ออกแบบตกแต่ง 1

Decoration Design 1

        1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักการออกแบบตกแต่งภายใน การจัดวางผัง การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งภายใน                                                                                 
        2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะการใช้งาน ขนาดสัดส่วน สี เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม                                                                                    
        3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถกำหนดแสง วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุตกแต่ง การตกแต่งผิวผนัง พื้น เพดานในอาคารพักอาศัย พื้นที่สาธารณะขนาดเล็ก เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงาน เป็นต้น
         1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีความเข้าใจหลักการออกแบบตกแต่งภายในบ้านและพื้นที่ให้บริการสาธารณะขนาดเล็ก เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร เป็นต้น
       2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการออกแบบตกแต่งภายใน
       3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบ อ่านแบบและนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่งภายในเบื้องต้นได้
       4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจขนาดสัดส่วน การจัดวางผังพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ของเฟอร์นิเจอร์
       5. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการเลือกใช้วัสดุออกแบบตกแต่งภายในบ้านพักอาศัย ร้านค้า สำนักงาน
       4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบตกแต่งภายในอาคารได้และสามารถนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามหลักการและเหมาะสม
           ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการออกแบบตกแต่งภายในแนวคิดและกระบวนการออกแบบภายในอาคารพักอาศัย โครงสร้างอาคาร การจัดพื้นที่ใช้สอยสำหรับอาคารพักอาศัย การจัดวางเครื่องเรือนและระบบที่เกี่ยวข้อง การเลือกใช้สีและวัสดุตกแต่ง
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับห้องทำงาน  ตารางสอนเวลาว่างในแต่ละสัปดาห์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์


มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความพอเพียง เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

                  3. สอดแทรกประสบการณ์และเหตุการณ์จริงให้เกิดความเข้าใจระหว่างการเรียนการสอน
- ภาคบรรยาย
         การเรียนการสอนในรายวิชา มีการสอนทฤษฎี 1 คาบและปฏิบัติ 3 คาบโดยการบรรยาย
เนื้อหา พร้อมกับการมอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกันในช่วงของการเรียน
การสอน
- ภาคปฏิบัติ
         การอภิปรายกลุ่มจะอภิปรายจากหัวข้อที่มอบหมายให้ทำการค้นคว้านอกเวลาเรียนในชั้นเรียน
กรณีศึกษางานเกี่ยวกับการตกแต่งภายในอาคารและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในชั่วโมงให้เสร็จสิ้นในภาค
ปฏิบัติ 3 คาบ  มอบหมายให้นักศึกษาทำการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด
       1.  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
       2.  พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน
       3.  ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่สาขาและมหาวิทยาลัยจัดขึ้น
       4.  ประเมินจากข้อสอบเชิงวิเคราะห์
          ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบภายใน การเลือกใช้วัสดุต่างๆในการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท และนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาตลอดจนการเลือกใช้วัสดุต่างๆนำมาออกแบบตกแต่งภายในในสภาพแวดล้อมและพื้นที่ๆกำหนดได้
           การจัดความสัมพันธ์ระหว่างงานสถาปัตยกรรมและงานออกแบบตกแต่งภายใน ขนาดสัดส่วนของมนุษย์ เฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสม เพื่อการจัดวางผังพื้นที่มีความพันธ์ของเฟอร์นิเจอร์ ทางสัญจร การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ขนาด สีให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ แล้วนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบตกแต่งภายในบ้านพักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงาน ได้อย่างเหมาะสม
          1. การบรรยาย
          2. เนนการเรียนการสอนที่เปน active learning
          3. จัดใหมีการเรียนรู้จากสถานการณจริง
         4. การสาธิต
         5. นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
         6. ยกตัวอย่างประกอบและให้ปฏิบัติงาน
   2.3.1  การนําเสนอหนาชั้นเรียน การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   2.3.2  ประเมินจากรายงานการศึกษาคนควาของนักศึกษา
   2.3.3  ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
   2.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการทํางานอื่นๆ
        3.1.1  ความสามารถในความคิดสร้างสรรค์
        3.1.2  ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาและสรุปประเด็นปัญหาในการออกแบบตกแต่งได้ มีทักษะในการแก้ไขปัญหา โดยอ้างอิงหลักการออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
   3.2.1  บรรยาย ฝึกให้วิเคราะห์จากผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่มีอยู่ โดยประมวลความรู้จากการบรรยาย
   3.2.2  ฝึกตอบคำถามในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ระดมสมองในการแก้ปัญหา
   3.2.3  มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
   3.2.4  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
   3.3.1  ประเมินผลจากการออกแบบตกแต่งภายในที่ได้รับมอบหมาย โดยประมวลความรู้จากการนำเสนอ
  4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
  4.1.2  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
  4.1.3  มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ฝึกทักษะในการเป็นผู้นำกลุ่มและเป็นสมาชิกที่ดีในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานกับผู้อื่น และรายงานรายบุคคล
  4.2.2   กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
  4.2.3   การนำเสนอรายงาน
  4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
  4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
5.1.1  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน โดยทำรายงานการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.3  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การสืบค้นที่สามารถนำข้อมูลมาใช้ของงานได้อย่างเหมาะสม และมีกระบวนการจัดทำเนื้อหางานได้อย่างถูกต้อง
5.1.4  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบแนวคิดในการออกแบบตกแต่งภายในและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3  ใช้ Power Piont บรรยาย
          -  ฝึกทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีเหตุการณ์สมมติ
          -  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและคัดเลือกแหล่งข้อมูล
  5.3.1  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
  5.3.2  จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5.3.3  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
  5.3.4  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
1. มีทักษะด้านออกแบบตกแต่งภายใน
2. มีทักษะในการทำหุ่นจำลอง 
 
1. บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
2. มอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานจริงในการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการเพื่อฝึกทักษะ
3. วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
1. ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ การปฏิบัติงานและผลิตชิ้นงานจริง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43022346 ออกแบบตกแต่ง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.4, 2.1, 3.2, 4.6, 5.1, 5.3 1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรม 2.งานที่ได้รับมอบหมาย 3.รายงานกลุ่ม 4.สอบกลางภาค 5.สอบปลายภาค 1-16 2-15 14-15 8 17 10% 50% 10% 15% 15%
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ศิลปะการออกแบบตกแต่งภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
กฤษฎา   อินทรสถิตย์. (2551). การประยุกต์ใช้งานจากแสงประดิษฐ์. คุณภาพสภาพแวดล้อมภายใน.        
              กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จันทนี  เพชรานนท์. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 3 การทำรายละเอียดประกอบการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน.
              กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วรรณี   สหสมโชค. (2549). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ :สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
                    (ไทย-ญี่ปุ่น).
เสาวนิตย์  แสงวิเชียร. (2546). ออกแบบตกแต่ง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจาก
นักศึกษาไว้ดังนี้

 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
  2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
      คณะฯกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทย์และวิธีการสอนจากการประเมินผลประสิทธิภาพรายวิชา
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษารวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
  4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
       5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
       5.2   ผู้สอนนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาต่อกลุ่มคณะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวความคิดร่วมกัน