การสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ 2

2D Animation 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ ขั้นตอน และองค์ประกอบ รวมทั้งประโยชน์ของการการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ มีทักษะในการใช้เครื่องมือ และโปรแกรมที่สำคัญในการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ ในระดับเชี่ยวชาญ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ มีความเข้าใจหลักการ วิธีการ และกระบวนการในการสร้างภาพเคลื่อนไหวในลักษณะ 2 มิติที่ซับซ้อนได้ มีทักษะในการใช้เครื่องมือ และโปรแกรมที่สำคัญในการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติที่มีความซับซ้อน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัยอยู่เสมอ
ศึกษา และปฏิบัติหลักการสร้างภาพเคลื่อนไหวในลักษณะ 2 มิติ ที่มีความซับซ้อนการสร้างภาพเคลื่อนไหวของสิ่งของ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้โปรแกรมขั้นสูงในการลงสี และลำดับภาพ เสียงบนคอมพิวเตอร์ การสร้างภาพยนตร์ 2 มิติ ด้วยคอมพิวเตอร์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  มีความซื่อสัตย์ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้สื่อมัลติมีเดียต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยาย การบรรยายเชิงอภิปราย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย   เช่น การนำเสนอสื่อมัลติมีเดียต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ เรียนรู้จักการป้องกันตนเอง เป็นต้น

1.2.2 อภิปรายกลุ่ม การระดมสมอง และการอภิปรายกรณีศึกษา
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย การวิเคราะห์ ออกแบบสื่อมัลติมีเดีย ประเภทของสื่อมัลติมีเดีย แหล่งที่มา ประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดีย หน้าที่ ความเกี่ยวข้องของสื่อมัลติมีเดียกับชีวิตประจำวัน และด้านธุรกิจ  หลักการและขั้นตอนการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ประโยชน์ของการนำเสนองานในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ กรณีศึกษา หรือโจทย์จากแบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จากแบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ กระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการพัฒนาภาพเคลื่อนไหว 2 มิติที่เหมาะสม
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าข้อมูลของสื่อมัลติมีเดียในปัจจุบัน การนำตัวอย่างการใช้สื่อมัลติมีเดียในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การส่งงานทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Web Board Blog เป็นต้น
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อมัลติมีเดียต่างๆ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อมัลติมีเดีย
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อย ทดสอบย่อย 1-12 20
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและแบบฝึกหัด การส่งงานตามที่มอบหมาย วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและแบบฝึกหัด การส่งงานตามที่มอบหมาย 1-12 30
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 10 10
4 สอบกลางภาค สอบกลางภาค 1-6 20
5 สอบปลายภาค สอบปลายภาค 7-16 20
อัศวิน โอกาด้า. (2555). Flash CS5 Animation & Interaction สร้างภาพเคลื่อนไหวโดดเด้งและสื่อปฏิสัมพันธ์เร้าใจด้วย Adobe Flash CS5 และ ActionScript 3.0, ซีเอ็ด ยูเคชั่นจำกัด : กรุงเทพฯ
Adobe Creative Team. (2010). Adobe Flash Professional CS5 Classroom in a Book; 1 Edition.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4   การทำแบบทดสอบหลังหน่วยการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ