการคำนวณต่างๆ
1.3 เพื่อให้เข้าใจข้อจำกัดและรูปแบบปัญหาที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
1.4 เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และประเมินผลโครงการต่างๆ ทางธุรกิจ
1.5 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการวางแผนและการบริหารที่ดี การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้
เป็นรายวิชาที่ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในการจัดการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรการจัดการ และเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งการเรียนรู้
 
ศึกษาการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อวางแผนและควบคุมการบริหาร การจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยเน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประยุกต์ตัวแบบในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ การพยากรณ์ ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบการมอบหมายงาน โปรแกรมเชิงเส้นตรง ทฤษฎีตัวแบบตัดสินใจ ตัวแบบเครือข่ายรวมถึงการนำทฤษฎีและเทคนิคเชิงปริมาณต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ขององค์การ
To study the business operation in order to plan and control the management efficiently by using various quantitative techniques to support in decision making. This course includes the application of models to solve the business problems; forecasting, model of transportation, model of assignment, linear programming, decision theory, and model of the networks. As well as using the theories and quantitative techniques to appropriately apply to the purpose and circumstances of the organization.
 
อาจารย์ผู้สอนกำหนดวัน เวลาในการให้คำปรึกษา (Office Hour) ที่ห้องพักอาจารย์ หลักสูตรการจัดการ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมงและประกาศให้ผู้เรียนทราบ นอกจากนี้ยังได้กำหนดช่องทางให้นักศึกษาติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Facebook และ Line
 
1.1 มีความซื้อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเอง และผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม 
1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม 
1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวคิดพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน 
1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 
1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
-มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 
-มีความซื่อสัตย์สุจรติ มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบีบของสถาบันและสังคม 
-สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 
-มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
- เช็คชื่อนักศึกษาหลังจากเวลาเรียนไปแล้ว 15 นาที 
- สังเกตนักศึกษาในทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน 
- ตรวจผลงานที่มอบหมายงาน 
- สังเกตการแต่งกายของนักศึกษา (หากนักศึกษาแต่งกายผิดระเบียบฯ ผู้สอนจะทำการว่ากล่าวตักเตือน)
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ 
2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การควบคุม และการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน 
2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
- มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบริหารธุรกิจ
-มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 
-มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบริหารธุรกิจและอื่นๆ โดยใช้หลักวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 
-สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- สังเกตนักศึกษาในทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน 
- ตรวจผลงานที่มอบหมายงาน 
3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ 
3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม 
3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้ 
3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
-สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
-สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบริหารธุรกิจและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
-สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- สังเกตนักศึกษาในทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน 
- ตรวจผลงานที่มอบหมายงาน 
- ข้อสอบประจำบทเรียน
4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 
4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 
4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม 
4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
-สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 
-มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
-มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถใช้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานกาณ์ 
-มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- สังเกตการมีปฏิสัมพันธ์ขณะเรียน
5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางธุรกิจ 
5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย 
5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี 
5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
-มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 
-สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 
-สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
- สังเกตการใช้เครื่องคำนวณในชั้นเรียน 
- ข้อสอบประจำบทเรียน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 2 3 4 1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 2 3 4 1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 2 3 4 5 6 7 2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 2 3 4 5 2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 2 3 4
1 10003203 การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงปริมาณ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-4.2 5.1-8.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 35% 35%
2 3.4, 4.1, 4.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 5.2,5.3 งานที่ได้รับมอบหมายและการเก็บคะแนน 4,6,10,12 20%
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. (2554). การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ :เคที
พีคอมแอนด์คอนซัลท์.
พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี . (2553). สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณขั้นสูง กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
วินัย พุทธกูล, (2551). การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการจัดการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการและทรัพยากร.
วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร . (2555). การวิเคราะห์แบบจำลอง. กรุงเทพฯ : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
สุทธิมา ชำนาญเวช. (2555). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ครั้งที่ . กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สุปัญญา ไชยชาญ. (2556) การวิเคราะห์เชิงปริมาณฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.
เอกอรุณ อวนสกุล. (2554). เศรษฐศาสตร์การจัดการและเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ
ทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล ร่มโพธิ์. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.-
- งานวิจัยจากสถานศึกษาและสถาบันวิจัย ศูนย์วิจัยต่างๆ
- ข้อมูลจากเว็ปไซต์ โปรแกรมเอ็กเซล
- ข้อมูลทางธุรกิจและทางการตลาด จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง สื่อสิ่งพิมพ์ทางการตลาดและทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- วารสาร นิตยสาร บทความเชิงวิเคราะห์หรืองานวิจัยทางธุรกิจ
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2) แบบประเมินผู้สอน
3) ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1) การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2) ผลการเรียนของนักศึกษา
3) การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2) การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2) ประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1) ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2) เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง