การเตรียมโครงงานวิศวกรรมโยธา

Civil Engineering Pre-Project

ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมโยธา การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและการแผนดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลและวิทยาการใหม่ๆ จากแหล่งความรู้ต่างๆ มีระเบียบวิธีคิด วิธีวิจัย สามารถบูรณาการความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและสามารถวิเคราะห์และนำเสนอทั้งในรูปแบบปากเปล่าและรายงาน
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมโยธา การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและการแผนดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
3 ชั่วโมง
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.5    มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
วิธีการสอน 


แจ้งกติกา สร้างจิตสำนึกการมีวินัย ตรงต่อเวลา มารยาทในการเรียน มอบหมายให้นักศึกษาอ่านเอกสารอ่านประกอบ ฝึกเขียนรายงานหัวข้อที่น่าสนใจ และที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อเพิ่มทักษะในการเขียน มอบหมายให้อ่านบทความ รายงานผลการวิจัย  กำหนดวันส่ง วันเสนอผลงาน และติดตามผล บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการทำข้อเสนอโครงงาน อภิปรายกลุ่ม และรับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิกทั้งในและนอกกลุ่ม

เน้นความมีจรรยาบรรณของวิชาชีพวิศวกร การทำงานวิจัยโดยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง ไม่ควรคัดลอกผลงานผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
1. มีความรู้และความเข้าใจหลักการและทฤษฎีพื้นฐาน ในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ในการค้นคิดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานวิศวกรรมโยธาได้
2. ได้ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน และความเป็นไปได้ของโครงงาน 
3. สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมช่วยในการทำโครงงาน
4.  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโยธา
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย  มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   ติดตามเอาใจใส่ของนักศึกษา ความก้าวหน้าการเขียนข้อเสนอโครงงานทุกๆ สัปดาห์  
2.3.2   ประเมินความเข้าใจของนักศึกษาจากการนำเสนอข้อเสนอโครงงาน  การค้นคว้าข้อมูล ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่ผ่านมา และแผนแสดงขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิด รวบรวม วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ และสามารถแก้ไขอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงาน 
3.2 วิธีการสอน
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาหาหัวข้อโครงงานที่นักศึกษาสนใจ สืบค้นข้อมูล และนำเสนอข้อเสนอโครงงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  งานวิจัยที่ผ่านมา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1   ให้นักศึกษานำเสนอข้อเสนอโครงงานวิจัยที่จะทำการศึกษา
3.3.2   วัดผลจากความสนใจ เอาใจใส่ การตอบคำถาม และความสมบูรณ์ของข้อเสนอ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมกับผู้อื่น
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนและแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น อ่านบทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา  แนะนำการประยุกต์ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาใช้ในงานวิจัย
4.2.3 แนะนำวิธีการเปรียบเทียบผลการทดลองกับงานวิจัยที่ผ่านมาในอดีต 
4.2.4 นำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ 
4.3.3   พฤติกรรมการทำงานร่วมกับสมาชกในกลุ่ม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล  คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น facebook  การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา line ทักษะในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นทางสังคมออนไลน์
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
รู้ เข้าใจ นำเสนอ
บอก อธิบาย นำเสนอหน้าชั้นเรียน การเขียนรายงาน
สังเกตุ สอบถาม ผลการเขียนรายงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (1.3) หมวด 4 (2.3,3.3,4.3) รายงานความก้าวหน้าของการเลือกหัวข้อโครงงาน เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ ทุกสัปดาห์ 10%
คู่มือจัดทำปริญญานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
Gaetz, L. (2015) The writer’s world : sentences and paragraphs. Pearson Education.  New Jersey.
         ฐานข้อมูล 

ACM Digital Library ProQuest  Dissertation & Thesis Web of Science Springer link-journal วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม Thailand Library Integrated System
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
ประเมินจากนักศึกษาในห้องที่ร่วมรับฟังการนำเสนอโครงงาน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาผ่านทางระบบอินเตอร์เนตของมหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการ
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2  จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้คุณภาพสูงขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์ มาแนะนำ เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง