ระบบการผลิตอัตโนมัติ

Automation

1.  เข้าใจพื้นฐานระบบและธรรมชาติ ของการควบคุมอัตโนมัติ
2.  เข้าใจการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติในงานวิศวกรรม
3.  รู้จักทฤษฎีการควบคุมอัตโนมัติ
4.  รู้จักลักษณะและวิธีการของเซนเซอร์
5.  เข้าใจระบบการทำงานของไฮโดรลิกส์และนิวแมติกส์
6.  รู้จักวิธีการทางสถิติในการพัฒนาระบบประยุกต์
7.  เห็นความสำคัญของระบบการควบคุมอัตโนมัติ ที่มีต่องานวิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางระบบการผลิตอัตโนมัติ  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติ เซนเซอร์ ระบบไฮดรอลิกและระบบนิวเมติกส์ อุปกรณ์ส่งกำลังแบบไฟฟ้า พีแอลซี การเชื่อมโยงการผลิตระบบขนถ่ายลำเลียงอัตโนมัติ พื้นฐานการใช้หุ่นยนต์ในงานด้านอุตสาหกรรม
 
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1   เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2   มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา
1.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน
1.2.3 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพ
ระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่นการเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
1.3.1   ประเมินผลจากการเข้าเรียน
1.3.2   ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา
1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
 
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5  สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1     บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา  
2.2.2     ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานระบบการผลิตอัตโนมัติเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
2.2.3     มอบหมายงานเป็นกลุ่ม
2.2.4     สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3.1   ตรวจแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 มอบหมายงาน
3.2.2 เชิญวิทยากรมาบรรยาย
3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
3.3.2 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการนำเสนองานแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น
4.3.1   ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2   สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
 
5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2   อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน  โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3   อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1   ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2     ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด
6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 34063304 ระบบการผลิตอัตโนมัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1,2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 1.2.3 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.3.1,2.2.1,5.2.1 แบบฝึกหัดกลุ่ม การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
4 5.1.2,5.2.1 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน ปลายภาคการศึกษา 15%
- ชวพงษ์ สิงห์แพทย์,การควบคุมอัตโนมัติ,ฟิสิกส์เซนเตอร์ การพิมพ์, ดวงกลมสมัย, กรุงเทพฯ
- การประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ในอุตสาหกรรม, บ. แสงชัยมิเตอร์ จก., กรุงเทพฯ
- ขวัญชัย สินทรัพย์สมบูรณ์และปานเพชร ชินินทร, ไฮดรอลิก อุตสาหกรรม,ซีเอ็ดยูเคชั่น, ISBN 974-7967-19-7, กรุงเทพฯ
-หลักการพื้นฐานและการประยุกต์ใช้งาน พร้อกซิมิตี้สวิตซ์และเซนเซอร์ต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม, บ.แสงชัยมิเตอร์ จก., กรุงเทพฯ
ไม่มี
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตอัตโนมัติ
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
- อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเองโดยดูพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
- ประชุมผู้สอนเทอมละ 1 ครั้ง เพื่อสรุปประเด็นปัญหาเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอน
- การวิจัยในชั้นเรียน
- อาจารย์มีการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมในการให้คะแนน
- มีการทวนสอบการให้คะแนนในข้อสอบ รายงาน โดยอาจารย์ท่านอื่นที่สอนในรายวิชาเดียวกัน
- จัดทำคลังข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
            - ทำการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาค่าความยากง่าย