ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง

High Voltage Engineering Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการปฏิบัติทางด้านระบบไฟฟ้าแรงสูงและการทดสอบเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนที่เกี่ยวข้องกับทางทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูงและอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจทางด้านปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าไฟฟ้าแรงสูง เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนการปฏิบัติในวิชา ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าแรงสูง อุปกรณ์และการทดสอบระบบไฟฟ้าแรงสูง
ปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา 32082416 วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษา 
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในสาขาต่างๆ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรม สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม อภิปรายกลุ่ม และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานหรือใบทดลอง อย่างถูกต้องและเหมาะสม  1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา  1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย หรือ แบบฝึกหัด
เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะงานวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง เพื่อให้ส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณลักษณะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้ง 5 ด้าน คือ  1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม  2 ด้านความรู้  3 ด้านทักษะทางปัญญา  4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานหรืแบบฝึกหัด การปฏิบัติและทดลองจริงจากห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจากการได้ทดลองปฏิบัติ โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และ Problem & Active– based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน(ถาม-ตอบ)
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการจากทฤษฏีที่ได้ศึกษามาและจากการปฏิบัติ  2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลหรือแบบฝึกหัด กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem & Active – based Learning ผลที่ได้จากการปฏิบัติงานโดยการสรุปผลการปฏิบัติและปัญหา พร้อมแนวทางแก้ไขตามหลักการ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การปฏิบัติและทดลองจากห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถ ความเข้าใจจริงจากที่ได้เรียนรู้จากหลักการและทฤษฎีที่ได้ศึกษามา
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษหรือแบบฝึกหัดที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานหรือแบบฝึกหัดที่ได้ทดสอบแล้วปฏิบัติการทดลองจากโจทย์ที่ได้  3.2.2 อภิปรายกลุ่มหรือเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน หรือสรุปผลจากการทดลองทอสอบจากการปฏิบัติ  3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำหลักการทางด้านวิศวกรรมไปใช้จากแบบฝึกหัดหรือโจทย์ทดสอบและสามารถเข้าใจหลักการจากทฤษฎีในการปฏิบัติงานหรือการทดสอบ  3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ และทดสอบการปฏิบัติงานจริงตามใบงานทดสอบ  3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงานจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน การทดสอบการปฏิบัติงานจากการทดสอบปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติการ 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและสรุปผลการดำเนินงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน  4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม  4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาและจัดการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม  4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแรงสูง หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ปัญหาและแนวทางแก้ไขจากการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  4.2.3 การนำเสนอรายงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด  4.3.2 ประเมินจากรายงานหรือใบปฏิบัติงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเองและสรุปผลการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม
5.1.1 ทักษะการคิดเชิงวิศวกรรม  5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานหรือใบปฏิบัติงาน และนำเสนอในชั้นเรียนหรือแบบฝึกหัด  5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาและจากที่ได้ปฏิบัติงานจริงจากการทดลอง  5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และจากที่ได้ปฏิบัติงานจริงจากการทดลองโดยสรุปผลการทดลอง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขตามหลักการ  5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงานหรือใบสรุปการปฏิบัติงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย การสรุปผลการทดลอง
6.1.1 ทักษะการคิดเชิงวิศวกรรม จะต้องมีกระบวนการคิดลำดับความสำคัญของปัญหาทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและมีระบบ  6.1.2 พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการด้านเวลาและวิธีการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
6.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้านปัญหาต่างๆ จากงานวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติงานจากใบประลองงาน  6.2.2   ให้ความสำคัญต่องานที่ปฏิบัติตามใบงานและที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ
6.3.1 ประเมินจากรายงานแนวคิดรูปแบบการนำเสนอจากการค้นคว้าและการปฏิบัติงานจากใบประลองงาน  6.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย และการสรุปผลการทดลอง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขตามหลักการ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ 2 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกร สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 3 อภิปรายกลุ่ม และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 5 สอนการเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม 1 อภิปราย การทำงานกลุ่ม 2 การนำเสนอรายงานหรืแบบฝึกหัด การปฏิบัติและทดลองจริงจากห้องปฏิบัติการ 4 วิเคราะห์ผลจากการได้ทดลองปฏิบัติ โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และ Problem & Active – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5 การทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน (ถาม-ตอบ) 2 อภิปรายกลุ่มหรือเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน หรือสรุปผลจากการทดลองทอสอบจากการปฏิบัติ 3 วิเคราะห์กรณีศึกษาในการนำหลักการทางด้านวิศวกรรมไปใช้จากแบบฝึกหัด 1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาและจัดการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม 2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแรงสูง หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4 การนำเสนอรายงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน 1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน 2 ปฏิบัติงานจริงจากการทดลองโดยสรุปผลการทดลอง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขตามหลักการ 3 ทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้านปัญหาต่างๆ จากงานวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติงานจากใบประลองงาน พร้อมสรุปผล 2 เน้นการให้ความสำคัญต่องานที่ปฏิบัติตามใบงานและที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ พร้อมให้ความสำคัญด้านทักษะความปลอดภัยในการทำงาน
1 32082417 ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดความรู้ทฤษฎีระบบไฟฟ้าแรงสูงที่ได้ศึกษามา, เครื่องมือวัดและเทคนิคการวัดไฟฟ้าแรงสูง, ความเครียดและการเบรกดาวน์ในฉนวนแบบต่างๆ ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 หรือ งานที่มอบหมาย, สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 หรือ งานที่มอบหมาย, สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 17 5%, 30% 5%, 30%
2 การฝึกปฏิบัติตามใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน ความปลอดภัยในการทำงาน การทำงานกลุ่มและผลงานการปฏิบัติงาน การสรุปผล ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียนและจิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การเข้าเรียนสม่ำเสมอ ตลอดภาคการศึกษา 10%
- เอกสารประกอบการสอนวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง
- วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง (รศ.ดร.สำรวย สังข์สะอาด) พิมพ์ครั้งที่ 3 , 2549
- วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง (ดร.สุรพล ดำรงกิตติกุล) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง (ผศ.วิเชียร เบญจวัฒนาผล) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น)พิมพ์ครั้งที่ 1 , 2538
- มาตราฐานป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสิ่งปลูกสร้าง 2550, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.)
- High Voltage Engineering Fundamentals, E. Kuffel, W.S. Zaengl, and J. Kuffel Newnes, Oxford/ 2000
- High Voltage Engineering, 3rd Edition , M S Naidu, V Kamaraju , McGraw-Hill /2004
- High Voltage Engineering and Testing 2nd Edition, Hugh M. Ryan , The Institution of Electrical Engineers, IEE Power and Energy Series 32, London, United Kingdom / 2001
- เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์  - รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารงานวิจัยชุด Sphere Gaps แนวดิ่ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50, 75 และ 100 เซนติเมตร, ห้องปฏิบัติการหลักมูลของวิศวกรรมไฟฟ้า, สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 2558.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้   การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้  2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้  5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ