อุทกวิทยา

Hydrology

1.1. เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงวงจรอุทกวิทยาและลักษณะของภูมิอากาศ
1.2 เพื่อให้ทราบถึงวิธีการวัดปริมาณน้ำจากอากาศและการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำจากอากาศ
1.3 เพื่อให้สามารถคำนวณการดักน้ำ การระเหย การคายน้ำ และการคายระเหย
1.4 เพื่อให้เข้าใจคุณลักษณะของน้ำท่าและสามารถสร้างกราฟน้ำท่า
1.5 เพื่อให้เข้าใจลักษระการเกิดของน้ำในดิน และชลศาสตร์ของบ่อบาดาล
1.6 เพื่อให้เข้าใจกระบวนการเคลื่อนตัวของน้ำหลาก และสามารถคำนวณการไหลหลากในอ่างเก็บน้ำและในลำน้ำ
1.7 เพื่อให้เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักความน่าจะเป็นกับงานด้านอุทกวิทยา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านอุทกวิทยา และสามารถประยุกต์ใช้กับงานทางอุทกวิทยา และงานด้านอื่นที่เกี่ยวข้องได้
ศึกษาเกี่ยวกับวงจรอุทกวิทยา ภูมิอากาศ น้ำจากอากาศ การคายน้ำ การระเหย และการดักน้ำ น้ำท่า น้ำใต้ดิน การระบายน้ำไหลหลาก การวิเคราะห์ทางสถิติ
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ  มีความซื่อสัตย์ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการทดสอบความรู้ความสามารถในเนื้อหารายวิชา โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกรดังนี้ ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความจริง ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบุคมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ลงลายมือชื่อเป้นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น ไม่รับดำเนินชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคาเว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป้นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้า  ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น นั้นวงหน้า ไม่กระทำใด ๆ โดยจงใจให้เป้นที่เสื่อมเสียงแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
ลงชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง แจ้งกฏิกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก มอบหมายเอกสารอ่านประกอบ ภาพ วีดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน หรือเพิ่มเติมประสบการณ์ มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม อภิปลายกลุ่ม
1   สอบข้อเขียน
2   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5   รายงานการดูงานนอกสถานที่สถานีอุตุนิยมวิทยา
1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสต์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งเชิงทฤษฏีและปฏิบัติ ในเนื้องหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
3  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5  สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
1  บรรยาย ยกตัวอย่างร่วมกับการสอนแบบสื่อสาร สองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง  ๆ รวมถึงการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
2  เพื่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ
3 การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
4 การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1   สอบข้อเขียน
2   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5   รายงานการดูงานนอกสถานที่สถานีอุตุนิยมวิทยา
1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินในใจการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
5  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทนต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์กรความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1   ค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางอุทกวิทยา
2  ส่งเสริมการเรียนรู้จากปัญหา
3  ตั้งประเด็นคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการบูรณาการความรู้
4  อธิบาย แนะแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม รวมทั้งยกตัวอย่างประกอบพร้อมทั้งมอบหมายโครงงาน
5  มอบหมายงานเพื่อพัฒนาหรือต่อยอดองค์ความรู้
6  แนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล แหล่งข้อมูล กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1   นำเสนอหน้าชั้นเรียน
2  สังเกตการณ์แสดงความคิดเห็น
3  ทดสอบ
4  ผลการดำเนินโครงการ
5  ผลงานที่มอบหมาย
6  ผลการสืบค้น
1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น อ่านบทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา การใช้ทฤษฎีที่เรียนมาแก้ปัญหาโจทย์ที่นักศึกษาสนใจ ต้องการทราบคำตอบ และมีวิธีตรวจสอบความถูกต้อง
3   การนำเสนอรายงาน
1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2,2.3,2.4,2.5 2.4,2.5,3.1,3.2,3.3,3.4,3.5 2.1,2.2,2.3,2.4,2.5 2.1,2.2,2.3,2.4,2.5 1.2,1.3,1.4,1.5 1.3,4.1,4.2,4.3,4.4,4.5 1.2,1.3,1.5,4.1,4.2,4.3,4.5 4.1,4.2,4.3 4.2,4.3 5.1 การทดสอบย่อย (Quiz) 2 ครั้ง มอบหมายงานและประเมินจากผลการนำเสนอ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค สังเกตและประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ การประเมินตนเองของนักศึกษา พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา การประเมินด้านทักษะพิสัย 1-15 4, 12 7 16 1-15 1-15 1-15 4,5,15 15 20% 15% 25% 25% 2% 2% 2% 2% 2% 5%
หนังสือ: อุทกวิทยา
ผู้แต่ง: รศ.กีรติ ลีวัจนกุล
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา  ภาควิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน  และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขา เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของภาควิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป