วิศวกรรมการทาง

Highway Engineering

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจระบบงานทางหลวง ลักษณะการจราจร  เศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการวางแผนสร้างทาง  ออกแบบทางด้านเรขาคณิต  วัสดุที่ใช้ในงานทาง  ออกแบบผิวทาง  วิธีการก่อสร้างทางและการบำรุงรักษาทาง และเห็นความสำคัญของงานด้านวิศวกรรมการทาง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในงานทาง เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบงานถนน และเพื่อนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการควบคุม การสร้างทางและออกแบบงานถนน หรือนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติทางหลวง   การจัดระบบทางหลวง  การวางแผนสร้างทางและการวิเคราะห์การจราจรเบื้องต้น  การออกแบบทางเรขาคณิต    เศรษฐศาสตร์ทางหลวง    การออกแบบผิวทางแบบยืดหยุ่นและผิวทางแบบแข็ง  วัสดุการทาง  การก่อสร้างและการบำรุงรักษาทาง
อาจารย์ประจำรายวิชา  ให้คำปรึกษานอกห้องเรียนผ่าน e-mail
 
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ กล้าแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
มีจรรยาบรรณทางวิชาการ มีวินัย และมีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรตามข้อบังคับของสภาวิศวกร
กำหนดกติกาของการเข้าชั้นเรียน ซึ่งมีคะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ให้มีการทำรายงานเป็นกลุ่ม  เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ และผู้ตาม ยอมรับการฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม  ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
1   ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา  2   สังเกตการทำงานในกลุ่ม  การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ  3    สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ  แก้ไข
1 มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์พื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบงานทาง  2 มีความรู้และความเข้าใจทฤษฎีในงานวิศวกรรมการทาง  3 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้  4 สามารถใช้ความรู้และทักษะที่ได้ศึกษาในการปฏิบัติงานจริงได้
1  ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎี  ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงประกอบการอธิบาย  มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด   2  อธิบาย ยกตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวณออกแบบ มอบหมายให้นักศึกษาทำการบ้าน  3   ให้มีการทำรายงานโดยให้ทำการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอวิธีการแก้ปัญห
สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค   ประเมินจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย  ประเมินจากความสมบูรณ์ของรายงาน การนำเสนองาน
1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี  2 สามารถวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหา  3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอด
1 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด  2 ให้นักศึกษา ค้นคว้าบทความ งานวิจัยในงานทาง  เพื่อสามารถเสนอหัวข้อรายงาน
1  ประเมินผลจากความถูกต้องของแบบฝึกหัด  2  ประเมินผลจากความน่าสนใจของหัวข้อรายงาน  ความถูกต้อง และการนำไปใช้งานได้จริง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 อธิบายวิธีการเขียนและนำเสนอรายงาน  2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
1 ประเมินผลจากรายงานและการนำเสนอ   2 สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
 
1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน
1  ยกตัวอย่างการนำเสนอที่มีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
2  อธิบายวิธีการจัดทำและนำเสนอรายงาน
1  ประเมินจากรูปแบบการนำเสนอรายงาน 
2  ประเมินจากความถูกต้องของรายงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 2.1.4, 3.1.2 สอบกลางภาค บทที่ 1-5 สอบปลายภาค บทที่ 6-10 และแนวข้อสอบของสภาวิศวกร 9,17 40%,40%
2 หมวด 4 4.1.1, 5.1.1,5.1.2 การนำเสนอรายงาน การอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม 15 10%
3 หมวด 4 1.1.1, 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เสนอความเห็น ร่วมอภิปราย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.   Garber, N. J.,  and  Hoel , L . A .,   Traffic and Highway Engineering, Revised  2  nd  ed.,             PWS Publishing, Pacific Grove, CA ., 1999. 2.   Mannering, F . L ., and Kilareski, W .F .,   Principles of Highway Engineering and Traffic          Analysis, 2  nd  ed.,  John Wiley and Sons, New York, 1998. 3.  The American Association of State Highway and Transportation Officials,  AASHTO  Guide for Design of  Pavement  Structure,  Washington D .C ., 1986. 
1.   จิรพัฒน์  โชติกไกร,  วิศวกรรมการทาง,  สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์,  2531. 2.  วันชัย ริจิรวนิช และ ชอุ่ม  พลอยมีค่า,  เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม,  พิมพ์ครั้งที่ 4, โรงพิมพ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2539. 3.  Hickerson, T. F.,  Route Location and Design,  McGraw – Hill,  New York, 1964.  4.  Wright, Paul H.,  Highway Engineering,  6 th ed., John Wiley and Sons, New York, 1996. 
1.  ธารี  ทฤฆชนม์,  การออกแบบทาง, เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรงานทางสำหรับวิศวกร ,      สำนักสำรวจและออกแบบ,  กรมทางหลวง,  กระทรวงคมนาคม. 2.  รักษ์  ศตายุ,  การจัดลำดับความสำคัญในการบำรุงทาง, รายงานฉบับที่ วว. 69, กองวิเคราะห์วิจัย,      กรมทางหลวง,  กระทรวงคมนาคม. 3.  สำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท, กระทรวงมหาดไทย,  ความรู้พื้นฐานด้านช่าง – ทางหลวงชนบท, เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมหลักสูตรหัวหน้าส่วนโยธา   องค์การบริหารส่วนตำบล
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านอีเมลหรือเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและผู้ร่วมทีมสอน  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ