ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2

Electronic Circuits 2 Laboratory

 1.1 ปฏิบัติการทดลองวงจรกรองความถี่แบบพาสซีพ
     1.2 ปฏิบัติการทดลองวงจรกรองความถี่แบบแอกทีฟ
     1.3 ปฏิบัติการสร้างรูปคลื่นพัลส์และรูปคลื่นพัลส์ในทางปฏิบัติ
     1.4 ปฏิบัติการผลตอบสนองต่อรูปคลื่นพัลส์ของวงจร RC
     1.5 ปฏิบัติการประยุกต์ใช้งานวงจรปรับแต่งรูปคลื่นแบบไม่เชิงเส้น
     1.6 ปฏิบัติการวงจรทรานซิสเตอร์สวิตช์และเวลาในการสวิตช์
     1.7 ปฏิบัติการวงจรกลับสัญญาณและเวลาในการสวิตช
     1.8 ปฏิบัติการวงจรไบสเตเบิล มัลติไวเบรเตอร์และการจุดชนวน
2.1 เพื่อเลือก และ กำหนดวิธีการประเมินรายวิชาให้เกิดความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวนโยบายของ มทร.ล้านนา และ เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา
2.2  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงรายละเอียดของใบงาน
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา 32122316 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
ใช้เวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียนและนอกห้องเรียนตามโอกาสของนักศึกษา ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนเนื่องจากบริบทของผู้สอนและผู้เรียนมามหาวิทยาลัยและพบเจอกันตลอดในระหว่างมีการเรียนการสอน
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
           1.1.1   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
           1.1.2   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
           1.1.3    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
            1.1.4    เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1  บรรยายยกตัวอย่างเรื่องเล่าที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมร่วมในการจัดการเรียนการสอน
             1.2.2  สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด การแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
            1.2.3   ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
1.3.1   มีการให้คะแนนการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน
             1.3.2   หากมีการกระทำทุจริตในการสอบถูกตัดคะแนน
            1.3.3   มีการให้คะแนนคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษาและการมีจรรยาบรรณในการอ้างอิงที่ไปที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
              มีความรู้และเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบวงจร และปฏิบัติการต่อวงจร
การสอนในชั่วโมงปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้สอนมีใบงานที่สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาและมอบหมายให้ผู้เรียนต้องเขียนเนื้อหาประกอบใบงานก่อนการลงมือปฏิบัติ ส่วนการทดลองผู้สอนดูแลการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
จากคะแนนประเมินจากการทำใบงานและสอบปฏิบัติ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และ บูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1   ให้ผู้เรียนนำความรู้ชั่วโมงทฤษฎีและข้อมูลจากการค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการเตรียมการของการทำใบงาน
            3.2.2     มีการมอบหมายงานให้ใช้โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์
3.3.1   สอบปฏิบัติ โดยเน้นข้อสอบที่มีใช้ทักษะทั้งการออกแบบ การใช้เครื่องมือ และการต่อวงจร บูรณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชา
3.3.2   ประเมินผลจากการทำใบงาน/การบ้าน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติม ในส่วน DATA SHEET
ผลจากการประเมินจากงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
สังเกตทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.1.1  มีความรู้และความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
             6.1.2  สามารถออกแบบวงจร วิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้เพื่อการทำงาน
6.2.1  ให้นักศึกษาออกแบบวงจรในใบงานตามเงื่อนไขแต่ละใบงาน
            6.2.2  ดูการต่อวงจร  ความถูกต้อง การวัดสัญญาณต่าง ๆ
            6.2.3  ดูการตอบคำถาม และการสรุปท้ายการทดลอง
 
คะแนนจากการลงมือทำงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1-2.5, 3. - 3.3, 3.5, 5.2-5.3, 6.1 -6.2 สอบปฏิบัติกลางภาค ใบงานระหว่างเรียน งานเสริม สอบปฏิบัติปลายภาค 9 1-7, 9 -16 17 10% 60% 10%
2 1.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา 32122316 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
Data sheet ของอุปกรณ์ตัวที่ใช้
http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/hframe.html
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4