การฝึกงานทางวิศวกรรมโยธา

Civil Engineering Practice

1. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการจัดการในองค์การหรือหน่วยงานให้เกิดความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเพื่อการประกอบอาชีพ
2. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงาน รวมทั้งสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำโครงการพิเศษ
3. เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกัน
เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี้เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
ฝึกงานทางวิศวกรรมในหลากหลายลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมโยธาเป็นหลัก ภายใต้การควบคุม ดูแล ของวิศวกรที่มีประสบการณ์ในสถานประกอบการ โดยมีเวลาการฝึกงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 18 สัปดาห์
1.1 มีวินัยและความรับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ มีความมุ่งมั่นในการ
ทำงานให้สำเร็จ
1.2 มีน้ำใจ มีจิตอาสา
จิตสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์
ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
1.3 มีความพอเพียง
1.4 มีความซื่อสัตย์กตัญญูเที่ยงธรรม
1.5 สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จัก
กาลเทศะ ใจกว้าง รับฟังความ
คิดเห็นของผู้อื่น
- ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนการฝึกงาน
- กำหนดตารางเวลาฝึกงาน บันทึกเวลาฝึกงานกำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงาน
- มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
- ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
- ประเมิน โดยการเข้าร่วมปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ ความตรงต่อเวลา บุคลิกภาพ
- ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงาน จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
- ประเมินความสมบูรณ์ ความถูกต้อง จากรายงานผลการฝึกงาน
มีความรอบรู้อย่างกว้างขวางในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้
- สถานประกอบการที่ฝึกงาน จัดพนักงานพี่เลี้ยง เพื่อดูแลให้คำแนะนำที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง
- ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงาน
- จัดประชุม ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์
นิเทศ
- ประเมินผลจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการส่งงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4.2 ตระหนักถึงสิทธิของตนเองและผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์
4.3 ตระหนักในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี วรรณกรรม ทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ
4.4 มีความสนใจด้านกีฬา และนันทนาการ
- การฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในสถานประกอบการ
- จัดประชุม ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
- ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
- ประเมินจากแบบฟอร์มที่กำหนด โดยให้พนักงานผู้ดูแลการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
5.1 สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน
5.2 สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข
5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และคัดเลือกข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้
อย่างเหมาะสม
- การฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในสถานประกอบการ
- จัดประชุม ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
- ประเมินจากเอกสารที่เขียน และสื่อสารที่ใช้
- ประเมินจากผลการแก้ปัญหาว่า โดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การฝึกปฏิบัติภาคสนาม แบบประเมินการให้คะแนนของหน่วยงาน ตลอดภาค การศึกษา 60%
2 - บันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ - รายงานการฝึกปฏิบัติงาน ความสมบูรณ์ ความถูกต้องของรายงาน ตลอดภาคการศึกษา
3 การเข้าร่วมกิจกรรม การเข้าปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ ความตรงต่อเวลา บุคลิกภาพ 1 10%
4 ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในด้านวิศวกรรมโยธา นำเสนอผลการฝึกงาน 17 30%
หนังสือทุกศาสตร์ด้านวิศวกรรมโยธา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการประเมินจากหน่วยงาน และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับ
ปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ