การฝึกงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Environmental Engineering Pracitce

เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการซึ่งจะทำให้นักศึกษามีทั้งความรู้และประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่อาชีพได้
การฝึกงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจะเป็นการจัดให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมดประยุกต์กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอันจะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงภาคปฏิบัติ เพื่อเตรียมให้นักศึกษาพร้อมที่จะปฏิบัติงานเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปฏิบัติการฝึกงาน โดยนำความรู้จากสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบ โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการของสถานประกอบการจริงทำหน้าที่ควบคุมดูแล และนักศึกษาจะต้องมีโครงงานและหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องสามารถสรุปโครงการและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานประกอบการนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรมและมีการจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน มีการประเมินผลงานร่วมกันจากทางสถานประกอบการและคณาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงก่อนสำเร็จการศึกษา
หมายเหตุ  การประเมินผลนักศึกษาให้ค่าระดับคะแนนเป็น S(Satisfactory) พ.จ.(พอใจ) และ U(Unsatisfactory) ม.จ.(ไม่พอใจ)
-  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ประจำวิชาให้คำแนะนำกับนักศึกษาในการเลือกสถานประกอบการ 
-  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ประจำวิชานัดประชุมให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการประพฤติตนในสถานประกอบการที่นักศึกษาได้ทำการฝึกงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการฝึกงานจริง
-  ติดต่อทาง e-mail address ที่ rungnapha@rmutl.ac.th
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในการใช้งานจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในภาคฤดูร้อน
1) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2) ประเมินจากรายวิชาการฝึกงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1) กรณีศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
2) เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
 
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานโครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ประเมินจากผลสรุปการทดลองในภาคปฏิบัติ เป็นต้น
1) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
2) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
 
1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5) มีภาวะผู้นำ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
 
มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
3) การฝึกงานในสถานประกอบการ
 
1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
3) มีการประเมินนักศึกษาวิชาสหกิจศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 33069408 การฝึกงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ทักษะพิสัย 1. คุณธรรม จริยธรรม 1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 2. ความรู้ 1) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 2) ประเมินจากรายวิชาการฝึกงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 3. ทักษะทางปัญญา ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานโครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ประเมินจากผลสรุปการทดลองในภาคปฏิบัติ เป็นต้น 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง 2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน 6. ทักษะพิสัย 1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 2) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ 3) มีการประเมินนักศึกษาวิชาสหกิจศึกษา หมายเหตุ หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยให้ค่าระดับคะแนนเป็น S (Satisfactory) พ.จ. (พอใจ) และ U (Unsatisfactory) ม.จ. (ไม่พอใจ) ตลอดสัปดาห์ 100%
-
-
1.1 “คู่มือชี้แจงรายละเอียดฝึกงานนักศึกษา”, โครงการฝึกงานในสถานประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ชียงใหม่ (สำหรับสถานประกอบการ) 
1.2 “คู่มือฝึกงานนักศึกษา”, โครงการฝึกงานในสถานประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงใหม่ (สำหรับนักศึกษา)
1. กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
1.1 นักศึกษา : จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ : พนักงานพี่เลี้ยงบันทึกงานที่มอบหมาย และผลการฝึกฯในแบบฟอร์ม และสุ่มถามด้วยวาจา
1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม : อาจารย์ที่ปรึกษาบันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา ในแบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม การนำคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาไปใช้ในการแก้ปัญหาของนักศึกษา
1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่ : ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
 
2. กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนปรับปรุง
- อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากพนักงานพี่เลี้ยง รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อทราบ
- ประชุมหลักสูตร ร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินหลักสูตร
-
-
-
-