หัวข้อคัดสรรในวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

Selected Topic in Food Process Engineering

1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างแผนธุรกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสินค้าทางการเกษตรได้
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจวิธีการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพโดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถบริหารจัดการธุรกิจเกษตรตามแผนธุรกิจได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของธุรกิจภาคการเกษตรที่เป็นความสัมพันธ์และมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งนักศึกษาสามารถใช้ความรู้ที่ได้ จากรายวิชาเป็นแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจเกษตรในอนาคตได้
           รายวิชาที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ดำเนินงานโครงงานเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้และสร้างแผนธุรกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสินค้าทางการเกษตร นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการผลิตผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพจากสื่อวิชาการต่างๆ จากการสอบถามผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกษตรที่นักศึกษาสนใจ และมีการให้ลงมือปฏิบัติจริงโดยสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพตามแผนธุรกิจที่วางเป้าหมายไว้
 อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน
โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

มีการคิด และวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางธุรกิจเกษตรในปัจจุบันและการอภิปรายกลุ่มในเรื่องที่ นักศึกษาสนใจ
1.3.1      ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด    
                        ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2      ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม 
             หลักสูตร
1.3.3      ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4      ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
การสร้างแผนธุรกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสินค้าทางการเกษตร และมีการให้ลงมือปฏิบัติจริงโดยสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ
      ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบแผนการเรียน และกระบวนการประมวลผลร่วมกับอาจารย์ผู้สอน เน้นให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องในประเด็นการเรียนรู้ และให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางแผนไว้ จากนั้นนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้หลักการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดทั้งความรู้และทักษะการ
          ปฏิบัติ
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล และทักษะการลงมือปฏิบัติของนักศึกษารวมทั้งความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ประกอบด้วย
            3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกตความรูทั้งทางดานวิชาการหรือวิชาชีพ
            3.1.2 มีทักษะในการนําความรูมาคิดและใชอยางเปนระบบ
3.2.1   มอบให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติในการแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ให้ และนำเสนอผลการแก้ไขหน้าชั้นเรียน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติ
3.3.1   สอบย่อยและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2   วัดผลจากการประเมินการคิด วิเคราะห์โจทย์  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการวางแผนในการคิดและตัดสินใจในสถานการณ์ปัญหาต่างๆ
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการลงมือปฏิบัติธุรกิจเกษตรตามระยะเวลาที่กำหนด
 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2   ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น   
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน         และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.3   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ จากการเก็บข้อมูลในลงมือปฏิบัติและการศึกษาดูงาน และทำรายงานโดยเน้นกระบวนการวางแผนอย่างมีระบบ
5.2.2   การนำเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
นักศึกษามีการพัฒนาทักษะปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้ โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
              (1)  มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
              (2)  มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
              (3)  มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ 
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในทุกคาบเรียน
6.2.2   การฝึกปฏิบัติการทำงานเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการลงมือปฏิบัติในทุกคาบเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 52019405 หัวข้อคัดสรรในวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,4,5 Reflective Reports ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 1,2,3,4,5 การนำเสนอผลงาน - แนวคิดการดำเนินงานโครงงาน - ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 - ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 - ผลการดำเนินงาน (Final) 2 3 4 6 10% 10% 10% 20%
3 2,4,5,6 รูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน (Final) 6 10%
4 1,3,4,6 การมีส่วนในการดำเนินงานโครงงาน การร่วมเสนอความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 20%
รศ.สมคิด ทักษิณาวิสุทธิ์ และคณะ, การจัดการธุรกิจการเกษตร (Agribusiness Management),  พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551 เล่ม 1 :ISBN 9789741016532
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3  แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ